‘ถกเขมร’ ทัวร์บนแผ่นกระดาษผ่านเลนส์แว่นและปลายปากกาของ มรว.คึกฤทธิ์ กับคณะสยามรัฐ

ถกเขมร” เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยท่าน หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และโดยการร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิในหลาย ๆ ด้านที่โด่งดังในอดีต สามท่านได้แก่ คุณครู อบ ไชยวสุ คุณประยูร จรรยาวงศ์ คุณประหยัดศรี ซึ่งแต่ละท่านที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่มีความสามารถในด้าน การวาดภาพประกอบ ในด้านการเขียนบทความเชิงวิพากษ์สังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ

สำหรับหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้น หากเราเคยอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นนวนิยายนิยาย หรือ หนังสือเชิงประวัติศาสตร์ อาจจะเห็นชื่อของท่านค่อนข้างจะบ่อย เนื่องจากท่านเป็นนักเขียน “ฝีปากเอก” ที่สร้างผลงานสิ่งพิมพ์ไว้มากมาย ที่โด่งดังจนทุกคนรู้จักก็เช่น งานนวนิยาย คือ สี่แผ่นดิน ( เราอาจจะคุ้นหู เรื่องแม่พลอย ฯลฯ ) ที่ภายหลังได้ถูกนำไปทำเป็นละครทีวี ละครโทรทัศน์ จนเป็นที่รู้จัก และยังรวมทั้งงานเกี่ยวกับวรรณกรรมสามก๊ก เช่น โจโฉ นายกตลอดกาล , เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น และงานประวัติศาสตร์เชิงสารคดีอีกหลาย ๆ งาน

นอกจากบทบาทการเป็นนักเขียนฝีปากเอกของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชแล้วนั้น ในทางการเมือง ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือ “พรรคก้าวหน้า” และต่อมาได้ยุบพรรคก้าวหน้า แล้วมาร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับ นาย ควง อภัยวงศ์ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช และคณะ ฯลฯ

ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงงานเขียนของหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยพุ่งเป้าไปที่หนังสือเรื่อง “ถกเขมร” เป็นหลัก

หนังสือ “ถกเขมร” เนื้อหาไม่เพียงแต่เป็นการเล่าเรื่อง กัมพูชา หรือเรียกอีกชื่อให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เขมร ในเชิงประวัติศาสตร์ แต่ยังเป็นการเล่าถึงประสบการณ์ในการท่องเที่ยวและสถานที่ภูมิประเทศเชิงสารคดี สิ่งที่น่าสนใจต่าง ๆ ที่ได้พบเจอในประเทศกัมพูชา ของท่าน มรว.คึกฤทธิ์ และผู้ร่วมเดินทางอีก ๓ ท่าน ท่านมรว.คึกฤทธิ์ ก็ได้เล่าผ่านหนังสือเล่มนี้ทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การอภิปรายตกลงกันว่าจะไปท่องเที่ยว ณ ที่แห่งใด ในหนังสือเล่มนี้ได้เล่าเรื่องอย่างกับกำลังอ่านวนิยายอยู่ ( ท่านเล่าได้เห็นภาพเหมือนกับผู้อ่านได้ไปสัมผัสกับสถานที่จริงโดยตนเองมาก ๆ )

หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ไป ได้ความรู้ใหม่ ๆ และแง่คิดในหลาย ๆ เรื่องที่ไม่เคยรู้ในหลาย ๆ ประเด็น เช่น

พอท่านคึกฤทธิ์ได้เดินทางถึงประเทศกัมพูชา ก็ได้เล่าถึงการมองประวัติศาสตร์การสร้างนครวัด – นครธม ซึ่งเป็นโบราณสถานของประเทศกัมพูชามาเนิ่นนาน อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ และ ประเทศพื้นบ้าน ฯลฯ ของคนแต่ละกลุ่ม เช่น คนไทยบางกลุ่ม ( “ไทย” ในบริบทของคำนี้ในหนังสือ หมายถึงประชากรในประเทศไทย ไม่ได้หมายถึงกลุ่มชาติพันธ์ “ไท” แต่อย่างใด ) เชื่อว่าถูกสร้างโดย “พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” ( อาจจะหมายถึง พระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒ ที่สร้างนครวัด ก็ได้ ) คนกัมพูชาที่อาศัยตามที่ราบสูง มีป่ารกรัง เชื่อว่า “พระอินทร์” เป็นผู้เนรมิตรขึ้น หรือหากชาวกัมพูชากลุ่มที่ไม่เชื่อเรื่องอภินิหาร ปาฏิหาริย์ พวกนี้ ก็จะคิดว่าโบราณสถานเหล่านี้เกิดขึ้นมาเอง ( ซึ่งความเชื่อในสมัยนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนมานานมากแล้ว ซึ่งที่ยกมาก็เพราะจะแสดงให้เห็นความคิดของกลุ่มคนยุคหนึ่ง ) และในหนังสือท่านก็ได้อธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของนครวัดแบบเบ็ดเตล็ด ไว้อย่างละเอียด

ในแง่ของภาษาศาสตร์ ท่านมรว.คึกฤทธิ์ ได้อธิบายไว้เป็นเกร็ดในหลายประเด็น เช่น ในเรื่องอักษรเขมรไม่มีวรรณยุกต์ เรื่องในกัมพูชาไม่มีนามสกุล แต่พอมีต่างชาติเข้ามา จึงมีความพยายามเอาชื่อบิดามาใช้แทน เพื่อให้ต่างชาติมองว่าเป็นนามสกุล

