ส่องคำนำหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ถอดแนวคิด “ล้มล้างการปกครอง” ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล : ตอนที่ 2

จากคำนำในหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ซึ่งทีมงาน ฤๅ ได้นำเสนอไปในตอนที่แล้ว จะเห็นได้ว่า ปิยบุตร พยายามชี้นำและสนับสนุนให้เกิดแรงกดดันต่อสภา โดยอาศัยการเคลื่อนไหวของม็อบ (ซึ่งในที่นี้ปิยบุตรน่าจะหมายถึงม็อบเยาวชน) โดยไม่สนใจว่าการเคลื่อนไหวประท้วงเหล่านั้นเป็นการกระทำอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของชุดความรู้ที่ถูกต้องหรือไม่

ซึ่งทุกวันนี้ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ม็อบเยาวชนที่ปิยบุตรให้การหนุนหลังมาโดยตลอด มีรูปแบบการเคลื่อนไหวและการแสดงออกที่เลวทราม เฉกเช่นม็อบของพวกชั้นต่ำ (scum) อาทิ Sans-Culotte ในปารีสสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างไม่มีผิดเพี้ยน

นอกจากนี้ ปิยบุตร ยังพูดถึงบทเรียนของการปฏิวัติฝรั่งเศสและแสดงออกอย่าง “อ้อมๆ” คล้ายจะบอกว่า ประเทศไทยควรเอาเป็นตัวอย่าง จากข้อความที่เขียนว่า …

“เมื่อสถานการณ์ปฏิวัติรุดหน้าไปจนถึงการล้มระบอบกษัตริย์ ก็ไม่มีสมาชิกสภาอาลัยอาวรณ์กับสภาบันกษัตริย์ พวกเขาเห็นตรงกันเรื่องก่อตั้งสาธารณรัฐ ส่วนจะเป็นสาธารณรัฐแบบใดก็มาต่อสู้กันอีกยก”

การนำเสนอเช่นนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะในความเป็นจริง ในช่วงต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส พวกที่สนับสนุนการปฏิวัติ ซึ่งรวมถึงมวลชนในทุกชนชั้น ไม่ได้ตั้งใจที่จะถอดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จากการเป็นกษัตริย์ตั้งแต่แรก และต้องการจะให้ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ที่ประชาชนธรรมดาในฐานะ ฐานันดรที่ 3 มีสิทธิ์มีเสียงในทางปกครองมากขึ้นเท่านั้น

และเป็นความจริงที่ว่า ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติช่วงปีแรกๆ นั้นเป็นไปอย่างสงบและสันติ (ยกเว้นการก่อจลาจลของพวก Sans-Culotte ในปารีส เช่น การบุกทลายคุกบัสตีย์แล้วตัดคอผู้คุมเสียบประจาน)

แต่น่าเสียดายที่การปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มขึ้นด้วยการเรียกร้องอย่างสงบ ได้กลับกลายเป็นการจลาจลและนองเลือด ทันทีที่พวกนักปฏิวัติชนชั้นกลางบางคน อาทิ มักซีมีเลียง โรสปิแยร์ เริ่มสร้างวาทกรรมขึ้นมาเพื่อชี้นำการปฏิวัติ จนกระทั่งนำพาฝรั่งเศสไปสู่ยุคสมัยแห่งความพรั่นสะพรึง (Reign of Terror)

นอกจากนี้ธรรมชาติของการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงปกครอง (Revolution) แม้จะมีกลุ่มหลักที่เป็นตัวนำในการปฏิวัติ แต่เมื่อปฏิวัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบอบที่ตั้งขึ้นใหม่ก็จะต้องเจอกับสถานการณ์ที่ “ไม่เสถียร” เพราะเป็นของใหม่ที่ใครๆ ต่างก็ไม่คุ้นชิน เนื่องจากความเข้าใจ การตีความ และการตกผลึกในหลักการหรืออุดมคติต่างๆ ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละปัจเจกคน

