พรากลูกอะบอริจินไปสร้างเป็น ‘ทาส’ วีรกรรมดำมืดของออสเตรเลีย ที่กี่คำขอโทษก็ชดเชยไม่ได้

เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่งรัฐบาลคนผิวขาวของออสเตรเลียเคยมีความคิด ‘ก้าวหน้า’ ถึงเพียงว่า ต้องการให้ชนชาวพื้นเมือง (อะบอริจิ้น) สามารถสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปได้โดยปราศจากการเจือปนของ ‘เลือดคนขาว’ อันเนื่องมาจากการที่มีพ่อที่เป็นคนยุโรปได้ให้กำเนิดบุตรร่วมกับแม่ชนพื้นเมือง พวกเขาจึงเห็นสมควรว่าเด็ก ๆ ลูกครึ่ง (หรือเลือดผสม) แม้นว่าจะมีเลือดชนพื้นเมืองอยู่ครึ่งหนึ่ง แต่พวกเขาจำต้องถูกเลี้ยงดูในสังคมที่แยกออกมาต่างหากจากครอบครัวฝ่ายแม่ที่เป็นชาวอะบอริจิ้น

และเพื่อให้เด็กลูกครึ่งได้รับการพัฒนาทักษะทั้งทางโลก (สังคม) และศาสนา (คริสต์) จึงจำเป็นที่จะต้องนำเด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบสังคมแบบผิวขาวอย่างเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ การเข้าสู่ระบบนี้ หมายถึงการตัดขาดจากฝ่ายแม่ที่เป็นสังคมดั้งเดิมของเผ่าเร่ร่อน (nomadic) แล้วจัดหาพ่อแม่บุญธรรมคนผิวขาวที่พูดภาษาอังกฤษเลี้ยงดูโดยที่ห้ามติดต่อหรือรับทราบว่า ‘ใคร’ คือแม่ของตน รวมทั้งการให้นับถือศาสนาคริสต์ และจัดหาหรือพัฒนาสัมมาอาชีพเช่นเดียวกับที่คนออสเตรเลียผิวขาวประกอบกัน

และที่น่าตกใจถึงที่สุดก็คือ นโยบายพลัดพรากเด็กลูกครึ่งชนพื้นเมืองออกจากอ้อมอกของพ่อแม่เหล่านี้ ถูกกระทำโดยอาศัยอำนาจของรัฐบาลและคณะมิชชันนารี นี่จึงเป็นหน้าที่ของคนขาวผู้ที่มีอารยะสูงกว่าที่ต้อง ‘ช่วยเหลือค้ำจุน’ ให้เด็กเหล่านี้สามารถปรับตัวและอาศัยร่วมกับคนผิวขาวได้ในสังคมลักษณะเดียวกัน นั่นคือ ‘สังคมแบบตะวันตกนับถือคริสต์’

ตามประวัติศาสตร์แล้วนโยบายนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1890 เป็นต้นมา จนเพิ่งมาสิ้นสุดในช่วง 1970นี่เอง (ไม่กี่สิบปีเท่านั้น) นโยบายในเริ่มแรกเป็นเรื่องของการให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใต้มาตรการการคุ้มครองชนพื้นเมือง ในการนำเอาเด็กที่เกิดจากการผสมสายเลือดระหว่างยุโรป-ชนพื้นเมืองออกมาจากเผ่าแล้วนำไปสงเคราะห์ ณ สถานเลี้ยงดูซึ่งโดยมากแล้วคือโบสถ์ของคณะมิชชันนารีจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘รุ่นที่ถูกพลัดพราก’ (The stolen generations)

ในห้วงระยะเวลากว่าหลายสิบปีของนโยบายนี้ ว่ากันว่ามีเด็กถูกพรากไปจากแม่ไม่น้อยกว่า 100,000 คน (จากจำนวนชาวอะบิริจิ้นทั้งหมดราว 300,000 คน) หมายความว่ามีเด็กชาวพื้นเมือง (ไม่ว่าจะลูกครึ่งหรือไม่) ถึง 1 ใน 3 ที่ต้องถูกพรากจากครอบครัวของเขา

