‘The King Never Smiles’ บิดเบือนหลักฐานอ้างอิง เพื่อใส่ความ ‘ธานินทร์ กรัยวิเชียร’

จากการวิเคราะห์หนังสือ The King Never Smiles ของ Paul Handley โดยทุ่นดำ-ทุ่นแดง ในบทความที่ผ่านมา ทำให้พบว่าหนังสือเล่มนี้มีการนำเสนอข้อมูลและใช้เอกสารอ้างอิงที่ผิดเพี้ยนอย่างมีนัยยะสำคัญ ที่ส่งผลต่อมุมมองใหญ่ในภาพกว้างที่เกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

อีกทั้งบางส่วนยังมี “สำนวน” ที่คล้ายคลึงกับผลงานของ ณัฐพล ใจจริง อย่างน่าประหลาด

ครั้งนี้ทีมงาน ฤๅ ได้วิเคราะห์หนังสือ The King Never Smiles เพิ่มเติม โดยการสอบทานเอกสารอ้างอิง พบว่า มีการกล่าวหา ใส่ร้ายนายธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตองคมนตรี อย่างชั่วร้าย โดย Handley ได้อ้างคำพูดของนายธานินทร์ฯ ในหนังสือ ทั้งๆ ที่ นายธานินทร์ฯ ไม่เคยพูดประโยคเหล่านั้นเลย

ตัวอย่างของจุดผิดพลาดดังกล่าว อยู่ในบทที่ 14 Who’s the Enemy เราสู้ (กับใคร?) หน้า 258 Handley ระบุข้อความเกี่ยวกับมุมมองของประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำพูดของนายธานินทร์ฯ ไว้ว่า …

“เขา (ธานินทร์) อธิบายว่าระบอบพ่อปกครองลูกนำมาซึ่งความผาสุกแก่อาณาประชาราษฎร์ ตราบใดที่ราษฎรยังมีความจงรักภักดี เชื่อฟัง และสงบเรียบร้อย เขาฟันธงว่าราษฎรไทยไม่สามารถอยู่ได้หากปราศจากสถาบันพระมหากษัตริย์ หากไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว คอมมิวนิสต์จะทำให้แผ่นดินไทยจะเปรียบเสมือนการตกอยู่ในขุมนรกอเวจี”

“He explained the Chakri king as a patriarch who would deliver a good life to his subjects as long as they remained faithful, docile and orderly. As proof he cited mostly the great reforms of King Chulalongkorn. He argued ultimately that Thais cannot survive without the monarchy because the Thai race is not defined by genetic or geopolitical traits, but by ‘‘Thai-ness,’’ khwam ben thai, a concept that, Tanin wrote, cannot exist separate from the king. Without the monarchy, he implied, the land and its people would fall into some identity-less perdition of the type communists would bring.”

จากข้อความข้างต้น Handley ได้ใส่จุดอ้างอิงคำพูดของนายธานินทร์ฯ ว่ามาจากหนังสือ “พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย” แต่เมื่อเราติดตามไปชำระเอกสาร กลับพบว่า เอกสารอ้างอิงมีเนื้อหาที่แตกต่างออกไป !

สิ่งที่นายธานินทร์ฯ เขียนไว้ในหนังสือ พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย คือ …

“พระมหากษัตริย์ไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์จะยืนยงอยู่ได้สถาพรตลอดไปหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่มหาชน และพระราชปณิธานในอันที่จะสร้างความสงบร่มเย็นให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม เพียงแต่พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่มหาชนแต่เพียงส่วนเดียวย่อมไม่เพียงพอ ยังต้องประกอบด้วยความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะพระมหากษัตริย์ก็คือประมุขของประชาชน หากประชาชนไม่ประสงค์ประมุขแล้ว ประมุขก็ย่อมจะเป็นประมุขต่อไปไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่า พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ประชาชนเลือกขึ้นมา หากประชาชนไม่พอใจพระองค์ ก็ย่อมจะเชิญเสด็จพระองค์ออกจากพระราชบัลลังก์เอง

เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวความคิดเรื่องสมมุติเทพมิได้ฝังอยู่ในจิตใจของคนไทยมากเท่าความรู้สึกที่ว่า พระมหากษัตริย์คือพ่อเมืองที่ให้ความร่มเย็นแก่ประชาชน และสามารถร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน หากประชาชนมีความทุกข์พระองค์ก็ทรงมีความทุกข์ด้วย ดังนั้นลักษณะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย จึงมีลักษณะเป็นพ่อเมืองมากขึ้นทุกที”

และในหนังสือ The King Never Smiles บทดังกล่าว ยังระบุข้อความเพิ่มเติมว่า …

“สามสิบปีบนราชบัลลังก์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักฐานพิสูจน์ว่ารัฐสภา ระบบตัวแทนประชาชาที่มาจากการเลือกตั้ง แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไร้ค่าและไม่มีความจำเป็น การทำนุบำรุงอาณาประชาราษฎร์โดยสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น เป็นสิ่งที่สูงสุดที่ทำหน้าที่แทนกลไกเหล่านั้นอยู่แล้ว และนี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริง”

“Tanin went a step further, citing Bhumibol’s three decades on the throne as evidence that institutions like the parliament and voter-based representation, and even constitutional law, were unimportant. Participation of the masses in government was unnecessary, because the throne best advocated their welfare. That, Tanin said, was true democracy.”

