CERN ยกการวิทยาศาสตร์ไทยเทียบเท่าระดับโลก ความสำเร็จจากการประสานความสัมพันธ์ข้ามทวีป ของ ‘กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ’

วิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ภารกิจในการส่งเสริมให้วิทยาศาสตร์สามารถมีบทบาทได้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากการเสด็จเยือนไปยังองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ CERN มาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 นับตั้งแต่การเสด็จเยือนครั้งแรกจนถึงปัจจุบันราว 20 ปี ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างไทย – CERN อย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในการพัฒนาวิทยาศาสตร์อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง

ในบทความนี้ ฤา จะพาท่านผู้อ่านไปติดตามเรื่องราวความสัมพันธ์ดังกล่าว และบทบาทของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อันมีส่วนสำคัญยิ่งในการประสานความสัมพันธ์ข้ามทวีปนี้ไว้ด้วยกัน

การเสด็จเยือน CERN ของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2000 [1] ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ CERN ในขณะนั้น ในการเสด็จเยือนครั้งแรกแม้จะเป็นการเยี่ยมชมเครื่องยิงอนุภาคที่ดูจะไม่มีอะไรมาก แต่การเยือนในครั้งนั้นได้เป็นจุดตั้งต้นของความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาและความร่วมมืออีกหลายครั้งในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้เมื่อ ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนครั้งที่สองของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในครั้งนี้พระองค์ได้แสดงปาฐกถาในเรื่องความจำเป็นของเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศกำลังพัฒนา

ต่อมาใน ค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นหมุดหมายที่สำคัญ ในปีนี้เป็นการเสด็จเยือน CERN ครั้งที่สี่ ซึ่งทรงมีรับสั่งกับ ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ว่าควรจะปรับปรุงการทำงานและเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับ CERN ที่เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ไว้กว่า 40 ประเทศโดยทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง จึงได้เกิดการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาคีสมาชิกทั้ง 5 หน่วยงาน เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่า ThaiREN

ความสัมพันธ์ยิ่งแนบแน่นยิ่งขึ้น เมื่อกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานของ CERN กับไทยสองครั้ง ทำให้ในที่สุดนักวิจัยจากไทยได้มีโอกาสร่วมมือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการค้นพบฮิกส์โบซอน ในวาระเดียวกันนี้ ศ.ดร. โจเซฟ อินแคนเดลลา และ ศ.ดร. อัลเบอร์ต เดอ ร็อก นักวิจัยของ CERN ได้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือ รวมทั้งให้ผู้สนใจทั่วไปได้ร่วมฟังและแสดงความคิดเห็นที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย

ความร่วมมือและความสำเร็จต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีจนไทยสามารถสร้างงานวิจัยที่ล้ำค่าขึ้นได้ เช่น การค้นหายาต้านวัณโรคชนิดใหม่ และการจำลองน้ำเค็มที่รุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งต้องใช้พลังในการคำนวณสูงโดยคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จยังได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากนักวิจัยไทยได้สั่งสงความรู้และประสบการณ์ต่างๆ มาจนพอสมควร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เปิด “ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ใต้ดินเพื่อการบำบัดมะเร็งโดยเฉพาะและยังได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยในต่างประเทศในการพัฒนากำลังคน รวมไปถึงวิจัยพัฒนาการบำบัดมะเร็งด้วยลำรังสีโปรตอน

ในที่สุด มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะที่เป็นฝ่ายประสานงานทุกฝ่ายในความร่วมมือกับ CERN ตั้งแต่ต้น ได้ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยขออนุมัติจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันคือ อว.) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีลงนามที่วังสระปทุม โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ CERN และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ลงนามเมื่อ ค.ศ. 2018 และยกระดับประเทศไทยให้อยู่ในระดับเดียวกับประเทศแคนาดา หรือเป็นกลุ่ม Non-member States with Co-Operation Agreements และใน ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบความสัมพันธ์ไทย – CERN ยี่สิบปี กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงได้ทรงให้มีการจัดงานฉลองและบรรยายพิเศษขึ้น

ประเทศไทยนับว่าได้รับความโชคดีอย่างยิ่งจากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งทรงได้นำเยาวชนไทย นักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยเข้าร่วมกับนานาชาติในการวิจัยกับ CERN ทำให้ไทยมิใช่เป็นเพียงผู้ไปรับประสบการณ์ แต่ยังเป็นผู้ร่วมสร้างประสบการณ์ความรู้ให้แก่นานาชาติด้วย ตัวอย่างสำคัญคือการร่วมพัฒนาหน่วยวัดอนุภาคของ CERN ทั้งด้านวัสดุและซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการประสานงานได้อย่างเฉิดฉาย และทำให้ประเทศไทยได้พัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างก้าวไกลมากกว่าเดิม ดังนั้นสิ่งที่ UNESCO เทิดพระเกียรติไว้ว่าพระองค์ทรงเป็น “เจ้าหญิงไอที” [1] จึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยแต่อย่างใด

อ้างอิง :

[1] บทความนี้สรุปความจาก ไพรัช ธัชยพงษ์, เล่าเรื่องอนุภาค: อะตอม ควอร์ก เซิร์น และพระมหากรุณาธิคุณ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565), หน้า 95-132.
[2] รายงานประจำปี 2558 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, หน้า 1.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า