แม้ตามกฎหมายจะระบุไว้ว่าการนำเด็กมาจากครอบครัวจำต้องได้รับการเห็นชอบจากคำพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่เห็นว่าเด็กคนนั้นอาจถูกครอบครัวเลี้ยงดูอย่างอนาถาหรือไม่แยแสใด ๆ เช่นนั้น ศาลจึงสั่งและให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ที่จะกระทำการนำตัวเด็กมาได้ แต่หลายเหตุการณ์ก็ระบุชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่บางคนได้กระทำการโดยปราศจากขั้นตอนที่ศาลได้สั่งให้กระทำ นั่นหมายความว่าเป็นการ ‘ขโมยลูกของเขา’ มาโดยผิดกฎหมายอย่างชัดเจน

ส่วนชะตากรรมของเด็ก ๆ ที่ถูกพรากมานั้นซ้ำร้ายกว่า เพราะเมือ่ถูกนำมาเลี้ยงดู ณ สถานที่ที่มิใช่คนในครอบครัวเป็นผู้อุปการะแล้ว หากเด็กคนนั้นถูกส่งตัวไปยังสถานที่ภายใต้การควบคุมของมิชชันนารีนอกจากการจำใจบังคับให้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์แล้ว เด็กเหล่านี้ยังถูกห้ามมิให้พูดภาษาถิ่นอีกด้วย และหากใครฝ่าฝืนก็จะได้รับการลงโทษจากโบสถ์ สิ่งที่พวกเขาต้องเรียนรู้คือการกินอยู่และใช้ชีวิตแบบชาวออสเตรเลียนผิวขาว ผู้หญิงจะถูกฝึกให้ชำนิชำนาญในงานบ้านโดยเฉพาะงานแม่บ้าน เพื่ออัดฉีดตลาดแรงงานคนใช้เพศหญิงในบ้านคนผิวขาวผู้มั่งมี ส่วนผู้ชายจะถูกฝึกให้มีทักษะในด้านแรงงานและการเกษตร เพื่อที่จะได้ทำการผลิตแก่ฟาร์มวัวและไร่พืชที่กำลังเฟื่องฟูในเวลานั้น กล่าวได้ว่านี่คือการ ‘กลืนกลายวัฒนธรรม’ของคนขาวอย่างแนบเนียนภายใต้ข้ออ้างที่ดูเลิศหรูว่าทำไปเพื่อปกป้องชนพื้นเมืองนั่นเอง

ยิ่งกว่านั้น เด็กหญิงชาวพื้นเมืองบางคนต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คุกคามสิทธิ์ในตัวเธออย่างมาก อาทิ การถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในขณะที่พวกเธอกำลังทำงานหรือในช่วงที่อาศัยกับครอบครัวอุปการะ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้พวกเธอไม่สามารรถทำอะไรได้เลยเว้นเสียแต่การจำยอมโดยไม่ปริปาก (เพราะมิฉะนั้นจะโดนลงโทษ)

ผลกระทบจากการเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมที่หดหู่เช่นนี้ ทำให้เด็กพื้นเมืองที่ถูกพลัดพรากมานี้ ต้องประสบกับปัญหาสุขภาพทางกายและทางจิต บางคนถึงกับต้องออกจากโรงเรียน วิตกกังวล หวาดระแวง จนกระทั่งตัดสินใจฆ่าตัวตาย และเด็กที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่นั้นก็เป็นพวกที่ขาดความอบอุ่น ทำให้เมื่อต้องมีครอบครัวและลูกพวกเขาไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้เต็มที่เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ที่อาศัยภายใต้ครอบครัวที่อบอุ่นมาก่อน

แม้ปัจจุบันนโยบายเหล่านี้จะถูกยกเลิกไปแล้วโดยเหตุผลทางด้านจริยธรรม และแม้รัฐบาลออสเตรเลียในยุคหลังจะ ‘รู้สึกผิด’ กับนโยบายที่เคยเกิดขึ้น หากแต่นักเคลื่อนไหวชาวอะบอริเจิ้นในออสเตรเลียปัจจุบันก็ไม่เคยหลงลืมความเลวร้ายที่พวกเขาและบรรพบุรุษพวกเขาเคยพบเจอ ด้วยเหตุนี้เรื่องของ ‘รุ่นที่ถูกพลัดพราก’ จึงได้รับการรำลึกทุก ๆ ปี เพื่อเล่าขานความโหดร้ายของคนขาวที่กระทำต่อคนพื้นเมืองด้วยข้ออ้างตรรกะวิบัติดังที่กล่าวมา

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า