ดังนั้น การกล่าวในทำนองว่า “ปฏิวัติล้มล้างกษัตริย์และก่อตั้ง ‘สาธารณรัฐ’ ก่อน ส่วนจะเป็น “สาธารณรัฐ” แบบไหนก็ค่อยมาว่ากัน” จึงถือเป็นการกล่าวที่อันตรายมาก เพราะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เกิดความวุ่นวายหากประชาชนยังไม่ตกผลึกร่วมกันทางความคิดดีพอ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เกิดสงครามการเมืองหลังการปฏิวัติ เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในประเทศจีน ลาว เวียดนาม หรือประเทศแถบแอฟริกา ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

สถานการณ์สุญญากาศทางการเมือง (political vacuum) เช่นนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่พวกนักวาทกรรม (demagogues) ต้องการมาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาจะได้ชักโยงสังคมที่กำลังวุ่นวาย ให้เป็นไปในทิศทางที่เขาต้องการเพื่อสร้างฐานอำนาจของตน

แต่ทางทีมงาน ฤา ก็ขอเตือนว่า พวกนักวาทกรรมในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส เช่น โรสปิแยร์ สุดท้ายก็ต้องพบกับจุดจบอย่างน่าอนาถ เพราะโดนจับไปตัดหัวด้วยกีโยติน เหมือนกับที่เขาเคยทำกับศัตรูทางการเมือง (ซึ่งส่วนมากก็เป็นผู้ร่วมปฏิวัติด้วยกันเอง) ดังนั้น หากใครคิดจะเจริญรอยตามโรสปิแยร์ ก็ขอพึงระวังให้จงหนัก

ข้อสังเกตประการสุดท้ายต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ปิยบุตรได้จั่วไว้ว่า “การปฏิวัติแบบฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ได้อีกหรือ” และเขายังได้ฝากแง่คิดแก่ผู้อ่าน ด้วยท่วงทำนองที่ร้อนแรงว่า …

“… ไม่มีใครรู้หรอกว่า การปฏิวัติในศตวรรษนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ในรูปแบบใด เรารู้แต่เพียงว่า ถ้าเราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนาดใหญ่ถึงราก ก็ต้องคิด ต้องลงมือปฏิบัติ ทุกวัน ทุกเวลา ตั้งแต่วันนี้ …”

จริงๆ คำถามหรือข้อสังเกตในลักษณะนี้ เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษนี้แล้วด้วยซ้ำ เพราะเป็นที่รับรู้กันในวงการวิชาการสากลแล้วว่า การปฏิวัติแบบฝรั่งเศส เป็นแบบอย่างที่รุนแรง ล้าสมัย และไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน เป็นชัยชนะที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อของพี่น้องร่วมชาติโดยไม่จำเป็น ซึ่งปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดก็ล้วนมาจากบรรดานักวาทกรรม (demagogues) นั่นแหละ ที่คอยยุยงและปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงขึ้น

ดังนั้น ทีมงาน ฤๅ จึงมีข้อสรุปแถมท้ายให้ ปิยบุตร อีกข้อหนึ่งว่า สิ่งที่เราน่าจะเอาอย่างการปฏิวัติฝรั่งเศสก็คือ การกำจัดพวกนักวาทกรรม (demagogues) ให้หมดสิ้นไปจากสังคมเสียที เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า เมื่อยุคสมัยแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศสได้หมดสิ้นพวกนักวาทกรรมคนสำคัญๆ ไปแล้ว (ทั้งที่ถูกประหารชีวิตหรือหลบหนี) การปกครองของฝรั่งเศสก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นกว่าในช่วงที่โรสปิแยร์เป็นใหญ่ในแผ่นดินอย่างเห็นได้ชัด

ส่องคำนำหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ถอดแนวคิด “ล้มล้างการปกครอง” ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล : ตอนที่ 1

อ้างอิง :

[1] ปิยบุตร แสงกนกกุล. ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส. (กรุงเทพ : 2565). สำนักพิมพ์มติชน.
[2] Ian Davidson. The French Revolution : From enlightenment to tyranny. (London : 2017). Profile Books.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า