ข้อคิด 12 ประการจากผู้นำที่ทั้งเดินเคียงไหล่และนั่งในใจประชาชน ‘ติโต’

ติโต” หรือ ยอซีป บรอซ ตีโต (Josip Broz Tito) คือผู้นำของยูโกสลาเวียในวันที่ยูโกสลาเวียนั้นแตกอยู่ในสภาวะหลุมดำด้วยความแตกต่างทางด้านเชื้อพันธุ์และภาษา กล่าวคือในขณะนั้นยูโกสลาเวียประกอบไปด้วย 6 ดินแดน 5 เชื้อชาติ 4 วัฒนธรรม 3 ศาสนา และอีก 2 ระบบตัวอักษร ความหลากหลายนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อมีความหลากหลายมากอาจสามารถนำไปสู่ความแตกต่างอย่างชัดเจนและทำให้ประเทศหนึ่งต้องแตกสลายได้ โจทย์เช่นนี้ที่เหมือนจะพายูโกสลาเวียแตกสลายลงไปนั้น ติโตได้เข้ามาเป็นผู้รับมือกับความท้าทายนี้และผนึกประเทศไว้ได้สำเร็จ จนแม้กระทั่งตะวันตกเองก็มีความชื่นชมต่อติโต โดยครั้งหนึ่งติโตได้ขึ้นพูดในที่ประชุมของ UN อีกด้วย

ติโตนั้นกลายเป็นกระแสชื่นชมอย่างมากอยู่ช่วงหนึ่งจนได้รับการเรียกว่าเป็น “The Man Who Was Too Tough for Stalin” หรือบุรุษที่สตาลินไม่อยากรับมือ เนื่องด้วยการมีความเป็นผู้นำสูง มีความเด็ดขาด และสร้างคอมมิวนิสต์ในแนวทางของตนซึ่งแตกต่างไปจากรัสเซียแต่กลับสามารถเป็นมิตรกับทุนนิยมได้มากกว่า [1] และด้วยตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์แล้วติโตสามารถดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างสมดุลที่ทำให้ยูโกสลาเวียสามารถมีเอกราชในการปกครองตนเองได้ [2] ซึ่งพิจารณาแล้วบริบทของยูโกสลาเวียนั้นจึงมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในบางประการ และน่าจะมอบบทเรียนให้แก่ผู้นำไทยได้ว่าควรจะทำอย่างไร มรดกของติโตนั้นจึงไม่ใช่ตกอยู่เพียงแค่ยูโกสลาเวีย แต่ยังตกอยู่กับผู้ที่สามารถถอดบทเรียนได้ด้วย

บทพระราชนิพนธ์ทรงแปล “ติโต” นั้นทรงแปลมาจากหนังสือ Tito ของ Phyllis Auty โดยให้ข้าราชบริพารอ่านเมื่อ พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และตีพิมพ์เป็นวงกว้างครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นช่วงหลังเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมาแล้ว 2 ปี [3] ดังนั้นเรื่อง “ติโต” นี้จึงน่าจะมีความหมายอะไรบางอย่างแฝงเร้นไว้อยู่ด้วย เมื่อพิจารณาแล้ว “ติโต” นั้นเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวประวัติ ดังนั้นเมื่อเป็นชีวประวัติก็จะเจาะเข้าไปที่การคิดและการกระทำของติโตเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว “ติโต” นี้น่าจะมีความหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพยายามบอกเราอยู่ 12 ประการ

ประการที่หนึ่ง คือ รักการศึกษา

ประเด็นนี้มีระบุว่าติโตเชื่อว่าการศึกษาอย่างไม่หยุดยั้งมีความสำคัญ โดยเริ่มจากที่เขาเป็นผู้เข้าเมืองไปซื้อหนังสือให้กรรมกร แล้วก็เก็บไว้ในห้องของตน เขาให้ยืมไปได้แบบห้องสมุด ยิ่งเมื่อเขากลายเป็นนักโทษการเมืองเขาก็ยิ่งเชื่อว่าการศึกษาจะนำความสำเร็จทางการเมืองมาได้ การจัดการศึกษาของปาร์ติซานซึ่งเป็นเสมือนกองกำลังของติโตก็ดำเนินตามแนวคิดนี้

