รัชกาลที่ 9 ทรงพอพระราชหฤทัยกับการรัฐประหาร 2490 คำโกหกตัดแปะของ ‘นักวิชาการเลี้ยงแกะ’

การรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มคณะทหารนำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เป็นการก่อการเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งถือเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของปรีดี พนมยงค์ การรัฐประหารในครั้งนั้นนับเป็นการรัฐประหารครั้งแรกในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในขณะที่ประองค์ทรงประทับและศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ต่อมาได้มีการนำเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนั้นมาเป็นข้อมูลกล่าวเท็จในทางวิชาการว่า สาเหตุที่เกิดการยึดอำนาจรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เพราะในเวลานั้น (พ.ศ. 2489) รัฐบาลใกล้จะ “เจอตัว” ผู้ลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ 8 แล้ว คณะรัฐประหารจึงร่วมมือกับเหล่ารอยัลลิสต์ ชิงตัดหน้ารัฐประหารเสียก่อนที่รัฐบาลจะสืบสาวจนเจอตัวผู้กระทำผิด

แต่ในความเป็นจริง ตอนนั้นรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เองก็ได้วางแผนจะจับตัวนายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กหน้าห้องบรรทมอยู่รอมร่อแล้ว และต่อมา ทั้ง 2 คนนี้ก็ถูกศาลวินิจฉัยว่ามีความผิดจริงตามที่รัฐบาลหลวงธำรงฯ ตั้งข้อสงสัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ทุกคนทราบกันดี

สำหรับการกล่าวเท็จว่าการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 เป็นการทำเพื่อ “ปกปิด” ผู้กระทำผิดกรณีสวรรคตนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกโดยสุพจน์ ด่านตระกูล สาวกคนสำคัญของปรีดี พนมยงค์ ที่ขยันเขียนหนังสือหลายเล่มออกมา โดยเอาหลักฐานเอกสารต่างๆ มาจับแพะชนแกะมั่วไปหมด

และต่อมา ณัฐพล ใจจริง นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงด่างพร้อยจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ก็ได้นำความเท็จที่กุขึ้นโดยสุพจน์ ด่านตระกูล ไปขยายผลเป็น “วิทยานิพนธ์ลวงโลก” ฉบับฉาวโฉ่ที่เป็นข่าวครึกโครม

อย่างไรก็ดี หากเราศึกษาหนังสือหรือตำราวิชาการที่มีความเป็นกลางฉบับอื่นๆ อาทิ งานของสุชิน ตันติกุล (รัฐประหาร พ.ศ. 2490) หรือแม้กระทั่งงานของนักวิชาการไม่เอาเจ้าผู้ล่วงลับ ได้แก่ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (แผนชิงชาติไทย) ตลอดจนข้อเขียนของบรรดานายทหารผู้เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เช่น จอมพล ผิน ชุณหะวัน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ไปจนถึงข้อเขียนของ พลโท กาจ กาจสงคราม แกนนำคนสำคัญของคณะรัฐประหารเอง

ข้อมูลทั้งหมดต่างยืนยันตรงกันว่า สาเหตุที่แท้จริงของการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คือความไม่พอใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศต่อความเหลวแหลกของรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (รัฐบาลหุ่นเชิดของปรีดี) ส่วนประเด็นสวรรคตเป็นเพียงแค่ปัจจัยเสริม ที่เร่งเร้าให้การรัฐประหารสุกงอมยิ่งขึ้นเท่านั้น

แต่ในงานของณัฐพล ใจจริง กลับโจมตีในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าทรง “พอพระราชหฤทัย” กับการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ดังปรากฏในหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” ของ ณัฐพล ใจจริง หน้า 61 ว่า …

“… ไม่นานหลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงส่งพระราชหัตถเลขาถึงคณะรัฐประหาร โดยทรงแสดงความพอพระราชหฤทัยกับการรัฐประหารครั้งนี้ …”

