‘งานเหมา’ การปฏิรูปที่ดินคนรวย ที่แก้ไขความอดอยากไม่ได้ และเสรีภาพที่เกินเหตุจนเป็นภัยแก่ตนเอง ของการรณรงค์ ‘ร้อยบุปผา’

รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปสังคมผ่านการปฏิรูปที่ดิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างต่อเนื่องและขยายเขตอิทธิพลไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่ง เหมา เจ๋อตง ได้แบ่งประชาชนในภาคเกษตรกรรมเป็น 5 ประเภทได้แก่

  1. เจ้าของที่ดิน คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่มิได้ทำการเกษตรด้วยตนเอง เพียงแต่อาศัยรายได้จากการให้เช่านาเป็นหลัก
  2. ชาวนารวย คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและลงมือทำการเกษตรบางส่วนและแบ่งให้ผู้อื่นเช่าบางส่วน
  3. ชาวนากลาง คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและลงมือทำงานเองทั้งหมด
  4. ชาวนายากจน คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่มีขนาดเล็กมากและไม่พอเลี้ยงชีพ จึงต้องออกไปรับจ้างทำนาให้กับเจ้าของที่ดินหรือชาวนารวยรายอื่น ๆ และ
  5. ชาวนารับจ้าง คือ ผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองและรับจ้างด้วยการขายแรงงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ

นอกจากนี้จากนโยบายการปฏิรูปที่ดินของจีนยังได้ส่งผลให้โครงสร้างทางชนชั้นทางสังคมในประเทศมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือมีการกำจัดอิทธิพลของนายทุน เจ้าของที่ดินและชาวนาผู้มั่งคั่ง รวมไปถึงการแต่งตั้งให้ชาวนามีตำแหน่งที่สูงทางสังคม และสามารถทำลายโครงสร้างทางสังคมดั้งเดิมลงได้ ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนให้ชาวนาที่ยากจนเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน การแต่งตั้งให้ชาวนาเป็นผู้พิพากษาในคดีความต่าง ๆ โดยเฉพาะคดีทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ยึดมา รวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สมาชิกพรรคที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม เพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในสังคม

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการปฏิรูปที่ดิน โดยการยึดที่ดินและทำการแจกจ่ายให้แก่ชาวนาแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนหรือภาวะอดอยากได้ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เริ่มขยายขอบเขตการยึดพื้นที่ให้กว้างออกไปเรื่อย ๆ

ในการขยายขอบเขตพื้นที่ครั้งนี้นอกจากจะยึดพื้นที่ของชาวนาที่ร่ำรวยแล้วยังรวมไปถึงทรัพย์สิน เครื่องมือในการทำการเพาะปลูกและที่ดินของชาวนาระดับกลางและที่ดินศาสนสถานของศาสนา ภายในประเทศ อาทิ วัดของลัทธิขงจื้อ วัดของลัทธิเต๋า วัดของศาสนาพุทธ เป็นต้น โดยกล่าวอ้างว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่แย่งมาจากคนจน ซึ่งหลังจากที่พรรคได้ทำการปฏิรูปที่ดินอย่างเข้มงวด ได้มีการจัดสรรที่ดิน เครื่องมือเกษตรกรรม สัตว์เลี้ยง เมล็ดพันธุ์พืช ทุนทรัพย์ และอื่น ๆ ในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กันเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีพและผลิตผลผลิตต่าง ๆ

เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าจุดประสงค์ของพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงแรกคือการทำให้ประชาชนในประเทศมีฐานะความเป็นอยู่ที่เท่าเทียมกัน ไม่มีคนรวย และไม่มีคนจน

อย่างไรก็ตามพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มผ่อนปรนนโยบายที่เน้นสร้างความเสมอภาคในสังคมลง เนื่องจากการสร้างความเสมอภาคทางสังคมนั้นพรรคมีความจำเป็นที่จะต้องยึดที่ดินจากชาวนาที่ร่ำรวยและชาวนาระดับกลางเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการต่อการจัดสรรให้ชาวนาผู้ยากจนอื่น ๆ ทั้งนี้ชาวนาที่ร่ำรวยและชาวนาระดับกลางบางส่วนที่ทางการได้ไปยึดพื้นที่มานั้นก็ไม่ได้เป็นผู้ที่ทำความผิดหรือเอาเปรียบสังคม รวมไปถึงการที่พรรคได้ลดการต่อต้านอภิสิทธิชนของคนในสังคม ลดการจับผิดสมาชิกพรรคในปัญหาเรื่องการทุจริต การทำตัวเป็นชนชั้นศักดินาหรือการนำอำนาจไปใช้ในทางที่ผิด แต่ในบางพื้นที่ก็ยังมีการปฏิรูปอย่างรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่พรรคคอมมิวนิสต์ยึดครองมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งผู้ที่มักจะโดนกวาดล้างคือผู้ที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด มีความประพฤติเสมือนชนชั้นศักดินา นายทุนหรือเจ้าของที่ดินถูกจำคุกหรือถูกประหาร

