‘ไทยก็แค่ลูกกระจ๊อกอเมริกา’ มุมมองที่นำพาความตายสู่ ‘จิตร ภูมิศักดิ์’

เป็นที่ทราบกันดีว่าจิตร ภูมิศักดิ์ (เสียชีวิต 2509) เป็นปัญญาชนฝ่ายซ้ายคนสำคัญแห่งยุคสมัย มรดกในด้านการเมือง วรรณกรรมแปล และบทประพันธ์มากมายของเขานั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จิตรจึงเป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความสามารถด้านอักษรศาสตร์ขั้นจับตัวได้ยาก และเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เขาต้องมาเสียชีวิตขณะอายุยังน้อยเพราะมูลเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองแห่งยุคสมัย

อย่างไรก็ดี บทบาทอันสำคัญของจิตรที่น้อยคนในปัจจุบันจะกล่าวถึงได้แก่การที่เขามีแนวคิดเกลียดชังอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง งานเขียนจำนวนมากในช่วงก่อน 2500 และจนถึงช่วงก่อนเสียชีวิต จิตรได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกาที่กำลังทำสงครามเย็นกับประเทศคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ไม่ว่าเราจะมองจิตรผ่านแว่นในฐานะ ‘ปัญญาชนฝ่ายซ้าย’ หรือ ‘คนไทยที่มีใจรักชาติบ้านเมือง’ เพราะทนเห็นการบีบบังคับให้ไทยต้องกระทำการใด ๆ ที่ ‘ลูกพี่อเมริกา’ ต้องการไม่ได้ และด้วยการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของอเมริกาอย่างรุนแรงนี้เอง ที่หลายคนเชื่อว่าเป็นเหตุให้จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกชักนำไปสู่จุดจบก่อนวัยอันควร (ถูกลอบยิง) ว่ากันว่าเขาถูกสั่งเก็บโดยปฏิบัติการลับ ‘CIA’ และคนที่มีส่วนร่วมในการลอบสังหารเขาก็ได้ ‘รางวัลอย่างงาม’ ด้วยการได้รับเกียรติไป ‘ทัวร์เอเมริกา’

ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่จิตรจะตัดสินใจเข้าป่าจับปืนกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) สัมมาอาชีพของจิตรในเวลานั้นหนีไม่พ้นการใช้วิชาด้านอักษรศาสตร์ในการทำมาหากิน นอกเหนือจากการประพันธ์และงานเขียนทั่วไปแล้ว จิตรยังรับงาน ‘แปลภาษา’ อีกด้วย ในช่วงที่อิทธิพลอเมริกาสูงเด่นในไทยตั้งแต่หลัง 2491 เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ในเวลานั้นสถานการณ์ของการเมืองโลกเป็นสงครามเย็นที่ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย (อเมริกา) กำลังขับเคี่ยวกับประชาธิปไตยประชาชน (คอมมิวนิสต์) อเมริกาในฐานะพี่ใหญ่ไม่อยากเห็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องล้มกระดานกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ไป จึงต้องทุ่มทุกทางเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของศัตรูให้ได้

ประเทศไทยในเวลานั้นจึงได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจว่ารูปแบบการปกครองจะเป็นเสรีประชาธิปไตยจริงหรือไม่ (จอมพล ป. เป็นเผด็จการคณะรัฐประหาร 2490)แต่หากชนชั้นนำประเทศใดสนับสนุนอเมริกา ในทางกลับกันอเมริกาก็จะสนับสนุนเสถียรภาพของรัฐบาลนั้นด้วย ไม่ว่าจะทั้งการสนับสนุนเงินทุน กำลังคนและอาวุธ ด้วยเหตุนี้ จอมพล ป. ซึ่งมีศัตรูทางการเมืองแวดล้อมจึงต้องหวังพึ่งความช่วยเหลือจากอเมริกาอย่างเต็มที่ เห็นได้ชัดจากการออกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์หรือการส่งทหารไทยไปช่วยรบในสงครามเกาหลี อันเป็นการตอบแทนในความใจใหญ่ของอเมริกาผู้เป็นลูกพี่อย่างประจักษ์ชัดที่สุด

จิตรในช่วงที่รับงานแปลนี่เองจึงเข้าไปมีบทบาทอย่างสำคัญกับปฏิบัติการ ‘ย่ำยีเอกราชของไทย’ โดยอเมริกา ดังที่เขาบรรยายไว้ว่าตัวเขาเองมักจะได้รับมอบภารกิจให้แปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้มีภาษาที่สละสลวย แต่ลำพังการแปลภาษาย่อมใช่ปัญหา เพราะสิ่งที่จิตรพบเจอนั้นคือ ‘วิถีปฏิบัติที่แปลกประหลาด’ เช่นกรณีหนึ่ง ที่องค์การความร่วมมืออเมริกาต้องการที่จะมอบหัวรถจักรดีเซลให้แก่ฝ่ายไทย พวกเขาได้ส่งเอกสารมาให้จิตรแปล 2 ฉบับ คือ 1 คำปราศรัยส่งมอบของอเมริกาที่ต้องแปลเป็นไทยเพื่อให้รัฐมนตรีของไทยอ่านก่อน และ 2 คือ คำตอบรับของรัฐมนตรีไทยที่ถูกเขียนขึ้นอย่าง ‘เสร็จสรรพเป็นภาษาอังกฤษ’ โดยฝ่ายอเมริกา ซึ่งจิตรก็ต้องเอามาแปลเป็นไทยให้เพื่อรัฐมนตรีท่านนั้นแสดงละคร ‘role play’ อีก ซึ่งจิตรวิพากษ์วิจารณ์การกระทำเช่นนี้ตรง ๆ ว่า

พูดง่าย ๆ ว่าอเมริกาต้องการจะให้ รมต. ไทย พูดสรรเสริญบุญคุณอย่างไรให้ประชาชนไทยฟัง ก็เขียนลงไป รมต.ไทย ต้องอ่านตามนั้น ทำท่าทีเหมือนตนเขียนมาอ่านเอง หรือเหมือนว่า ครม.ไทย ลงมติกันมาให้พูดเช่นนั้น…. เอกสารทำนองนี้มีอีกมาก แม้บริการข่าวสาร เช่น บทบรรยายภาพยนตร์ ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน ต้นบทก็เป็นภาษาอังกฤษส่งมาจากองค์การร่วมมือของอเมริกา ข้าพเจ้าเป็นผู้แปลออกมาเป็นภาษาไทย

บางครั้งแม้รัฐบาลไทยจะเขียนเอกสารบางชิ้นเป็นภาษาอังกฤษขึ้นเอง แต่อเมริกาก็มักจะให้มีการแปลตรวจทานเนื้อหาว่าตรงตามต้นฉบับหรือไม่ จากประสบการณ์เช่นนี้ ท้ายที่สุดจิตรก็เขียนสรุปบรรยากาศทางการเมืองไทยในเวลานั้นไว้ว่า ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกถึงการแทรกแซงและเป็นเจ้าใหญ่ของอเมริกาที่มีต่อไทย รู้สึกว่าอเมริกาไม่ไว้วางใจวงการรัฐบาลไทย ไม่ว่าอะไรก็ต้องขีดเส้นให้เดินทั้งสิ้น…. ไทยเป็นเมืองขึ้นของอเมริกาชัด ๆ

อ้างอิง :

[1] วิชัย นภารัศมี (บรรณาธิการ). ถึงร้อยดาวพราวพรายกระจายแสง : จากโยนบกถึงทีปกร (2496 – 2501). (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน) 2551.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า