เว็บไซต์ลงชื่อรณรงค์ยกเลิก ม.112 กลับมาแล้ว มาดูว่าเขา ‘บิดเบือน’ อะไรกันบ้าง

เห็นว่าเว็บไซต์ลงชื่อรณรงค์ยกเลิก ม.112 ออนไลน์กลับมาแล้ว ใครอยากไปลงชื่อแสดงความเห็นต่าง คิดต่าง ย่อมทำได้ครับ แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ใช่มาบิดเบือนพูดคลุมเครือ หรือเอาความจริงมาพูดไม่หมด แล้วไปโทษว่ากฎหมายมีปัญหา

และล่าสุดมีการทำคลิปบิดเบือนเรื่อง ม.112 ของคนบางกลุ่ม ที่พยายามสร้างเรื่องเท็จว่า ม.112 เป็นกฎหมายที่มีปัญหาและสมควรต้องถูกยกเลิก ทั้งๆ ที่การรณรงค์เรียกร้องนั้นแฝงไว้ด้วยการปลุกปั่นเพื่อความรุนแรงและเต็มไปด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์

ครั้งนี้ทีมงาน ฤๅ จึงขอเคลียร์ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเป็นข้อๆ ในสิ่งที่คนพวกนี้พยายามบิดเบือนเกี่ยวกับ ม.112

✖ ใครจะแจ้งความก็ได้ เพราะ ม.112 อยู่ในหมวดความมั่นคง เป็นอาญาแผ่นดินไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายก็ฟ้องได้ แต่จากสถิติครึ่งหนึ่งก็เป็นประชาชนที่ฟ้อง (จากทั้งหมด 236 คดี ริเริ่มโดยประชาชน 108 คดี) หรือพูดง่ายๆ คือเป็นกฎหมายที่ใช้กลั่นแกล้งกันนั่นเอง

✔ รู้ไหมว่าการแจ้ง ม.112 ต้องมี “เอกสารหลักฐานที่ชัดเจน” ไม่ว่าจะเป็นคลิป รูปภาพ หรือข้อความ ซึ่งจะต้องรวบรวมไฟล์หรือปริ้นไปให้ครบ แล้วถ้าผู้ก่อเหตุเป็นแอคหลุมก็ต้องก๊อปปี้ลิงค์ของแอคนั้นส่งให้เจ้าหน้าที่หา IP address ด้วย ขั้นตอนเยอะแยะมากมายแบบนี้ คิดว่าใครบ้างจะมีเวลาเอามาแกล้งกันง่ายๆ

✖ คดีออนไลน์จะแจ้งความจากที่ไหนก็ได้ เพราะอำนวยความสะดวกให้ผู้ฟ้อง เป็นช่องว่าง ให้เกิดการกลั่นแกล้งทางกฎหมายที่ทำกันอย่างเป็นระบบ มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อฟ้อง 112 โดยเฉพาะ สังเกตุได้จากคดีที่กระจุกตัวอยู่ตามพื้นที่

✔ คดีออนไลน์แจ้งความจากที่ไหนก็ได้ เพราะต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ฟ้องอยู่แล้ว ไม่ใช่อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่กระทำผิด ส่วนเรื่องการกลั่นแกล้งทางกฎหมายก็เกี่ยวเนื่องจากข้อแรก คือ ถ้าไม่มีหลักฐานชัดเจน พูดง่ายๆ คือถ้าเขาไม่ได้ทำผิด แล้วไปแจ้งความเพื่อกลั่นแกล้งกัน ก็อาจโดนข้อหาแจ้งความเท็จได้

✖ ตามกฎหมายแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับคดีมา ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเอง เพราะต้องผ่านคณะกรรมการกลางที่มีตำรวจระดับสูงและผู้พิพากษาระดับสูงก่อน ทำให้ผู้ถูกแจ้งความทุกคนต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

✔ จริงๆ แล้วการตั้งคณะกรรมการระดับสูงขึ้นมาร่วมพิจารณา คือการยืนยันว่า การฟ้อง ม.112 ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ ต่างหาก ม.112 เป็นคดีสำคัญ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรอบคอบและรัดกุม เจ้าหน้าที่ต้องนำสำนวนส่งสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที และให้อัยการสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง

✖ คดี ม.112 เป็นคดีนโยบาย รัฐบาลจะสั่งให้หยุดใช้เมื่อไหร่ก็ได้ และที่ผ่านมาก็มีการบังคับใช้เป็นระลอก ตามช่วงเวลาที่สำคัญทางการเมือง