ประการที่สอง มีภาวะผู้นำ

มีหลายส่วนในหนังสือที่แสดงความเป็นผู้นำของติโตอย่างชัดเจน เช่นการคาดการณ์ของติโตว่าเมื่อสงครามจบลงจะต้องมีผู้ที่มีความสามารถพิเศษที่จะรับภาระในการรวมพลังเข้ามาเป็นขบวนการอิสรภาพ และติโตจึงได้เริ่มดำเนินการขึ้น

ประการที่สาม ต่อสู้อย่างอดทน

เนื่องด้วยสภาวะสงครามทำให้ติโตต้องร่วมเป็นร่วมตายกับทหารของเขา โดยติโตเป็นผู้นำขบวนเดินทางไกล ซึ่งขบวนนี้มีความยาวกว่าสองไมล์และกินเวลากว่าร้อยวัน และต้องประสบความลำบากในหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น การตัดแขนขาที่ต้องทำด้วยเลื่อยธรรมดาและมีดโกน

ประการที่สี่ กล้าหาญ

ติโตคือผู้ที่ท้าทายสตาลิน เผด็จการของแท้ในยุคนั้นด้วยการดำเนินงานต่างๆ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการอนุมัติหรือความเห็นใดๆ ก่อน แม้ว่าการดำเนินการจะเสี่ยงแต่ติโตก็สามารถบรรลุงานได้ตามที่หวังและได้ผลที่คุ้มค่า

ประการที่ห้า รักอิสระ

ติโตเป็นคนที่ชอบพบปะผู้คนและเป็นคนที่มีความคิดที่กว้างขวางอย่างประหลาด และเมื่อทำการที่เกี่ยวกับการปฏิวัติเขาก็จะพยายามไม่ให้ใครมาคุมหัวของเขาแม้เขาจะต้องการความช่วยเหลือบ้างก็ตาม

ประการที่หก ไม่สร้างเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ส่วนตน

ติโตเป็นทั้งผู้นำทหารและการเมือง แต่เขาไม่เคยทำให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์เลยเพราะเขาเห็นว่าทั้งสองตำแหน่งมีเป้าหมายดียวกัน และระมัดระวังในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไม่ให้ตกไปอยู่ในมือใครอย่างมากด้วย

ประการที่เจ็ดไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ประการนี้เป็นวิธีการดำเนินงานของติโตเองที่จะไม่ผูกพันกับฝ่ายหนึ่งมากเกินไปโดยสมดุลความสัมพันธ์ที่จำเป็นเอาไว้

ประการที่แปด ให้ทุกคนมีส่วนร่วม

ประการที่แปดนี้มีข้อความที่บรรยายไว้อย่างดีว่า “ความสามารถพลิกแพลงของชาวยูโกสลาเวียนั้นมีความสำคัญมาก และทุกคนมีบทบาท ในยูโกสลาเวีย ผู้ที่ไม่เคยมีส่วนในงานของส่วนรวม ก็มามีบทบาทในการแพร่ข่าวและหาข่าว และดังนี้ทุกคนก็ได้มีส่วนในการดำเนินสงครามของฝ่ายปาร์ติซาน ข้อนี้มามีความสำคัญมากทางสังคมภายหลัง”

ประการที่เก้า รู้จักยืดหยุ่น

ติโตได้แสดงความคิดอย่างลึกซึ้งและเข้าใจง่ายเพื่อให้คนธรรมดาไม่ว่าเชื้อชาติใดได้ยอมรับแนวคิดคอมมิวนิสต์ของเขา และยังเข้าถึงจิตใจของตะวันตกที่คอมมิวนิสต์เข้าไม่ถึงอีกด้วย และเขายอมรับข้อตกลงที่อาจตัดสิทธิไปบ้าง แต่เขาก็ยังเห็นประโยชน์อย่างอื่นมากกว่าด้วย

