Educate อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

จากบทความ “การยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิง ด้วยการกำหนดคำนำหน้านาม ของรัชกาลที่ 10” เกี่ยวกับการออกประกาศยกเลิกข้อกำหนดเรื่องการสมรสสำหรับการใช้คำนำหน้านามของสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละลำดับชั้น โดยให้ใช้ “ท่านผู้หญิง” และ “คุณหญิง” เหมือนๆ กัน

ต่อมาอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ออกมาโต้แย้งว่า ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ซึ่งการออกมากล่าวเช่นนี้ของอาจารย์สมศักดิ์ฯ ถือได้ว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ “บิดเบือน” เพราะรัฐธรรมนูญมีข้อยกเว้นไว้สำหรับพระราชอำนาจโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่จำเป็นต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ เขียนไว้ตรงกันคือ บรรดากฎหมายต่างๆ รวมถึงพระราชหัตถเลขาและพระบรมราชโองการ “ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน” ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

แต่ว่า ประกาศหรือพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นพระราชอำนาจโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ และไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น พระราชอำนาจการพระราชทานอิสริยยศหรือพระราชทานเครื่องราชย์ พวกนี้เป็นพระราชอำนาจที่รัฐธรรมนูญรับรองว่าเป็น “พระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัย” ดังนั้นจะมีผู้รับสนองหรือไม่ก็ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการแบ่งส่วนราชการในพระองค์ แยกเด็ดขาดกับราชการแผ่นดิน ดังนั้นการกระทำการในราชการในพระองค์จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับสนอง คือจะมีหรือไม่มีก็ได้

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 182 ระบุว่า

“บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขาและพระบรมราชโองการ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้”

จากบทบัญญัติข้างต้น สิ่งที่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองจึงได้แก่ บรรดากฎหมายต่างๆ ที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา รวมไปถึงพระราชหัตถเลขา และ พระบรมราชโองการ อันเป็นคำสั่งของพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ให้อำนาจไว้ เช่น พระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เป็นต้น

แต่ถ้าเราดูบทบัญญัติในส่วนท้ายที่ว่า “เว้นแต่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้” นั่นคือ “ข้อยกเว้น” เกี่ยวกับผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งแยกเป็นมาตราอื่นๆ ดังนี้

มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์และพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

มาตรา 15 การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 175 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

จะเห็นได้ว่า การออก “ประกาศการใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ. 2564” จะอยู่ในข้อยกเว้นมาตรา 9 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ เป็นพระราชอำนาจโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการใช้อำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ หรือตุลากร

ดังนั้น การออกประกาศเปลี่ยนคำนำหน้านามฯ จึงเป็นประเด็นเกี่ยวกับฐานันดรศักดิ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เป็นพระราชอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติยกเว้นเอาไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และไม่ได้เป็นการผิดกฎหมายตามที่อาจารย์สมศักดิ์ฯ พยายามบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิดแต่อย่างใด

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า