✔ ไม่มีหรอกครับคดีนโยบาย และรัฐบาลไม่สามารถสั่งให้ใช้หรืองดใช้ได้ เพราะ ม.112 เป็นมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญ แม้แต่ในหลวงก็สั่งไม่ได้ เพราะท่านก็ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และเช่นกัน ถ้ามีใครมาร้องเรียนโดยมีหลักฐานชัดเจนเพียงพอ แล้วภาครัฐไม่ดำเนินการ ก็จะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และมีความผิดตามมาตรา 157

✖ ม.112 เคยถูกแก้มาแล้วหลายครั้งกว่าจะเป็นหน้าตาแบบนี้ และครั้งสำคัญก็คือหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

✔ ถูกต้องที่ว่า ม.112 เคยถูกแก้มาแล้วหลายครั้ง และถูกแก้ไขโดยรัฐสภาในสมัยนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อำนาจจะอยู่ที่ “รัฐสภา” ไม่ใช่ “ในหลวง” และเหตุผลที่ต้องแก้ไข ม.112 กรณีหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ก็เพราะมีการยุยงปลุกปั่นด้วยความเท็จเพื่อใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ จนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรง

✖ มีคนถูกตั้งข้อหาเกิน 200 คนในเวลา 2 ปี ตั้งแต่รัฐบาลนำ ม.112 กลับมาใช้เมื่อปี 2563ส่งผลให้ตอนนี้คือช่วงเวลาที่มียอดคดี ม.112 สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

✔ รัฐบาลไม่เคยนำ ม.112 กลับมาบังคับใช้ เพราะ ม.112 ถูกบังคับใช้อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีคนทำผิด หรือมีคนทำผิดแต่ไม่มีคนไปแจ้ง ไม่เหมือนกับในปี 2563 ที่มีคนแจ้งความเยอะเพราะว่าเป็นปีที่มีคนทำผิด ละเมิดกฎหมาย ม.112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

✖ คดี ม.112 มีผู้ต้องหาเป็นเยาวชนอยู่ด้วย โดยเด็กอายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดี มีอายุแค่ 14 ปีเท่านั้น ขนาดเด็กยังโดนคดี ม.112 แบบนี้กฎหมายมีปัญหาแล้ว

✔ มีประเทศไหนบ้างที่ให้เยาวชนอยู่เหนือกฎหมาย การบอกว่าเด็กถูกดำเนินคดีเป็นเพราะกฎหมายมีปัญหา (ทั้งๆ ที่เด็กคนนั้นทำผิดกฎหมาย) แบบนี้มันคือตรรกะที่เพี้ยนมาก แล้วทำไมคนที่ชอบบอกว่าให้ในหลวงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งท่านก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว) กลับสนับสนุนให้เด็กที่ทำผิดอยู่เหนือกฎหมายเสียเองล่ะครับ

✖ ที่มาของคดีส่วนใหญ่จริงๆ แล้วมาจากการโพสต์ คอมเมนต์ หรือการแชร์ข้อความในโลกออนไลน์ พูดง่ายๆ คือ แค่โพสต์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ทำไมต้องผิด ม.112

✔ การทำผิดไม่ว่าจะ offline หรือ online ก็ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายอยู่ดี และสื่อออนไลน์ก็ถือว่าเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถกระจายให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นได้ ดังนั้น การอ้างว่าแค่โพสต์ออนไลน์ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย จึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น และอย่าลืมว่า 1 ข้อความ หรือ 1 แชร์ ก็คือ 1 กระทง แต่ละกระทงก็นับโทษต่อๆ กันไป ผิดกี่ครั้งก็คูณเข้าไป เหมือนคดี Forex 3D ที่ติดคุก 5,000 ปีนั่นแหละ มันเป็นหลักการทางกฎหมาย

✖ ไม่มี ม.112 ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆ คุ้มครองพระมหากษัตริย์ เช่น กฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป

✔ จริงๆ ม.112 ก็ใช้ฐานความผิดเหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปนี่แหละ แต่ที่ต้องมี ม.112 ก็เพื่อใช้คุ้มครองตำแหน่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สามารถลงมาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับประชาชนได้ และถ้าเปลี่ยนไปใช้กฎหมายหมิ่นฯ ทั่วไปแทน แล้วให้สำนักพระราชวังเป็นผู้แจ้งดำเนินคดีแต่ผู้เดียว คิดดูว่าจะยิ่งใช้เวลาฟ้องกันนานเท่าไหร่ คดีความก็จะยิ่งรกศาล ยิ่งกลายเป็นปัญหามากกว่าที่จะแก้ปัญหาเสียอีก

ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงของ ม.112 ที่อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้อง เราออกมาพูดคุยรณรงค์เรื่อง ม.112 กันได้ แต่ก็ควรต้องมีความรู้ด้วยครับ และที่สำคัญคือ เห็นต่างได้ คิดต่างได้ แต่จะเอามาใช้เป็นข้ออ้างทำผิดกฎหมายไม่ได้

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า