และประเด็นที่น่าสนใจในแง่ของภาษาศาสตร์ที่ได้กล่าวมาในหนังสือเล่มนี้คือเรื่องที่ ชาวกัมพูชา เชื่อว่าคำว่า “พรม” ( ไม่ใช่ “พรหม” ) แปลว่า ๔ พักตร์ ซึ่งใช้เรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ไหนก็ได้ที่มี ๔ พักตร์ ไม่จำเป็นที่จะเป็น พระพรหม หนึ่งในตีรมูรติ ความเชื่อของทางพรามหณ์ – ฮินดู อย่างเดียว ( ซึ่งข้อมูลนี้ก็ได้มาจากไกด์นำเที่ยวอีกที ไม่ใช่การอ้างลอย ๆ แต่อย่างใด )

อีกทั้ง ท่านมรว.คึกฤทธิ์ ได้อธิบายเรื่องของความเชื่อในการสร้างนครวัด – นครธม ว่าการสร้างนครวัดสร้างเพื่อคนตาย ส่วนนครธมสร้างเพื่อคนเป็น ที่มีความเชื่อว่า นครวัดสร้างเพื่อคนตายนั้น เป็นเพราะเนื่องจาก นครวัดถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมศพพระเจ้าสูรวรมันที่ ๒ ( สร้างก่อนจะสวรรคต ซึ่งท่านอธิบายว่า การสร้างปราสาทนั้นเริ่มต้นเมื่อเริ่มรัชกาล หากพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันสวรรคตแล้ว หากปราสาทยังไม่เสร็จ การสร้างก็หยุดชะงักทันที เพราะช่างต้องไปสร้างให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อไป ) ซึ่งท่านสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นประเพณีที่สร้างขึ้นเนื่องในความเชื่อในเรื่องของเทวราช ที่เชื่อกันว่า พระมหากษัตริย์ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน เป็นอีกอวตารของ พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ พอสวรรคตแล้วก็จะไปเป็นเทพบนสวรรค์ โดยความเชื่อนี้มีหลักฐานในภาพสลักผนังระเบียงเป็นรูป พระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒ มีการจารึกว่า “บรมวิษณุโลก” ในเรื่องนี้ไกด์นำเที่ยวของมรว.คึกฤทธิ์ยังได้พูดถึงว่ากองทัพที่ปรากฏในผนังระเบียงหลาย ๆ ทัพนั้นคือ กองทัพพันธมิตรหรือเคลือญาติของพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒

ท่านอธิบายไปถึงแม้แต่เรื่องของหินที่นำมาสร้างนครวัด ว่า สกัดมาจาก “เขาพนมกุเลน” ที่แปลว่าภูเขาลินจี่ หรือ ภูเขาคอแลน

นครธมนั้นท่านมรว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่าการสร้างแตกต่างจากนครวัด เพราะ บางส่วนเป็นการสลักรูปเนื้อเรื่องที่อยู่ในวรรณกรรมเรื่องมหาภารตะ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนครธม การทำอาหาร การละเล่น การทำสงคราม ของประชากรในสมัยนั้น ฯลฯ

ในนครธมมีสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น พระราชวัง เทพประนมที่มีทั้งยอดปรางค์หลายยอดปรางค์ ( ปรางค์ที่เราอาจคุ้นตา คือที่มีรูปเทพ ๔ พักตร์ตั้งอยู่บนยอดปรางค์ ) ท่านเล่าว่า นครธมตอนแรกอาจถูกสร้างขึ้นเป็นเทวสถาน แต่ภายหลังอาจมีพระมหากษัตริย์ที่นับถือเลื่อมใส เปลี่ยนแปลงนครธมเป็น พุทธสถาน แต่ต่อมาพราหมณ์ก็เข้ามามีอำนาจและมีร่องรอยความไม่ลงตัวของการนับถือศาสนา จนมีการทำลายรูปปั้นหรือ สัญลักษณ์ของทางศาสนาที่ตนกำลังขัดแย้งอยู่

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดหลาย ๆ อย่างที่น่าสนใจในหนังสือที่ท่านกล่าวถึง เช่นเรื่องความขัดแย้งของฝ่ายรัฐบาลฝรั่งเศส หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ “เขมรอิสระ” รวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวกัมพูชาในหลาย ๆ เรื่องอีกด้วย

สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอย้ำอีกรอบว่า การอ่านข้อมูลในแต่ละเรื่องควรมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูล อย่าเชื่อเสียทั้งหมด เนื่องจากบางเรื่องในสมัยนั้นถ้าเทียบกับสมัยนี้อาจมีหลาย ๆ อย่างที่เปลี่ยนไป การจะไปตัดสินว่า ข้อมูลนั้นผิด ข้อมูลนั้นถูก โดยไม่มองบริบททางสังคมของในยุคนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควร

และประวัติศาสตร์นั้นไม่มีผิดไม่มีถูก หากข้อสันนิษฐานการวิเคราะห์เหล่านั้นมีหลักฐานอ้างอิงรองรับ

อ้างอิง :

[1] ถกเขมร , หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช , สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2566
[2] wiki.kpi.ac.th , สถาบันพระปกเกล้า , คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ , สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2566

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า