ประการที่สิบ มีวินัยสูง

ข้อนี้เป็นการจัดกองทัพและการฝึกของติโตเองที่ทำให้กองทหารมีวินัยสูงมากซึ่งผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศนั้นต่างสนใจในวินัยและการปฏิบัติที่บริสุทธิ์เคร่งครัดของปาร์ติซานของติโตอย่างมาก

ประการที่สิบเอ็ด รับฟังผู้อื่น

การบริหารจัดการต่างๆ นั้นแม้ติโตจะเป็นผู้มีความเห็นที่สำคัญ แต่ในทางปฏิบัติเขามักจะฟังผู้อื่นและการตัดสินใจนั้นก็เป็นความเห็นของกลุ่มมากกว่าของเขาคนเดียว

ประการที่สิบสอง เป็นศูนย์รวมความหวังของคนในชาติ

ประการนี้ข้อความที่กล่าวได้อย่างดีที่สุดในหนังสือ คือ “ติโตสามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ในตัวควบคู่กับคุณสมบัติที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและภักดีได้ตลอดมา เขาสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นมีความเชื่อมั่นในเป้าหมายที่เขาเองเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้ง และพร้อมที่จะผลักดันตัวเองจนเกือบจะเกินกำลังมนุษย์ เขาหมายให้ทุกคนทำงานสุดกำลังวังชาจนจะขาดใจตายเหมือนดังที่ตนเองทำ และตอนสงครามทุกคนใต้บังคับบัญชาก็ได้ทำเช่นนั้น เขาได้เดินเป็นเดือนๆ พร้อมกับกองทัพปาร์ติซาน เขาได้ทนทุกข์ยากเหมือนกัน เขาทำงานทั้งกลางวันกลางคืนด้วยความเข้มแข็งทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งแสดงว่าเขามีกำลังกายและใจยอดเยี่ยม มีวินัยในตัวเอง และมีบุคลิกลักษณะแข็งแกร่ง นอกจากนี้ส่วนหนึ่งในนิสัยของเขาที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานรักใคร่มากก็คือความสามารถที่จะผ่อนคลายอารมณ์เครียดและความพอใจในความสุขธรรมดาของชีวิต”

จากบทเรียนทั้งสิบสองประการนี้ เมื่อพิจารณากับบริบททางการเมืองไทยเราจะพบว่าช่วง พ.ศ. 2519 – 2537 เป็นเวลา 18 ปี ไทยมีนายกรัฐมนตรี 9 คน (10 สมัย) มีคณะรัฐมนตรี 15 ชุด ในขณะที่นายกฯ เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกฯ ถึง 8 ปีกว่า นั่นหมายความว่าเฉลี่ยแล้วนายกฯ ท่านอื่นๆ มีเวลาดำรงตำแหน่งปีเศษๆ เท่านั้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยมีปัญหาในระดับผู้นำ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พระราชนิพนธ์ของพระองค์จึงอาจจะซ่อนความหมายไว้อีกอย่างว่า ขอให้ผู้นำของประเทศสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในประเทศให้ได้ และเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนแบบที่ติโตทำ และอีกแง่หนึ่ง อาจเป็นดังแบบที่พระองค์ทรงงานอย่างหนักและไม่เสด็จออกนอกประเทศอีกเลยนับตั้งแต่วัน “เสียงปืนแตก” ของคอมมิวนิสต์ในไทย

อ้างอิง :

[1] Ivo Banac, With Stalin against Tito: Cominformist Splits in Yugoslav Communism (New York: Cornell University Press, 1988).
[2] Robert Edward Niebuhr, The Search for a Cold War Legitimacy: Foreign Policy and Tito’s Yugoslavia (Boston: Brill, 2018).
[3] เรียบเรียงจาก เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์, “บทพระราชนิพนธ์แปลเรื่องติโต: พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวัฒนธรรมของพระเจ้าอยู่หัว,” ใน พระเจ้าอยู่หัวกับสารทางวัฬนธรรม (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556), หน้า 25-47.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า