‘ลัทธิคลั่งเสรีภาพ’ จุดเริ่มความตกต่ำของสังคม หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร

ทุกวันนี้หลายคนอาจรับรู้เข้าใจกันแต่เพียง “ด้านบวก” ของการปฏิวัติสยาม ในปี พ.ศ. 2475 หลายคนจำกันแต่เพียงว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรนั้น ทำให้สยามได้ชื่อว่าเป็น “ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย” และยังเป็นการการก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกขึ้นในประเทศอีกด้วย

ซึ่งถ้าพูดกันแบบตรงไปตรงมา คำว่า “ประชาธิปไตย” นี้ก็เป็นเพียงแต่ในนาม เพราะในความเป็นจริงนั้น ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 การปกครองของสยามก็ยังอยู่ในอำนาจของกลุ่มคนเพียงหยิบมือ หรือที่เราเรียกว่า “คณาธิปไตยโดยคณะราษฎร”

บทความนี้ ทีมงาน ฤๅ จึงอยากนำเสนอให้เห็นถึง “ด้านลบ” ของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่มีอยู่มากมายเช่นกัน

ด้วยความที่การปฏิวัติในครั้งนั้น เป็นการริเริ่มคิดก่อการโดยกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน โดยที่ประชาชนอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ยังไม่ได้มีความพร้อมในระบอบการปกครองใหม่นี้เลย ในขณะนั้นประชาชนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจแก่นแท้จริงๆ ของคำว่า “ประชาธิปไตย”

และเมื่อมีการ “เปิดเสรีภาพ” กันอย่างเต็มที่ “ลัทธิคลั่งเสรีภาพ” จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็นเงาตามตัว และส่งผลร้ายต่อบรรยากาศทางการเมืองในสมัยนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตัวอย่างของ “ลัทธิคลั่งเสรีภาพ” หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 คือเหตุการณ์ที่หม่อมเจ้า พูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2533) ซึ่งทรงบรรยายไว้ว่า …

“… ความเยาะเย้ยต่างๆ บางคนก็ยังรู้จัก บางคนก็ทำไม่รู้จัก คำว่า ‘เสรีภาพ’ ‘เสมอภาค’ ‘ภราดรภาพ’ เป็นสิ่งมึนเมาอย่างน่าสะพรึงกลัว ครั้งหนึ่ง หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นรถไฟนั่งมาทางกรุงเทพฯ มีชายคนหนึ่งเข้าไปนั่งข้างๆ แล้วเหยียดตีนไปที่หัวเข่า แล้วหัวเราะพูดว่า ‘ไหนลองเหยียดตีนใส่เจ้าดูสักที’ พี่ทองเติม (our cousin) ตอบว่า ‘ได้ แต่อย่าให้ถูกตัวฉันก็แล้วกัน ถ้าถูกจะจับตบหน้าให้ดู ว่าเขาปราบกิริยาชั่วกันอย่างไร’ ผู้ชายคนนั้นเลยทำหน้าเหยๆ แล้วลุกไป …

… ผลร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ การยุยงใส่ร้ายจนเป็นเหตุให้คนทุกคนต้องหมดความเชื่อซึ่งกันและกันหนักขึ้นทุกที แม้แต่ในครอบครัวก็แตกกันวุ่น นับตั้งแต่พวกเจ้าเองเป็นต้นไป เพราะพวกเจ้าใจต่ำที่เห็นแก่ตัวก็พลอยเห่อเสรีภาพไปกับเขา ด้วยเห็นว่าแบบแผนประเพณีเป็นเครื่องผูกมัดมิให้ทำอะไรได้ตามพอใจ … ลงท้ายแม้แต่ในบ้านเราเองก็พูดอะไรกันไม่ได้ ทุกแห่งเต็มไปด้วยจารบุรุษ และสตรีทุกชนชั้นบรรดาศักดิ์ พวกขุนนางเองในพวกแก่ๆ ที่ยังซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน ก็เกิดวิวาทกับลูกหลานสมัยใหม่ ถึงเตะ ถึงตัดไล่กันออกจากบ้านก็มี …”

จากบันทึกของหม่อมเจ้า พูนพิศมัย ดิศกุล เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความตกต่ำของสังคมในขณะนั้น จากพวก “ลัทธิคลั่งเสรีภาพ” ที่เริ่มวางตัวเกะกะระรานผู้อื่นด้วยความทะนงตัว อีกทั้งยังมีแต่ความแตกแยก ดูหมิ่นซึ่งกันและกันในหมู่ประชาชน ไม่เว้นแม้แต่พวกขุนนางทั้งหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นผลโดยตรงมาจากการไม่มีความรู้ หรือความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “เสรีภาพ” คืออะไร

และเมื่อบวกรวมเข้ากับบรรยากาศทางการเมืองหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎรบางคนได้ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็นพวก “ชิงชังเจ้านาย” ด้วยการปลดขุนนางหรือข้าราชการที่รักราชวงศ์ออกจากตำแหน่งเป็นว่าเล่น ซึ่งถือเป็นนโยบายปกติที่รัฐบาลคณะราษฎรกระทำมาตลอด สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นตัวเร่งเร้าให้คนบางคนซึ่งไม่รู้ที่จักที่ต่ำที่สูง ประพฤติตัวไม่เหมาะสมโดยอ้างคำว่า “เสรีภาพ” กระทั่งเกิดเหตุการณ์ดูหมิ่นเหยียมหยามขึ้น ดังเช่นที่หม่อมเจ้าทองเติมทรงพบเจอ

ซึ่งเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ กลายเป็นภาพที่ทาบทับกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบันอย่างไม่น่าเชื่อ เราจะเห็นว่า ทุกวันนี้ยังมีคนบางจำพวกที่คิดแต่จะพูดจะทำอะไรตามใจตัวเอง เอาคำว่า “เสรีภาพ” บังหน้า แล้วทำตัวระราน พูดจาด่าทอ ดูหมิ่นเหยียดหยามใส่ใครก็ตามที่เห็นต่าง โดยคิดว่าตัวเองคือคนส่วนใหญ่ของสังคม

จริงอยู่ที่เสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงมีโดยกำเนิด และไม่ได้ถูกจำกัดด้วยสิ่งใดๆ หากแต่เสรีภาพนั้นจะต้องอยู่ในกรอบ ในกฎเกณฑ์ โดยไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อน หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นในสังคม ซึ่งหากมีการรุกล้ำหรือการกระทบกระทั่งขึ้นแล้ว สิ่งที่กระทำอยู่นั้นย่อมไม่ใช่เสรีภาพอย่างแน่นอน … ดังนั้น เสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจจึงไม่มีอยู่จริง

ที่มา :

[1] หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (ฉบับรวมเล่ม), (กรุงเทพฯ : 2563) สำนักพิมพ์มติชน.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า