ส่องคำนำหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ถอดแนวคิด “ล้มล้างการปกครอง” ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล : ตอนที่ 1

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บทบาทของเหล่านักวิชาการและปัญญาชนผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ กำลังมีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการโน้มน้าวและชักนำเยาวชนไทยจำนวนมาก ให้มีความคิดเห็นและคล้อยตามความต้องการของพวกเขา

นักวิชาการและปัญญาชนนิยมระบอบสาธารณรัฐเหล่านี้ ได้แฝงตัวเข้าสู่สถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศมาเป็นเวลานาน เพื่อเตรียมการและสร้างเครือข่ายในการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เครือข่ายจัดตั้งเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองนี้ สามารถสืบสาวที่มาได้ตั้งแต่ช่วงหลัง พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา กลุ่มคนเหล่านี้ได้ใช้สถาบันการศึกษาในการเผยแพร่ลัทธิที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพในทางวิชาการ”

หากแต่คำว่า “เสรีภาพ” ที่พูดถึงนี้ เป็นเพียงแค่ข้ออ้างเท่านั้น เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาที่นักวิชาการกลุ่มนี้นำมาเผยแพร่ กลับเต็มไปด้วยคำใส่ร้าย ยุยง และการนึกมโนเอาเองตามแต่สติปัญญาจะคิดออกมาได้ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนผู้ฟังคิดกระด้างกระเดื่องต่อสถาบันหลักของชาติ

การบรรยายวิชาการในห้องเรียน จึงถือเป็นหนึ่งในเคล็ดวิธีบ่มเพาะ “แนวคิดขบถ” เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งการปฏิวัติ ให้ลุกลามแพร่กระจายไปในวงกว้าง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลชะงัดมาจนถึงปัจจุบัน

นอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียนของบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัย ในฐานะแนวหน้าของนักวิชาการและปัญญาชนนิยมระบอบสาธารณรัฐแล้ว การขยันผลิตตำราหรือหนังสือที่มีเนื้อหาสอดคล้องไปกับกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ย่อมเป็นยุทธวิธีที่ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบันยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเป็นทวีคูณ

และตัวอย่างที่ทีมงาน ฤา จะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นหนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์ใหม่สดๆ ร้อนๆ (มีนาคม 2565) นั่นคือหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในส่วนของเนื้อหานั้น ทางทีมงาน ฤา จะนำเสนอเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ในครั้งต่อไป แต่สำหรับครั้งนี้ มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ เรียกได้ว่าแทบจะทันทีเมื่อได้เปิดอ่านหนังสือเล่มนี้ นั่นก็คือ “คำนำ” ที่เขียนโดยปิยบุตรเอง ซึ่งเป็นการเขียนที่เต็มไปด้วยท่าทีที่ร้อนแรง เผ็ดร้อน และส่อไปในทางชักจูงให้ผู้อ่านเห็นดีเห็นงามกับการปฏิวัติล้มล้างการปกครองโดยไม่ต้องแยแสอะไรทั้งสิ้น

ที่น่าสนใจคือ ปิยบุตรได้เสนอไปถึงขั้นว่า การกดดันนอกรัฐสภามีความจำเป็นอย่างมากต่อชัยชนะในการปฏิวัติ ซึ่งในที่นี้ (กล่าวถึงต้นแบบในประเทศฝรั่งเศส) ได้แก่ “มวลชนที่สนับสนุนการปฏิวัติ / Sans-culottes / ม็อบปารีเซียง” ดังข้อความในหน้า (3) ที่เขียนว่า …

“… หากปราศจากขบวนการประชาชนที่เคลื่อนไหวอยู่นอกสภา ที่นำโดยพวก Sans-culottes แล้ว ก็จะไม่มีพลังเร่งเร้าการปฏิวัติให้ก้าวรุดหน้า ไม่มีแรงกดดันไปที่สมาชิกสภาให้กลายเป็นนักปฏิวัติมากขึ้น … นอกจากนี้ พลังของประชาชนนอกสภาไม่เพียงแต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นยอด กดดันให้สมาชิกสภาเดินหน้าปฏิวัติเท่านั้น พวกเขายังพร้อมเป็น ‘ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก’ คอยสนับสนุนและป้องกันสมาชิกสภาที่พร้อมเดินหน้าปฏิวัติด้วย …”

ถ้าอ่านข้อความนี้แบบเร็วๆ อาจทำให้นึกไปได้ว่า ปิยบุตรกำลังพูดถึงบทเรียนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการกล่าวถึงช่วงที่สมาชิกสภาแห่งชาติได้รับการสนับสนุนให้มีความรุนแรงในการปฏิวัติ ผ่านแรงกดดันจาก “มวลชนนอกสภา”

แต่หากเราอ่านระหว่างบรรทัดโดยละเอียด มิพักต้องสงสัยเลยว่า สิ่งที่ปิยบุตรเขียนนั้น เป็นการพยายาม “สื่อสาร” มายังผู้อ่านที่เป็นคนไทย (โดยเฉพาะเยาวชนผู้สนับสนุนการล้มล้างระบอบการปกครอง) ว่าควร “ดำเนินการ” อย่างที่พวก “มวลชนที่สนับสนุนการปฏิวัติ / Sans-culottes / ม็อบปารีเซียง” กระทำในฝรั่งเศส

นั่นก็คือ “การกดดัน” ให้นักการเมืองไทยในรัฐสภา มีท่าทีที่แข็งกร้าวและพร้อมจะสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบเยาวชนนอกรัฐสภา ซึ่งปัจจุบันเริ่มอ่อนแอลงเรื่อยๆ เนื่องจากขาดพลัง อ่อนด้อยในด้านความรู้ รวมถึงความขัดแย้งกันเองที่เกิดขึ้นภายในม็อบ

การเร่งเร้าและสนับสนุนให้มี “การกดดันนอกสภา” เช่นนี้ ถือเป็นวิสัยที่ผิดหลักประชาธิปไตยของประเทศไทย ที่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าล้วนมีตัวแทน (representatives) อยู่ในรัฐสภา อีกทั้งยังเป็นการทำลายรูปแบบมารยาททางการเมืองตามประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือ “คำนำ” ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล ในหนังลือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ที่เผยให้เห็นชัดเจนตั้งแต่แรก ถึงจุดประสงค์ในการเร่งเร้าสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกรัฐสภาอีกครั้ง โดยใช้การปฏิวัติฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบในการปลุกเร้าตามแบบฉบับที่ถนัดของปิยบุตร

ในตอนต่อไปเราจะมาดูกันว่า นอกเหนือไปจากการเล่นสกปรกนอกรัฐสภาและนอกรัฐธรรมนูญแล้ว ปิยบุตรได้ฝากมรดกชั่วร้ายของการปฏิวัติฝรั่งเศสข้อใด ฝังลงในหัวผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ของเขาอีกบ้าง

ส่องคำนำหนังสือ “ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส” ถอดแนวคิด “ล้มล้างการปกครอง” ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล : ตอนที่ 2

อ้างอิง :

[1] ปิยบุตร แสงกนกกุล. ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส. (กรุงเทพ : 2565). สำนักพิมพ์มติชน.
[2] Ian Davidson. The French Revolution : From enlightenment to tyranny. (London : 2017). Profile Books.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า