‘เบียว-คอมมิวนิสต์’ ความหลงใหลในโลกเพ้อฝัน กับแนวคิดที่ ‘ใช้งานจริงไม่ได้’

ปฏิเสธไม่ได้เลย ถึงความน่าหลงใหลของวรรณกรรมนิพนธ์ “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (Communist Manifesto) ของ คาร์ล มาร์กซ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนนับล้าน นับตั้งแต่ที่มันได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1848 และมีอิทธิพลต่อแนวคิดคอมมิวนิสต์คู่กับปรัชญานิพนธ์ “ว่าด้วยทุน” (Capital) ของเขาซึ่งถูกตีพิมพ์ตามหลังใน ค.ศ. 1867

และแม้ในปัจจุบัน ก็ยังมีนักวิชาการหลายคนหลงใหลในแนวคิดโบราณ ที่มีอายุเกือบจะ 200 ปี ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ผ่านมา จะพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า คอมมิวนิสต์คือแนวคิดที่ล้มเหลว และไม่เกิดผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด

แต่ก็ยังมีคนที่เป็น “เบียว-คอมมิวนิสต์” เชื่อในลัทธิคอมมิวนิสต์แบบโลกสวย โดยไม่มองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าตนเองนั้นรู้ดี ไม่ต่างอะไรกับพวก “จูนิเบียว” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เบียว” แค่ทำตัวดูมีหลักการ พูดวาทกรรมล้ำสมัยให้ตนเองนั้นดูดี

แนวคิดคอมมิวนิสต์ ความจริงแล้วมีมาก่อนคาร์ล มาร์กซ แต่แนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ (Markism) หยิบยกพัฒนาจากแนวคิดคอมมิวนิสต์ดั้งเดิมที่เป็นอุดมคติ และมุ่งเน้นการปฏิวัติด้วยการชวนเชื่อชนชั้นกรรมกรทั้งมวล

มาร์กซเชื่อในแนวคิดเสรีนิยม ซึ่งถือเป็นแนวคิดไม่พึงประสงค์ของรัฐบาลทั่วยุโรปในเวลานั้น เขาเชื่อในการต่อสู่ของชนชั้น และมีเจตจำนงที่จะปลดแอกการถูกกดขี่ของชนชั้นแรงงาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงชีวิตของมาร์กซ เขาเชื่อว่า ยังไม่ใช่เวลาที่ชนชั้นแรงงานจะลุกฮือขึ้นเป็นชนชั้นปกครอง แต่ควรจะช่วยเหลือกลุ่มนายทุนเพื่อการล้มล้างเจ้าศักดินาลงให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยโค่นล้มนายทุนลงในภายหลัง

ภายหลังการเรืองอำนาจของวลาดิเมียร์ เลนิน สหภาพโซเวียต ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1922 กลายเป็นรัฐที่นำเอาแนวคิดคอมมิวนิสต์มาใช้ปกครองประเทศเป็นครั้งแรก แนวคิดทั้งหมดของคาร์ล มาร์กซ ถูกปรับเปลี่ยนบิดเบือนไปทั้งหมด จากแนวคิดในการปกครองอย่างเสรีนิยม กลายเป็นอำนาจนิยมสุดโต่ง และกดขี่ทารุณประชาชนแทน

รัฐที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะในสหภาพโซเวียต, จีน, เกาหลีเหนือ และกัมพูชายุคเขมรแดง เต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหง, อดอยากยากจน, เผด็จการอำนาจนิยม และการสืบทอดอำนาจ

แนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ ผิดพลาดตรงไหน ?

โดยพื้นฐานแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมือง และมุมมองถึงรูปแบบทางเศรษฐกิจในสังคมของเขานั้น เขามองว่า การผลิตสินค้าร่วม (Common Goods) คือที่มาของความสุขของสังคม และจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการทางกฎหมายและการเมือง เพื่อควบคุมการผลิตและการจัดจำหน่าย

ซึ่งการควบคุมนี้เอง คือที่มาของการมีอำนาจ และอำนาจนิยมของรัฐคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา

นี่เป็นสาเหตุของการรวบอำนาจสู่ศูนย์กลาง (Power Centralization) สร้างชนชั้นสูงทางการเมือง (Political Elite) ขึ้นเพื่อควบคุมทุกสิ่งอย่างในประเทศ หรือ เผด็จการคอมมิวนิสต์ (Communist Dictatorship) นั่นเอง

ในโซเวียต ยุคที่ความเป็นเผด็จการไปถึงขีดสุด คือยุคสมัยของโจเซฟ สตาลิน ผู้รับสืบทอดอำนาจต่อมาจากเลนิน ใครก็ตามที่ทำให้ “สหายท่านผู้นำ” ไม่พอใจล้วนแต่ถูกลงโทษอย่างรุนแรง การทาสีเสาไฟฟ้าผิดรสนิยมของสหายท่านผู้นำ มีโทษถึงตาย

นั่นทำให้สตาลินต้องเป็นผู้คอยกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยของรัฐที่มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ 22 ล้านตารางกิโลเมตร และเขามักบ่นอยู่บ่อยครั้งถึงความจุกจิกนี้ แต่เพราะนโยบายการรวมศูนย์อำนาจของคอมมิวนิสต์ และความโหดร้ายของเขานั่นแหละ ที่ทำให้เขาต้องมาดูแลเรื่องจุกจิกเหล่านี้ด้วยตัวเอง

