เงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจัยที่ทำให้เกิดการก่อกบฏหัวเมือง

รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 คือยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย จากยุคโบราณไปสู่ยุคสมัยใหม่ และตรงกับการสิ้นสุดของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการเริ่มต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พอดี

โลกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิวัติหลายเหตุการณ์ ในหลายที่บนโลก อันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม, การพัฒนาเทคโนโลยีการคมนาคมและการสื่อสาร และแนวคิดเสรีนิยม

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ล้วนหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน

พระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ล้วนแต่เปิดรับองค์ความรู้จากชาติตะวันตกทั้งสิ้น

พระองค์หนี่ง ทรงปรีชาสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และอีกพระองค์หนึ่ง ทรงปรีชาสามารถทางด้านวิศวกรรม สามารถต่อเรือรบได้ด้วยพระองค์เอง

ยุคสมัยในรัชกาลนี้ คือยุคสมัยแห่งการปรับพื้นฐานราชสำนักสยาม ให้มีความพร้อมที่จะรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์แห่งศตวรรษที่ 20 ได้อย่างเป็นดี

ประเทศไทย ยุคก่อนรัชกาลที่ 5 พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ดูเหมือนจะยิ่งใหญ่และล้นหลามนั้น แท้ที่จริงแล้ว ถูกจำกัดเอาไว้เพียงแค่ในเมืองหลวง แผ่ขยายอำนาจออกไปเป็นวงกลม และไม่มีการกำหนดเขตแดนที่แน่นอน

นี่คือลักษณะการปกครองแบบ “มณฑล” (Mandala) ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้กันโดยทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์

ระยะรัศมีของวงกลมของอำนาจการปกครอง ขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งข้าราชการเข้าควบคุมดูแล ซึ่งมีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ และการสื่อสารคมนาคมเป็นปัจจัย

นี่ทำให้รัฐบาลกลางยุคโบราณ จำเป็นต้อง “กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น” ด้วยการมอบหมายให้ “เจ้าเมือง” หรือ “เจ้าประเทศราช” กระทำการแทนพระองค์

โดยเฉพาะ “เจ้าประเทศราช” ที่มีอำนาจเป็น “เจ้าชีวิตท้องถิ่น” สามารถกำหนดกฎหมายและประหารชีวิตใครก็ได้ในพื้นที่การปกครองของตนเอง มีอิสระในการปกครองตนเองโดยเสรี เพียงถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดเวลา เพื่อแลกกับการคุ้มครองจากรัฐบาลกลางเท่านั้น

ในขณะที่รัฐบาลกลาง ราชสำนักรัตนโกสินทร์ปรับปรุงพัฒนาราชสำนัก มีความสัมพันธ์อันดีกับชาติตะวันตก อีกทั้งยังสามารถแสดงให้โลกเห็นถึงศักยภาพของประเทศ ในการพัฒนาให้ทันเหล่าชาติตะวันตก ซึ่งยกตนว่าเป็นผู้มีอารยธรรมอันสูงส่ง และมองชาติเอเชียเป็นพวกคนเถื่อน ได้อย่างสง่างาม

แต่บรรดาเจ้าหัวเมืองท้องถิ่นนั้น ไม่ได้ก้าวทันโลกอย่างราชสำนัก หากแต่ยังคงยึดติดกับอำนาจเก่า และค่านิยมเก่า ๆ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

ที่สำคัญ คือการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ทำให้เจ้าหัวเก่า และขุนนางท้องถิ่นหัวโบราณ ต้องสูญเสียผลประโยชน์ ซึ่งนี่คือ “แรงจูงใจ” ให้เกิดการก่อกบฏ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สิ่งนี้จะเห็นได้จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้ากาวิโลรส เจ้าเมืองเชียงใหม่ กับคณะมิชชันนารีชาวอเมริกันของหมอแดเนียล แมคกิลวารี

ในขณะที่หมอแมคกิลวารีพยายามที่จะสอนศาสนา, รักษาโรค และก่อตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก เขากลับถูกขัดขวางโดยเจ้ากาวิโลรส ซึ่งหนักจนถึงขั้นสังหารคริสตศาสนิกใหม่ที่เพิ่งเข้ารีตของหมอแมคกิลวารีจนถึงแก่ความตายไปถึง 2 ราย

นอกจากนี้ จดหมายของคณะมิชชันนารีถูกคนของเจ้ากาวิโลรสยึดไว้เสียระหว่างทาง ตัดช่องทางการสื่อสารหระหว่างคณะมิชชันนารีกับกรุงเทพฯ สร้างความหวาดหวั่นให้แก่หมอแมคกิลวารีและคณะ จนต้องแอบส่งจดหมายลับไปถึงหมอบลัดเลย์ ผ่านพ่อค้าชาวพม่า

เรื่องนี้ สร้างความโกรธเคืองให้แก่มิสเตอร์ฮู้ด กงสุลอเมริกันเป็นอย่างมาก เขาแสดงท่าทีที่แข็งกร้าว ยืนกรานให้เจ้ากาวิโลรสรับรองความปลอดภัยของคณะมิชชันนารีอย่างเป็นทางการ

