เมื่อ ‘ผี’ ถูกใช้ในกฎหมายตราสามดวง

การนับถือ “ผี” นั้นเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก แต่ผีที่ว่านี้มิได้หมายถึงผีในแบบ ghost แต่หมายถึงผีในแบบ spirit ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันอย่างมากในเชิงพลังในการควบคุมทางสังคม [1] ดังนั้นในโลกยุคก่อนที่ความเป็นเหตุเป็นผลหรือความเป็นสมัยใหม่จะเข้ามาท้าทายความเชื่อและวัฒนธรรมเดิมๆ นั้น สิ่งที่มองไม่เห็นนั้นมีพลังในการกำกับความเป็นไปของสังคมไม่แพ้เครื่องมือของรัฐในยุคสมัยใหม่ ทั้งนี้การมีความเชื่อเหล่านี้มิได้มีแต่เพียงว่ามีเพื่อมีเท่านั้น แต่มันได้ทำหน้าที่ที่สำคัญในการควบคุมในโลกแห่งความเป็นจริงผ่านโลกที่อยู่พ้นขึ้นไป ไทยในอดีตก็เป็นเช่นนี้ด้วยดังปรากฏว่ามี “ผี” ปรากฏอยู่ในกฎหมายคราสามดวง

ความเชื่อเรื่องผีของคนไทยนั้นความจริงสามารถย้อนกลับไปได้อย่างชัดเจนยุคหนึ่งคือในยุคอยุธยาที่ชีวิตของคนอยุธยาผูกพันอยู่กับความเชื่อเหนือธรรมชาติ เช่น ผีเหย้าผีเรือน ผีป่า ผีบ้านผีเมือง [2] หรือการรับรู้ว่ามีผีธรรมชาติที่สามารถให้คุณให้โทษได้ เช่น ผีภูเขา ผีแม่น้ำ ซึ่งกระบวนการสร้างความเชื่อเหล่านี้ก็คือกระบวนการบุคลาธิษฐาน ซึ่งความเชื่อนี้ก็สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องได้โดยเฉพาะการบูชา หรือเรื่องเล่าหนึ่งที่เยเรเมียส ฟานฟลีต บันทึกว่าในการสร้างพระราชวังหอสูงจะมีการโยนผู้หญิงมีครรภ์คนหนึ่งลงไปด้วย แต่การบันทึกนี้เป็นเพียงการบอกเล่าตามความเชื่อของชาวเมืองเท่านั้น และไม่มีหลักฐานของชาวต่างชาติคนอื่นที่ยืนยันเรื่องนี้แต่อย่างใด

เมื่อการผูกพันอยู่กับผีมีค่อนข้างมาก แล้วก็ปรากฏว่า ในกฎหมายตราสามดวงในพระอัยการต่างๆ คือ พระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการพรมศักดิ์  พระอัยการลักษณะตุลาการ พระอัยการเบ็ดเสร็จ และพระราชกําหนดใหม่นั้นก็ปรากฏว่ามีผีแทรกอยู่ตามกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ด้วย

ในพระอัยการลักษณะพยานได้กล่าวถึง “เปรต” ว่าเป็นพยานที่ไม่มีความซื่อสัตย์ กล่าวคือพยานที่ไม่ซื่อสัตย์เมื่อตายไปจะเกิดเป็นเปรตอยู่ในคูธนรกและถูกลงโทษโดยนายนิรบาล ส่วนเปรตที่ปรากฏในพระอัยการลักษณะตุลาการกล่าวถึงตุลาการที่ไม่ปฏิบัติตนตามอคติธรรมทั้งสี่ คือ ฉันทาคติ โทษาคติ ภยาคติ และโมหาคติ หรือไม่พิจารณาตามความตามโบราณราชนิติก็จะทำให้ไม่มีทั้งยศและบริวาร เมื่อเสียชีวิตก็ต้องไปอยู่ในอบายภูมิ

