‘อาณานิคมภายใน’ วาทกรรมแห่งการแตกแยก ของคนที่ไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์

ไม่นานมานี้ในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทยได้นำแนวคิด “อาณานิคมภายใน” (Internal colonialism) เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในอดีต โดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ยกแนวคิดนี้มาใช้เพื่อชี้ให้เห็นว่ากรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็น “ส่วนกลาง” ของรัฐสยามสมัยใหม่ได้ทำการ “ล่าอาณานิคมภายใน” เพื่อดึงทรัพยากรต่างๆ มาเป็นของตนและสนับสนุนให้ตนเองเติบโตต่อไป ในขณะที่หัวเมืองอื่นๆ ต้องถูกกดไว้ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

อย่างไรก็ดี แม้แนวคิดอาณานิคมภายในนั้น จะมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจอดีต และเปิดเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่ดีที่ประวัติศาสตร์ได้ทิ้งเอาไว้ แต่อาณานิคมภายในได้ผันตัวเองเป็นวาทกรรมที่ปฏิบัติการสร้างความแตกแยก และเสริมพลังให้แก่ความคิดท้องถิ่นนิยมจนอาจจะเกินเลยเกินไป

ในบทความนี้ ฤา จะพาทุกท่านไปชั่งน้ำหนักแนวคิดดังกล่าวว่าควรจะเชื่อหรือยึดเป็นแนวทางในการเข้าใจอดีตเพียงใดเพื่อให้เกิดการสร้างความเข้าใจกันต่อไป

แนวคิดอาณานิคมภายในได้ปรากฏอยู่อย่างโดดเด่นในงาน Internal Colonialism: The Celtic fringe in British national development, 1536-1966 ของ Michael Hechter นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันซึ่งเข้าไปศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับกลุ่มประเทศเคลติกในประเด็นด้านการพัฒนา เขากล่าวว่าแนวคิดอาณานิคมภายในของเขา ได้มาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคนผิวดำและผิวขาวในสหรัฐอเมริกาในแง่ของวัฒธรรมและชาติพันธุ์ กล่าวคือมีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์เกิดขึ้นและถูกกดขี่ และงานที่มีรายได้ดี สถานะสังคมสูงจะถูกจำกัดเฉพาะไว้ให้เพียงวัฒนธรรมและเชื้อชาติหลักเท่านั้น

ในแง่นี้การเกิดอาณานิคมภายในจึงเป็นเรื่องของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์เป็นหลัก โดยมีเรื่องการขูดรีดซ้อนลงมาอีกชั้น ถ้าหากเราลองนำทั้งสามเรื่องนี้มาทดลองวิเคราะห์ในสยามในพื้นที่มณฑลพายัพ (พื้นที่ตอนเหนือของสยาม) ก็จะพบว่าความแตกต่างทั้งหมดนี้แทบจะไม่มีอยู่เลยเสียด้วยซ้ำ กล่าวคือในช่วงของการปฏิรูปให้เป็นรัฐสมัยใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั้นไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในการดำรงชีวิตและทำมาหากินของคนในหัวเมืองเหนือ กลับกันยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาให้เติบโตขึ้นได้ [1] ดังนั้น หากมีการล่าอาณานิคมภายในเกิดขึ้นจริง หัวเมืองเหนือจะต้องพังในทุกด้าน

ในกรณีของป่าไม้เมืองเหนือนั้น มีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลและการก่อรูปของรัฐสยามในขณะนั้นด้วย การเร่งปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพพร้อมกับการเข้าควบคุมป่าไม้ จึงเป็นความพยายามในการหลีกเลี่ยงชะตากรรมแบบเดียวกับรัฐรอบข้าง [1] การเข้าไปจัดการป่าไม้นั้น หัวเมืองรัตนโกสินทร์ก็ไม่ได้เอาไปเป็นของตัวเองทั้งหมด แต่มีการแบ่งอัตราค่าตอบแทนซึ่งแบ่งออกเป็นถึง 5 พื้นที่ คือ ป่าลุ่มแม้น้ำปิง ป่าแม่ปาย ป่าแม่เมย ป่าแม่สะเกิบ และป่าเมืองยวม โดยส่วนกลางหักออก 23% ที่เหลือ 77% เป็นของเจ้านายเมืองเหนือ หากเมืองใดไม่มีผู้ปกครองเมืองแล้วผู้ที่ทำหน้าที่จะได้รับเงินไปครึ่งหนึ่งของเจ้าเมือง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งให้เป็นเงินบำรุงราชการเมือง และการแบ่งเงินให้เจ้านายเมืองเหนือ 77% นี้ยังคงทำสืบทอดต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

บางท่านอาจจะกล่าวได้อีกว่ามีแต่หัวเมืองรัตนโกสินทร์ที่พัฒนา ส่วนเมืองอื่นๆ ไม่พัฒนาตาม เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งยืนยันในการล่าอาณานิคมภายใน สำหรับเรื่องนี้ Christopher Paik อาจารย์รัฐศาสตร์จาก New York University และเจสสิกา เวชบรรยงรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตอบไว้ว่า เพราะสยามถูกจำกัดช่องทางรายได้โดยมหาอำนาจ ทำให้มีเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำกัด ส่งผลให้การขยายออกจากส่วนกลางนั้นต้องชะลอตัว[2]

หรือหากยิ่งลองพิจารณานิยามอาณานิคมภายในงานใหม่ๆ เช่น Toward a New Theory of Internal Colonialism ของ Charles Pinderhughes อาจารย์สังคมวิทยาจาก Essex County College ซึ่งเขาชี้ว่ามีการแบ่งแยกเพศ มีพื้นที่เฉพาะที่ถูกกดขี่ และมีการใช้แรงงานอย่างชัดเจนกับ “ส่วนกลาง” เราก็จะยิ่งเห็นอีกว่า ส่วนกลางอย่างรัตนโกสินทร์นั้นไม่มีการแบ่งแยกดังกล่าว ในทางเศรษฐกิจก็มีรายรับจากหลายด้าน และข้าวที่ส่งออกนั้นความจริงก็กระจุกในภาคกลางเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังเปิดให้เจ้านายทำงานกับส่วนกลางได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะสังเกตได้ว่า โดยส่วนมากแล้วจะเป็นระดับผู้นำส่วนกลางกับผู้นำท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้นำส่วนกลางกับประชาชนในท้องถิ่น

จากการยกข้อมูลต่างๆ มาอย่างคร่าวๆ นี้ ก็เพื่อต้องการให้ผู้อ่านชั่งน้ำหนักว่า จะเชื่อเรื่องการล่าอาณานิคมภายในของสยามเพียงใด ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวแม้จะมีประโยชน์ แต่อาจจะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความแตกแยกมากกว่าที่จะมุ่งสนใจข้อเท็จจริง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจนเกินระดับแล้ว เราทุกคนในฐานะประชาชนก็คงมองหน้ากันได้ยาก และอนาคตของประเทศคงจะไม่สดใสเป็นแน่

อ้างอิง :

[1] รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดู พิมพ์อุมา ธัญธนกุล, โครงการวิจัยชุดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยในปริทรรศน์ประวัติศาสตร์ (เอกสารลำดับที่ 14) (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2560).
[2] ไศลรัตน์ ดลอารมย์, “พัฒนาการของการทําป่าไม้สักในประเทศไทย พ.ศ. 2439-2503,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528), หน้า 28.
[3] Christopher Paik and Jessica Vechbanyongratana, “Path to Centralization and Development: Evidence from Siam,” World Politics, Volume 71, Issue 2 (April 2019), pp. 289 – 331.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า