แต่เมื่อทีมงาน ฤา ได้ทำการตรวจสอบถึงพระราชหัตถเลขา (จดหมาย) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ลงวันที่ 25 พฤจิกายน 2490 โดยการค้นจากเอกสาร พบว่า “ไม่มีต้นฉบับ” ของจดหมายฉบับดังกล่าวปรากฏอยู่ที่หอจดหมายแห่งใดเลยทั้งในและนอกประเทศ

จากหลักฐานต่างๆ ที่พอจะประมวลได้นั้น ทีมงาน ฤา ฟันธงว่า จดหมายฉบับดังกล่าว “น่าจะมีจริง” หากแต่เป็นจดหมายส่วนพระองค์ (จดหมายส่วนตัว) ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีไปให้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้ที่คณะรัฐประหารมอบให้เป็น “หัวหน้าคณะรัฐประหาร”

แต่จอมพล ป. กลับนำจดหมายส่วนตัวฉบับนั้น ซึ่งควรจะถือเป็นเรื่องภายในระหว่างบุคคล ไปเผยแพร่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากในหลวงแต่อย่างใด และต่อมา วิชัย ประสังสิต ได้นำเนื้อความในจดหมายไปตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ “ปฏิวัติรัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2492

มีผู้วิเคราะห์กันว่า การที่จอมพล ป. นำจดหมายของในหลวงไปเผยแพร่ก็เพื่อที่จะ “โหนเจ้า” โดยการให้ประชาชนและบรรดากลุ่มผู้สนับสนุนปรีดีฯ ที่กำลังวางแผนโค่นล้มรัฐบาลคณะรัฐประหารในเวลานั้น ถอดใจเลิกต่อต้านรัฐบาลเสีย (นัยว่าพระมหากษัตริย์ได้เลือกข้างคณะรัฐประหารแล้ว)

จึงกล่าวได้ว่า บรรดางานวิชาการที่อ้างถึงการมีอยู่ของ “จดหมายฉบับนี้” ล้วนมีที่มาจากการอ้างงานของ วิชัย ประสังสิต แทบทั้งสิ้น ทั้งงานของสุชิน ตันติกุล (รัฐประหาร พ.ศ. 2490) สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (แผนชิงชาติไทย) กระทั่ง ณัฐพล ใจจริง (ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี)

อย่างไรก็ดี ในงานวิชาการทั้ง 3 ชิ้นนี้ งานของณัฐพล ใจจริง ดูเหมือนจะกล่าวเกินจริงที่สุดเรื่องจดหมายของในหลวง เพราะเมื่ออ่านเนื้อความในจดหมาย (ที่ตีพิมพ์ในหนังสือของ วิชัย ประสังสิต) แล้ว พบว่า ไม่ปรากฏข้อความใดเลยที่ระบุว่า “ทรงแสดงความพอพระราชหฤทัยกับการรัฐประหารครั้งนี้” โดยเนื้อความของจดหมายในหนังสือของ วิชัย ประสังสิต ระบุเพียงว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพอพระราชหฤทัย เมื่อได้ทราบว่า เหตุการณ์รัฐประหารครั้งนั้น ไม่ได้สร้างความสูญเสียต่อเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน”

โดยสรุปแล้ว จดหมายฉบับดังกล่าวมีจริงแน่นอน หากแต่เนื้อหาและความประสงค์ในเนื้อความของจดหมาย หาใช่เป็นไปในทางที่ ณัฐพล ใจจริง อ้างอิงในหนังสือของเขาแต่อย่างใด เห็นได้ชัดว่าณัฐพลฯ ใช้วิธียกแค่บางประโยคมา แล้วตั้งใจบิดเบือนหักเหความหมาย ให้กลายเป็นข้อมูลด้านลบ เพื่อใช้โจมตีกล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นวิธีการที่สกปรกและน่าอับอายที่สุดในแวดวงวิชาการ

อ้างอิง :

[1] ว.ช. ประสังสิต. ปฏิวัติรัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (พระนคร : 2492).
[2] สุชิน ตันติกุล. รัฐประหาร พ.ศ. 2490. (กรุงเทพ : 2557) สำนักพิมพ์มติชน.
[3] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย. (กรุงเทพ : 2550) สำนักพิมพ์ฟรีเพรส.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า