“คดีพญาระกา” ความอดกลั้นของ รัชกาลที่ 5 บนความพินาศปั่นป่วนในวงการยุติธรรม

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไทยเรื่องหนึ่งซึ่งถือได้ว่า เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงผลเสียหายจากการนำเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับหน้าที่ส่วนรวมคือ การลาออกจากราชการของ ขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม บุนนาค) อธิบดีศาลต่างประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5

ก่อนอื่นต้องย้อนเรื่องราวกลับไปถึงคดีสำคัญในสมัยนั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นคดีที่นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์รู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นคือ “คดีพญาระกา” เป็นคดีระหว่างพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชอนุชาของในหลวง ร.5 กับเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น นั่นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระราชโอรสของในหลวง ร.5

สืบเนื่องมาจากกรมพระนราธิปฯ ทรงพระนิพนธ์บทละครเรื่องปักษีปกรณัม หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พญาระกา ล้อเลียนหมิ่นประมาทกรมหลวงราชบุรีฯ ทำให้ทรงรู้สึกอับอายและไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมต่อไปได้อีก กรมหลวงราชบุรีฯ จึงทำหนังสือลาออกจากราชการ

เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้กลุ่มผู้พิพากษาจำนวน 28 คน รวมทั้ง ขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม บุนนาค) อธิบดีศาลต่างประเทศ และเป็นหัวหน้ากลุ่มผู้พิพากษา ได้ลงชื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอลาออกจากราชการตามกรมหลวงราชบุรีฯ ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งไปก่อนแล้วในช่วงราว ๆ ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2453

การลาออกของขุนหลวงพระยาไกรสี และกลุ่มผู้พิพากษา ทำให้งานราชการของกระทรวงยุติธรรมเกือบถึงกับเป็นอัมพาตไป และเกือบจะสร้างผลกระทบรุนแรงต่อการบริหารราชการแผ่นดินเลยทีเดียว

เรื่องนี้ทำให้ในหลวง ร.5 ไม่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ถึงกับเรียกขุนนางทั้ง 28 คนนี้ว่าเป็นพวก “28 มงกุฎ” เหตุเพราะกรณีคดีพญาระกานั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ขุนนางเหล่านี้กลับเอามาปะปนกับเรื่องส่วนรวมจนงานราชการเสียหาย กล่าวกันว่าในหลวง ร.5 ทรงกริ้วมาก จนถึงกับให้เขียนชื่อขุนนาง 28 มงกุฎ ปิดไว้ที่ปลายพระแท่นบรรทม เพื่อทรงสาปแช่ง

เหตุที่ทรงกริ้วมากเพราะในเวลานั้น กลุ่มพ่อค้าคนจีนกำลังมีการนัดหยุดงานกันในระหว่าง วันที่ 1 – 8 มิถุนายน 2453 แล้วก็เกิดพวก 28 มงกุฎนี้ มาชิงตัดหน้าหยุดงานแข่งกับพ่อค้าชาวจีนอีก ยิ่งเป็นการทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายซ้ำหนักเข้าไปอีก

หากพูดถึงสาเหตุจริง ๆ แล้ว เรื่องนี้บรรดาข้าราชการระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมทั้ง 28 ท่าน ก็ไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบาง จนเกิดความเข้าใจผิดว่า กรมหลวงราชบุรีฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ต่อมาเมื่อข้าราชการเหล่านี้ได้ทราบความจริงแล้ว ต่างก็พากันสารภาพรับผิดที่ได้กระทำการด้วยความวู่วาม จนทำให้เกิดความปั่นป่วนในทางราชการ และได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษ ให้กลับเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ตามเดิม เพียงแต่งดบำเหน็จความชอบในปีนั้นไป

ยกเว้นแต่ขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม บุนนาค) ที่ไม่ยอมรับผิด แต่กลับทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายตอบพระราชกระทู้ แก้ตัวไปตามโวหารนักกฎหมาย ในหลวง ร.5 จึงโปรดเกล้าฯ ลงพระราชอาญาให้ออกจากตำแหน่ง และให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ด้วย

เมื่อนายเทียม บุนนาค พ้นจากราชการไปแล้ว ก็ได้กลับมาขอใบอนุญาตว่าความ เพื่อใช้ประกอบอาชีพทนายความ ตอนแรกในหลวง ร.5 มีพระราชดำริจะห้าม โดยไม่ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมออกใบอนุญาตให้ แต่พระองค์ทรงเกรงว่า ถ้าหากทำเช่นนั้นจะเป็นการตัดอาชีพของนายเทียมจนเกินไป แม้พระองค์จะไม่พอพระราชหฤทัยนายเทียมเป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นผู้ที่ทำให้วงราชการปั่นป่วน แต่พระองค์ก็ทรงคำนึงถึงว่า หากนายเทียมไม่มีใบอนุญาตว่าความ ก็จะประกอบอาชีพทนายความไม่ได้ จึงทรงยอมให้เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้นายเทียมได้มีอาชีพเลี้ยงตัวต่อไป

เรื่องทั้งหมดนี้สะท้อนมุมมองได้สองแง่ หนึ่งคือ การลาออกจากราชการของกลุ่มผู้พิพากษาทั้ง 28 คน ถือเป็นการเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับหน้าที่ส่วนรวม ทำให้งานราชการเกิดความเสียหาย อีกทั้งการกระทำของขุนหลวงพระยาไกรสี ก็ถือเป็นการไม่รู้สำนึกในความผิด และไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

และอีกแง่มุมหนึ่ง ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อของในหลวง ร.5 ที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นายเทียมประกอบอาชีพทนายว่าความได้ ทั้งที่พระองค์จะถือเอาความไม่พอใจส่วนตัว ทำเป็นเมินเฉยไม่พระราชทานเสียก็ได้ แต่ก็ทรงยอมให้เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้นายเทียม เพื่อจะได้ไม่ต้องตัดช่องทางทำกิน อีกทั้งการพระราชทานอภัยโทษให้กับข้าราชการทั้ง 28 คน ให้กลับมารับราชการตามเดิม ก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงคิดถึงส่วนรวม คิดถึงประโยชน์ของชาติ มากกว่าการถือเอาความไม่พอใจส่วนตัวเป็นที่ตั้ง สิ่งเหล่านี้คือคุณธรรมของผู้นำที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงยึดถือและปฏิบัติเสมอมา

อ้างอิง :

[1] จักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์), หลวง, 2446-2501. เรื่องของเจ้าพระยามหิธร. [ม.ป.ท.]: โรงพิมพ์ตีรณสาร; 2499.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า