ซึ่งรัฐบาลสยามเองก็ไม่สบายใจ จึงดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวต่อเชียงใหม่ ด้วยการประกาศแต่งตั้งเจ้าอินทนนท์ ราชบุตรเขยของเจ้ากาวิโลรสขึ้นเป็นมหาอุปราชเมืองเชียงใหม่ เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองดูแลคณะมิชชันนารีอีกทาง

ในเวลาต่อมา คณะมิชชันนารีกลุ่มนี้ คือ ผู้วางรากฐานด้านการศึกษาสมัยใหม่ให้แก่หัวเมืองเหนือ ซึ่งรวมไปถึงการให้การศึกษาแก่สตรี เป็นผู้ให้กำเนิดวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี, โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม, โรงเรียนดาราวิทยาลัย และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ในด้านการแพทย์และสาธารณสุข คณะมิชชันนารีของแมคกิลวารี นำการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาให้การรักษาแก่ชาวเหนือ มีการจัดตั้งโรงพยาบาลเป็นครั้งแรกในหัวเมืองเหนือ และต่อมามีการจัดสร้างโรงพยาบาลโรคเรื้อนกลางแม่น้ำปิง ซึ่งได้รับการยอมรับจากชาวเหนือเป็นอย่างดี จนสถานที่เดิมคับแคบ จึงมีการสร้างโรงพยาบาลใหม่ชื่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค”

ในพิธีเปิดโรงพยาบาล วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2467 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนกในหลวงอานันท์และในหลวงภูมิพล) พร้อมด้วยหม่อมสังวาล มหิดล (สมเด็จย่า) และเจ้าดารารัศมี เสด็จเป็นองค์ประธาน

โรงพยาบาลยังคงให้บริการประชาชน และยังเป็นสถานปฏิบัติการของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ มาจนปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงพัฒนา จะนำมาซึ่งการศึกษาและการสาธารณสุขสมัยใหม่ พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านชนบท อีกทั้งการปฏิรูปการปกครองและกระบวนการยุติธรรม จะนำมาซึ่งหลักประกันด้านความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ประชาชนก็ตาม

แต่ก็ไม่ใช้ว่าทุกคนจะพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนา โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น เช่นกลุ่มเจ้าหัวเมือง, ขุนนาง และผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่มาของการก่อกบฏในหัวเมืองเหนือและอีสาน

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปกองทัพ ทำให้กองทัพสยามมีแสนยานุภาพสูง สามารถดำเนินการปราบปรามกบฏได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เหล่าผู้มีอิทธิพลเดิมเข็ดขยาด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงแต่โดยดี

นอกจากนี้ การปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล และการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจน ตามรูปแบบการปกครองของรัฐสมัยใหม่ ทำให้นักล่าอาณานิคมไม่มีข้ออ้างในการยึดดินแดน ช่วยให้เมืองไทยรักษาแผ่นดิน เอกราช และอำนาจอธิปไตยของชาติเอาไว้ได้อย่างมั่นคง

ประวัติศาสตร์การปกครองในทุกยุคสมัย จะมีช่วงเวลาของการรวมศูนย์อำนาจ สลับกับการกระจายอำนาจมาตลอดในทุกยุคทุกสมัย

ในช่วงเวลาที่รัฐจำเป็นจะต้องมุ่งพัฒนาทุกองคาพยพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐจะดำเนินนโยบายแบบรวมศูนย์

แต่เมื่อการพัฒนาของรัฐและท้องถิ่น ดำเนินมาจนถึงจุดหนึ่ง ที่ประชาชนในท้องถิ่นมีจำนวน และขีดความสามารถสูงมากเพียงพอ จนเกิดความต้องการที่แตกต่างและซับซ้อนมากขึ้น เวลานั้น รัฐจะดำเนินนโยบายแบบกระจายอำนาจ เพื่อสร้างความคล่องตัวในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ

เหตุการณ์กบฏหัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ช่วงศตวรรษก่อน คือผลพวงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องด้วยความจำเป็นที่จะต้องเร่งปฏิรูปการปกครอง พัฒนาประเทศจากศูนย์กลาง ป้องกันประเทศมิให้ตกเป็นเหยื่อของนักล่าอาณานิคมในยุคสมัยนั้น

ตลอดเวลาร้อยกว่าปีที่ประเทศไทย บริหารราชการผ่านนโยบายแบบรวมศูนย์ ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างในทุกวันนี้

วันนี้ ประเทศไทยในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาที่ดีพอที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายประเทศไปสู่การกระจายอำนาจแล้ว

และโชคดีที่ในวันนี้ เราไม่มีภัยคุกคามจากนักล่าอาณานิคมตะวันตก ทำให้เราสามารถผ่องถ่ายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงได้เหมือนในอดีต

เจตนารมณ์ของรัฐในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 14 มาตรา 249 ซึ่งระบุว่า

“ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่ง การปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามวิธีการและรูปแบบองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ”

อดีตมีไว้ให้เราเรียนรู้ เพื่อการมุ่งสู่อนาคตที่ไม่ผิดพลาด มั่นคงและยั่งยืน

ความบาดหมางอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นนั้น สมควรที่จะศูนย์สลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงบทเรียนอันทรงคุณค่า ให้พวกเราและลูกหลานสืบไป

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า