เมื่อมีความเชื่อผีมาก การเข้าใจว่าผู้อื่นอาจจะเป็นผีมาจำแลงกายมาเป็นมนุษย์ก็มีด้วย ดังในพระอัยการเบ็ดเสร็จกล่าวถึง “ฉมบ” ซึ่งหมายถึงผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิ่งอยู่ในบริเวณที่ตายแต่ไม่ทำอันตรายใคร หรือจะกละที่เป็นผีมีรูปเป็นแมวอยู่ในป่าซึ่งหมอผีเลี้ยงเอาไว้ทำร้ายศัตรู กระสือ กระหัง ผู้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นผีเหล่านี้จะมีโทษตามกฎหมายตามความผิด และไม่ได้ถึงกับรวบรัดให้ประหารชีวิต แต่ระบุว่าให้เจ้าเมืองหรือกรมการผู้พิจารณารั้งตัวเอาไว้ไม่อนุญาตให้ด่วนตัดสินประหารชีวิต ซึ่งในกฎหมายตราสามดวงได้ระบุโทษผู้ที่ส่อว่าจะเป็นผีเหล่านี้ไว้ด้วย เช่น หากผู้ใดส่อว่าเป็นฉมบ แต่การเป็นผีนั้นยังไม่เพียงพอจะลงโทษอะไร แต่หากเป็นฉมบแล้วใช้ว่าน ยา จนทำให้ผู้อื่นถึงแก่กรรม เมื่อพิสูจน์ว่าผิดจริงให้ลงโทษโดยโทษานุโทษ และฆ่าผู้ที่เป็นฉมบ ส่วนทรัพย์สินให้เอาเข้าพระคลัง หรือการเป็นกระสือ กระหัง จะกละ ก็ระบุโทษไปในทางเดียวกัน และยังน่าสนใจว่าหากมีผู้ใดไปขอให้ผีไปทำร้ายผัว ชายชู้ หรือหญิงให้เจ็บไข้ล้มตายก็ให้ลงโทษผู้นั้นตามความผิดฐานเป็นฉมบและรู้เวทมนตร์

แต่การพิสูจน์ผีนั้นก็มิใช่การกล่าวลอยๆ แต่ยังมีวิธีการพิสูจน์ทั้งในระดับปกติและในระดับสุดท้ายเมื่อมาตรการอื่นๆ ใช้ไม่ได้ผล เพราะการกล่าวหาว่าผู้ใดเป็นผีนั้นเป็นข้อหาที่สำคัญซึ่งทำให้ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ดังนั้นผู้ที่ถูกกล่าวหาจะต้องพิสูจน์ว่าไม่จริง เช่น พระอัยการเบ็ดเสร็จกล่าวถึงผู้ถูกกระสือกินจนตาย การพิสูจน์กระสือคือให้เอาผ้าเปื้อนลายกระสือมานึ่ง ถ้าผู้ใดร้อนใจมายกหม้อแกงลงและทำลายกองไฟให้ถือว่าผู้นั้นเป็นฉมบ จะกละ กระสือ และกระหัง หรือมาตรการที่สุดก็คือเป็นการว่ายน้ำข้ามฟากและการลุยเพลิง แต่ถ้าหากผู้กล่าวหาพูดเท็จก็จะถูกลงโทษด้วย

ต่อมาความเชื่อเรื่องผีได้เข้าผสมกับคติทางพุทธ เช่น เปรตนั้นเกิดจากผู้ทำผิดด่าว่าครูบาอาจารย์ ไม่ให้ทาน ตีศีรษะบิดามารดา จนกระทั่งถึงการรับสินบนในการตัดสินคดีความ คนไทยสมัยอยุธยาจึงมีความเชื่อเรื่องผีที่เหนียวแน่นมาก คนยุคนั้นจึงกลัวการทำความผิดมาก และมุ่งการทำให้เกิดความพึงพอใจต่อกันโดยส่วนรวมเป็นส่วนมากอันเป็นการก่อให้เกิดความสงบสุขและควบคุมทางหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปรากฏว่าในจดหมายเหตุของเดอลาลูแบร์จะระบุเอาไว้ว่า “การที่ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยานั้นไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ ทั่วทั้งเมืองไม่มีโรงฆ่าสัตว์ ในท้องตลาดมีวางขายเพียงปลาสด ตัวแมลง ปิ้งหรือย่างเท่านั้น”

ความเชื่อเรื่องผีอันเป็นสิ่งที่อยู่พ้นโลกไป จึงเป็นสิ่งที่ทำให้โลกความเป็นจริงมีระเบียบอยู่ได้ ไล่ตั้งแต่ระดับคนธรรมดาสามัญ ขึ้นไปจนถึงพระมหากษัตริย์ การมองเรื่องผีจึงควรอยู่บนความเข้าใจและมองด้วยมุมมองที่หลากหลาย มากกว่ามองว่าเป็นความเชื่องมงายเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง :

[1] ดูตัวอย่างการศึกษาใน Jeannette Marie Mageo and Alan Howard (eds.), Spirits in Culture, History and Mind (New York and London: Routledge, 1996).
[2] เรียบเรียงจาก สุวรรณภา กลิ่นอังกาบ และวิราวรรณ สมพงษ์เจริญ, “ผีในกฎหมายตราสามดวง,” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560): 19-29.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า