ทำให้โครงสร้างทางสังคมแบบใหม่ของจีนเริ่มปรากฎตัวอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ชาวนาเริ่มมีบทบาทในสังคม บางส่วนกลายเป็นเจ้าของที่ดินตลอดไปจนถึงมีสิทธิในกิจการส่วนท้องถิ่น

ในส่วนของการรณรงค์ร้อยบุปผานั้น ได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1956 เป็นความพยายามของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ต้องการจะสร้างเสรีภาพให้แก่ประชาชนภายในประเทศ ซึ่งการเปิดให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดได้อย่างเสรีนั้นก็เปรียบเสมือนการปล่อยให้มวลดอกไม้หลากหลายร้อยชนิดได้บานสะพรั่งตามฤดูกาล โดยพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล รวมไปถึงให้เสรีภาพในการแสดงออกด้านงานศิลปะและวรรณกรรม เนื่องจากเหมา เจ๋อตง ต้องการที่จะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับต่าง ๆ นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดไปจนประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

อีกทั้ง เหมา เจ๋อตง ต้องการที่จะกำหนดรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมของประเทศขึ้นใหม่ โดยอาศัยศิลปะในการเผยแพร่ลัทธิสังคมนิยมไปพร้อม ๆ กัน แต่นักวิชาการรวมไปถึงนักศึกษาก็ยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมาเท่าใดนักเนื่องจากเกรงกลัวเจตนาแฝงของ เหมา เจ๋อตง แต่เมื่อรัฐบาลได้รณรงค์อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นทำให้ผู้คนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้นทำให้ เหมา เจ๋อตง เห็นว่าการส่งเสริมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นี้ไม่ก่อให้เกิดผลดีอีกทั้งยังเปรียบเสมือนบ่อนทำลายพรรค

เขาจึงใช้โอกาสตรงนี้ในการรณรรงค์โจมตีแนวคิดฝ่ายขวา โดย มีการตีพิมพ์บทความเรื่อง “การดำเนินการอันถูกต้องในการขจัดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชน” (On the Correct Handling of Contradictions among the People) ซึ่งผลจากการณรงค์โจมตีฝ่ายขวาดังกล่าวทำให้มีปัญญาชนและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายขวา 60,000 คน ผู้ที่ถูกกล่าวหาถูกลงโทษด้วยการจับกุมและถูกนำตัวไปใช้แรงงานในชนบทเพื่อปรับปรุงแนวความคิด มีบางส่วนที่เสียชีวิตจากการโดนทรมาน

เหตุการณ์การรณรงค์ร้อยบุปผาในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นอย่างมาก จากจุดประสงค์เดิมที่ต้องการจะเปิดเสรีภาพให้กับประชาชน แต่สุดท้ายกลับเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้กำจัดฝ่ายการเมืองตรงข้าม

อาจกล่าวได้ว่าสภาพสังคมในช่วงของ เหมา เจ๋อตง มีความเข้มงวดมากกว่าในช่วงของ เจียง ไคเชก อย่างไรก็ตาม ในการรณรงค์ครั้งนี้ก็ได้ส่งเสริมให้มีการสังเกตการณ์ว่าประชาชนตามพื้นที่ต่าง ๆ ประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้พรรคมีความใกล้ชิดกับประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทมากขึ้นและรัฐบาลจะได้นำมาแก้ไข ทั้งนี้การที่รัฐได้รู้ความต้องการของประชาชนก็เป็นพื้นฐานในการสร้างนโยบายของพรรคและรัฐบาลต่อไป ซึ่งจากเหตุการณ์ในช่วงเวลานี้ทำให้รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของประชาชนในชนบทมากยิ่งขึ้น โดยต้องการที่จะกำจัดความไม่รู้หนังสือออกไป ปรับปรุงระบบการศึกษาให้มีความเท่าเทียมกับในเขตเมือง และนำทรัพยากรบุคคลภายในประเทศมาเป็นกำลังสำคัญในการภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ที่มา :

[1] สิทธิพล เครือรัฐติกาล, “หลิวเส้าฉี: การต่อสู้สองแนวทางและการปฏิวัติวัฒนธรรม,”
[2] จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, ประวัติศาสตร์บทบาทของจีนต่อกิจการโลก, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามค าแหง, 2525), ภายใต้ “ระยะแห่งความปั่นป่วนทางการเมืองและเศรษฐกิจ (ค.ศ. 1953-1963)”
[3] ศรุตม์ เพชรสกุลวงศ์, การปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพในสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ.1966-1969, 45-46

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า