และความเป็นเผด็จการของสตาลิน ทำให้คนสนิทของเขา ไม่ยอมรายงานความผิดพลาดในการตัดสินใจเชิงนโยบายของเขา จนกลายเป็นปัญหารุนแรงในภายหลัง ทำให้ผู้คนหลายสิบล้านคน ต้องอดอยากจนตาย

จำนวนผู้เสียชีวิตจากนโยบายที่ผิดพลาดของเผด็จการคอมมิวนิสต์ มีมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่รัฐของโซเวียต ต่างวางแผนโดยขาดข้อมูลและเงื่อนไขของโครงสร้างพื้นฐาน แต่พยายามปกปิด สร้างภาพความสำเร็จต่อท่านผู้นำ ด้วยการกดขี่แรงงานและชาวนา ซึ่งนี่คือที่มาของความผิดพลาด และการทุจริตคอร์รัปชันในสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา

จีนในยุคเหมา เจ๋อตุง ก็มีสาเหตุของความล้มเหลวคล้าย ๆ กัน ซึ่งเป็นเหตุให้คนจีนนับ 30 ล้านคนต้องอดตาย แต่เหมากลับพยายามปกปิดความผิดพลาดนี้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ด้วยการสร้างการ “ปฏิวัติวัฒนธรรม” หลอกให้เยาวชนหลงเชื่อ เข้าร่วมในขบวนการเรดการ์ด ซึ่งเหตุการณ์นี้ สร้างความวุ่นวาย และเข่นฆ่าล้างผู้เห็นต่างอยู่ถึง 10 ปี

ผู้นำจีนในยุคหลัง ไม่ว่าจะเติ้ง เซียวผิง หรือแม้แต่ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน สี จิ้นผิง ต่างก็เคยเป็นเหยื่อความบ้าคลั่งของยุวชน “เบียว-คอมมิวนิสต์” หัวรุนแรง

การกดขี่ข่มเหงของเหมา ร้ายกาจเสียยิ่งกว่าสตาลิน เขาถึงกับพรากครอบครัวออกจากกัน ให้หญิงชายอยู่อาศัยแยกกัน และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ กลายเป็นความผิดที่ร้ายแรง เด็กถูกพรากจากอ้อมอกของพ่อแม่ และถูกเลี้ยงดูโดยรัฐ เพื่อสร้างกำลังการผลิตในอนาคต ที่รัฐจะสามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จได้ เสรีภาพในการแสดงออก ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย

จะเห็นได้ว่า แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ นั้น ถึงแม้ว่าจะดูสวยหรู ชวนให้ฝันถึงสังคมเสรี ที่ทุกคนเท่ากัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั้น ล้วนแต่เป็นเพียงความเพ้อฝัน ที่สร้างโดยอดีตนักเขียนไส้แห้งที่ไม่เคยลุกขึ้นมาปฏิวัติอะไรเลย และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการขอยืมเงินจากคนอื่นเท่านั้น

ฉากหลังที่ปรากฏเบื้องหลังความฝันเหล่านั้น คือนรกยิ่งกว่า โดยเผด็จการยิ่งกว่า ไร้ความเท่าเทียมยิ่งกว่า และสังคมโลกในปัจจุบันต่างก็ตระหนักรู้ถึงความล้มเหลวของแนวคิดคอมมิวนิสต์โบราณกันหมดแล้ว

แต่ก็แปลกที่มีนักวิชาการบางคนยัง “เบียว-คอมมิวนิสต์” ยังเรียกร้องให้มีการนำการปกครองที่ล้มเหลวนี้กลับมาบังคับใช้อยู่ดี แถมยังส่งต่อความคิดเบียว ๆ นี้ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ และเป็นเรื่องตลกย้อนแย้งมาก ที่เบียวบางคนเรียกมันว่า “สังคมนิยมประชาธิปไตย” ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว ไม่เหมือนกัน

ที่น่าตลกยิ่งกว่าคือ เบียว-คอมมิวนิสต์บางคน อาศัยแนวคิดคอมมิวนิสต์เพื่อเรียกร้องหาความสุขสบายส่วนตัว ภาพใต้วาทกรรม “รัฐสวัสดิการ” โดยที่ตนเองไม่ต้องทำอะไร ในขณะที่แนวคิดของคาร์ล มาร์กซนั้น คนทุกคนต้องทำงาน เพื่อแบ่งปันผลผลิตร่วมกันในสังคม

คนเหล่านี้มักคิดว่าตนเองหยั่งรู้โลก เข้าใจว่าตนเองรู้ดีทุกอย่างแล้ว แต่กลับรู้จักแนวคิดคอมมิวนิสต์แค่ฉาบฉวย บนความคิดแบบเบียวๆ คือคิดฝันเอาว่า เป็นระบอบที่สวยหรู เป็นสังคมแห่งอุดมคติ ที่มีแต่ความเท่าเทียม โดยที่ไม่เคยมองความจริงในประวัติศาสตร์เลยว่าแนวคิดนี้ “ใช้จริงไม่ได้” และสร้างความพังพินาศให้กับประเทศต่างๆ ไปแล้วตั้งมากมายเท่าไหร่

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า