แต่สิ่งที่นายธานินทร์ฯ เขียนไว้ในหนังสือ พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย คือ …

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงรับราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ต่อมา เราอาจกล่าวได้ว่า ในรัชกาลนี้เองที่พระมหากษัตริย์ ทรงมีบทบาทในการพัฒนา และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพราะทรงอยู่ในราชสมบัติถึง 30 ปีเศษแล้ว พระชนมายุก็ไม่มากนัก ทั้งเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตยไทยก็เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ ประกอบกับพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญนั้นมีเป็นจำนวนมาก และอเนกประการ

ด้วยเหตุนี้ ในการพิจารณาเรื่องพระมหากษัตริย์ไทย ในระบอบประชาธิปไตยต่อไปนี้ จะถือเอารัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงมีผลต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบนี้มากที่สุดเป็นเกณฑ์สำคัญ ซึ่งในบทนี้จะได้พิจารณาเรื่องฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตยก่อน”

จะเห็นได้ว่า ประเด็นที่ The King Never Smiles อ้างจากหนังสือของนายธานินทร์ฯ กับสิ่งที่นายธานินทร์ฯ พยายามจะอธิบาย เป็นคนละเรื่องกัน !

และเป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้เอกสารชั้นต้นอ้างอิงการเขียนงานของ Handley นั้น แม้จะกล่าวอ้างถึงหนังสือ “พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย” ของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร อย่างชัดเจน แต่กลับไม่ได้ระบุเลขหน้าเอาไว้

เมื่อทีมงาน ฤา ได้ย้อนกลับไปสอบทานเนื้อหาในหนังสือของนายธานินทร์ฯ ทั้งเล่มแล้ว ปรากฏว่า ไม่พบเนื้อหาตามที่ Handley เขียนเอาไว้ใน The King Never Smiles เลย และเนื้อหาในส่วนที่ทีมงาน ฤา หยิบยกมาจากหนังสือของนายธานินทร์ฯ นั้น ก็เป็นเพียงเนื้อหาที่ “พอจะเข้าเค้า” กับเนื้อหาที่ Handley กล่าวอ้างเท่านั้น

เนื้อหาของ Handley (ที่อ้างธานินทร์ กรัยวิเชียร) ที่ว่า “ราษฎรไทยไม่สามารถอยู่ได้หากปราศจากสถาบันพระมหากษัตริย์

กับเนื้อหาที่ธานินทร์ กรัยวิเชียร เขียนไว้ในหนังสือ พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย ว่า “พระมหากษัตริย์ไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์จะยืนยงอยู่ได้สถาพรตลอดไปหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่มหาชน

และเนื้อหาของ Handley ที่ว่า “30 ปีบนราชบัลลังก์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักฐานพิสูจน์ว่ารัฐสภา ระบบตัวแทนประชาชาที่มาจากการเลือกตั้ง แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไร้ค่าและไม่มีความจำเป็น

กับเนื้อหาที่ธานินทร์ กรัยวิเชียร เขียนไว้ว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอยู่ในราชสมบัติมา 30 ปีแล้ว และทรงมีบทบาทในการพัฒนาและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นคนละความหมายกัน และส่งผลต่อความรับรู้ในบทบาทของพระมหากษัตริย์กับสถานการณ์ความเป็นไปทางการเมืองของไทย ที่แตกต่างกันอย่างชนิดที่เรียกได้ว่า “ผิดความหมาย”

ทีมงาน ฤา ยังพบอีกด้วยว่า การใส่เอกสารอ้างอิงจุดนี้ของ Handley คือความเห็น (Opinion) ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่นายธานินทร์ฯ กล่าว (fact) ความเห็นที่ว่านี้ มาจาก Roger Kershaw, “Modernizing the Thai Monarchy? Theory and Practice of Two Intellectuals Turned Prime Minister,” from the Thai-European Seminar on Social Change in Con temporary Thailand, May 28–30, 1980, University of Amsterdam

การนำเสนองานเขียนในลักษณะเอาความเห็นจากงานสัมมนาของบุคคลหนึ่ง มาระบุชี้ชัดว่า ธานินทร์ กรัยวิเชียร กล่าวเอาไว้/ฟันธงเอาไว้ แบบนั้นแบบนี้ คือการเอาความเห็น (Opinion) มาปะปนกับข้อเท็จจริง (Fact) เพื่อชี้นำต่อไปว่า สิ่งที่นำเสนอนี้คือความจริง (Truth) ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากการบิดเบือนข้อมูล

วิธีการแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่เลวร้ายในทางวิชาการประวัติศาสตร์อย่างที่สุด

และเป็นวิธีที่ Handley นำมาใช้เขียนหนังสือ The King Never Smiles เพื่อชี้นำและสร้างมุมมองการรับรู้และความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้กับคนไทย

จากการสอบทานเอกสารต่างๆ ทีมงาน ฤา ยังได้พบจุดอ้างอิงที่บกพร่องในหนังสือเล่มนี้อีกมาก และแน่นอนว่าเราคงจะปล่อยผ่านไปไม่ได้ … ขอทุกท่านโปรดติดตาม

ที่มา :

[1] Paul M. Handley, The King Never Smiles
[2] ธานินทร์ กรัยวิเชียร, “พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย”

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า