“พระราชวังบัคกิ้งแฮมไม่ต้อนรับฆาตกร” ความเข้าใจผิด ๆ ของคนอ่านหนังสือไม่เกิน 1 บรรทัด

พระราชวังบัคกิ้งแฮมไม่ต้อนรับฆาตกร
Buckingham Palace does not host murderers.

ถ้าเพจไหนจั่วพาดหัวมาสั้น ๆ แบบนี้ แน่นอนว่าคงเรียกแขกเรียกยอดวิวได้มากโขอยู่ และคงเกิดคำถามโหมกระพือต่อว่า ‘ใครเป็นคนพูด?’ และ ‘ใครคือฆาตกร?’

ถ้าเราหยอดลงไปอีกหน่อยว่า “ พระเจ้าจอร์จ ที่ 6 แห่งอังกฤษทรงปฏิเสธการเข้าเฝ้าของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยระบุว่า ‘พระราชวัง Buckingham ไม่ขอต้อนรับฆาตกร’ ” (George VI had declined to receive the King, saying, ‘Buckingham Palace does not host murderers.’)

เท่านี้การตีความก็แผ่ขยายเหมือนไฟลามทุ่ง

การตีความข่าวสาร นำไปสู่ความเข้าใจสถานการณ์ ส่วนจะไปในทาง ‘ถูก’ หรือ ‘ผิด’ ก็อยู่ที่เจตนาและการปักธงเริ่มต้นของผู้รับสาร เมื่อความเข้าใจเดินไปในทิศทางเดียวกันจนมากพอ (ไม่ว่าจะถูกหรือผิด) ก็สามารถสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมได้อย่างมหาศาล

หากแรงกระเพื่อมนั้นขับเคลื่อนด้วยความเท็จ สังคมในยุคต่อไปจะเป็นอย่างไร ?

เรามาดูที่มาของเรื่องนี้กัน

ความเท็จ

มีการนำข้อความภาษาอังกฤษจากหนังสือ The Revolutionary King : The true life sequel to The King and I, หน้า 95 แต่งโดย William Stevenson มาจับแค่ประโยคเดียว แถมแปลใจความผิดชนิดเป็นคนละเรื่องเดียวกันเลย

โดยจงใจแปลให้เกิดข้อความเท็จที่ว่า พระเจ้าจอร์จ ที่ 6 แห่งอังกฤษทรงปฏิเสธการเข้าเฝ้าของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะทรงเชื่อว่าในหลวงเป็นผู้สังหารพี่ชายตนเอง โดยระบุว่า “พระราชวัง Buckingham ไม่ขอต้อนรับฆาตกร” (George VI had declined to receive the King, saying, ‘Buckingham Palace does not host murderers.’)

เท่านี้พลังของการพาดหัวและบิดเบือน ก็ทำงานกับผู้ที่รับสารได้จำกัด และพร้อมสร้างความเข้าใจผิด ๆ ไปตามทิศทางธงที่ปักอยู่ในใจ

ความจริง

หากเราขยายขอบเขตการอ่านให้กว้างขึ้น ก็จะเห็นภาพรวมของข้อความทั้งหมด และเมื่อนำมาแปลเป็นภาษาไทย พบว่าเนื้อหาเป็นคนละเรื่องกับการเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จในโลกออนไลน์อย่างสิ้นเชิง โดยข้อความมีเนื้อหาดังนี้

“Phao had hurried here with gossip that he hoped would destroy Queen’s trust in her husband. He had heard the queen wanted to go with him to London and wrongly assumed the king had not told her that George VI had declined to receive the King, saying, ‘Buckingham Palace does not host murderers.’ But Sirikit already knew King of England did not intimidate her. Neither did conspirator like Phao.”

ซึ่งแปลความหมายได้ว่า…

“เผ่าวิ่งตาลีลาเหลือกมาพร้อมกับข่าวลือซุบซิบนินทา เพื่อหวังจะทำลายความเชื่อใจของพระราชินีสิริกิติ์ที่มีต่อพระสวามีของพระองค์ เผ่าได้ยินมาว่าพระราชินีทรงมีพระประสงค์จะตามในหลวงไปยังลอนดอน และทึกทักเอาว่าในหลวงไม่ทรงบอกแก่พระราชินีว่าพระเจ้าจอร์จที่ 6 ปฏิเสธจะให้การต้อนรับในหลวง โดยระบุว่า ‘พระราชวังบัคกิ้งแฮมไม่ต้อนรับฆาตกร’ แต่พระราชินีสิริกิติ์ทรงทราบอยู่แล้วว่า กษัตริย์อังกฤษไม่ได้มีท่าทีคุกคามเธอแบบนั้น (กล่าวหาพระสวามีของพระองค์) และพระราชินีเองก็ไม่ทรงเชื่อตามข่าวลือที่นักปั้นเรื่องอย่างเผ่าสร้างขึ้นมาด้วย”

เห็นได้ว่า คำกล่าวหานั้นแท้จริงแล้ว มิได้มาจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แต่ถูกปั้นกุเรื่องขึ้นมาโดย พลตำรวจเอกเผ่า

ในหนังสือ The Revolutionary King หน้า 95 ยังได้ระบุต่อด้วยว่า พระราชินีทรงทราบว่า พลตำรวจเอกเผ่า เป็นบุคคลอันตรายหากจะเป็นศัตรูด้วย และยังกล่าวถึงเรื่องที่ประชาชนคนไทยทุกคนทราบดีว่า พลตำรวจเอกเผ่าเป็นบุคคลที่น่าสะพรึงกลัว เนื่องจากมีอำนาจที่จะทำเรื่องขัดกับศีลธรรมได้ทุกประการ (Everybody also knew and feared Police-general Phao. He had the power of total amorality.)

หลายคนคงทราบถึงบทบาทของพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ในช่วงเหตุการณ์บ้านเมืองปี พ.ศ. 2494 – 2500 กันดีอยู่แล้ว

และนี่คือเกร็ดน่าสนใจของ ‘บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย’ ผู้นี้

พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เป็นนายทหารที่โยกย้ายมาคุมข้าราชการตำรวจ เขาเติบโตมาจากปีกอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2490

พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการที่จะจับในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่การปฏิวัติ พ.ศ. 2,500 ของจอมพลสฤษดิ์ เกิดขึ้นเสียก่อน ทำให้เผ่าต้องลี้ภัยไปสวิสเซอร์แลนด์ แม้เมื่อตอนที่เผ่าเสียชีวิต ศพก็ไม่ได้รับอนุญาตให้นำกลับเข้ามาในประเทศ (อ้างอิงจากหนังสือ ‘ชีวิตเมื่อผ่านไป 84 ปี’ โดย พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร)

ดังนั้น ข้อกล่าวหาตามคำลือที่บิดเบือนส่งต่อกันมาว่า พระเจ้าจอร์จที่ 6 ไม่ทรงต้อนรับในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงไม่เป็นความจริง

ทั้งนี้ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินีสิริกิติ์ ทรงได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งอังกฤษ และเจ้าชายฟิลิปพระสวามี ครั้งเสด็จเยือนสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2503 / ค.ศ. 1960

ข้อมูลทั้งหมดนี้คือ ความจริงเพียงหนึ่งเดียว ที่จะช่วยลบล้างความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับคำพูดของพระเจ้าจอร์จที่ 6  ที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงช่วยกระตุกเตือนจิตสำนึกในการรับรู้ข่าวสาร ให้ครบถ้วนและไตร่ตรอง

เพื่อที่อย่างน้อยจะได้ช่วยประคองธงในใจ ให้ปักไปในทิศทางที่ถูกต้อง

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า