เมื่อศิลปินใช้ ‘อคติ’ บิดเบือนข้อเท็จจริงผ่าน ‘ศิลปะ’ เพื่อสร้างอาวุธทางการเมืองปลุกระดมมวลชน

ในหลายครั้งที่เราเห็นภาพผู้ประท้วงแต่งกายด้วยเสื้อผ้า พร้อมอุปกรณ์ตกแต่งเพื่อการสื่อความหมายต่าง ๆ อาทิเช่น สาดสีแดงใส่ตามตัว เพื่อสื่อถึงความโชกเลือด ทนทุกข์ทรมานจากการถูกทำร้าย หรือบางครั้งอาจมีการจัดแสดงผลงานศิลปะเพื่อการสื่อสารสิ่งที่ผู้สร้างต้องการสู่สังคม

ผลงานศิลปะ จัดเป็น Soft Power รูปแบบหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้เสพงานศิลป์ ไม่ว่าจะในรูปแบบงานดนตรี, งานเขียน, ภาพวาด และงานประติมากรรมเป็นสื่อกลางเพื่อการสื่อสารข้อความ

งานศิลปะ เป็นวิธีการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกที่ลุ่มลึก แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะยืนอยู่บนพื้นฐานความรู้สึกที่ปราศจากหลักการและเหตุผล และหลายครั้งที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อการปลุกระดมมวลชน ซึ่งผู้เสพต้องไม่ลืมว่า งานศิลปะ ถูกสร้างขึ้นมาจากอารมณ์และความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งในหลายครั้งเป็นการแสดงอคติเสียมากกว่าข้อเท็จจริง

ตัวอย่างที่ชัดเจนถึงอคติของผู้สร้างงานศิลป์คือภาพ “การแต่งงานที่ไม่เท่าเทียม” (The unequal marriage) โดยศิลปินชาวรัสเซียนาม วาซิลี ปูเกียฟ (Василий  Пукирев; Vasily Pukirev) จิตรกรแนวศิลปะสัจนิยม (Realism) มีชีวิตในช่วง ค.ศ. 1832 – 1890 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัสเซียพยายามปฏิรูปประเทศปรับเปลี่ยนสังคมให้ทันความเปลี่ยนแปลงในยุโรปที่ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม

ในช่วงเวลานี้สังคมรัสเซียเกิดการยื้อแย่งอำนาจกันระหว่างกลุ่มชนชั้นศักดินา กับกลุ่มชนชั้นพ่อค้ากระฎุมพี (Bourgeoisie) มีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมกันอย่างกว้างขวางในหมู่ปัญญาชน สำหรับตัว วาซิลี ปูเกียฟ นั้นเขาเกิดในครอบครัวชาวนา แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียนในโรงเรียนจิตรกรรม, ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมแห่งมอสโคว (Московское училищеживописи, ваяния и зодчества; Moscow School of Painting, Sculpture and Architecture) จนได้กลายเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และการวาดภาพเหมือน

ภาพ “การแต่งงานที่ไม่เท่าเทียม” (
The unequal marriage) ของปูเกียฟ เป็นภาพวาดงานแต่งงานระหว่างเจ้าสาวที่ยังสาวและสวย กับเจ้าบ่าวที่เป็นขุนนางแก่ที่ทรงอำนาจ ซึ่งภาพวาดของปูเกียฟนี้ สื่อสารความอ่อนโยนและเปราะบาง ราวกับผู้ตกเป็นเหยื่อของระบบสังคมที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าสาวออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

ฝ่ายภาพเจ้าบ่าว เขาเหลือบมองหญิงสาวด้วยสายตาที่แสดงสถานะเหนือกว่า ดูเหมือนว่าการแต่งงานจะทำให้เขาได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกชิ้น  เหรียญตราที่ฝ่ายชายติดประดับ คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์วลาดิเมียร์ ซึ่งเป็นเหรียญเกียรติยศสำหรับข้าราชการพลเรือนและทหาร ซึ่งผู้เหรียญตรานี้มีแต่ชนชั้นขุนนางเท่านั้น

บุคคลอื่น ๆ ในภาพ โทนสี และองค์ประกอบต่าง ๆ ของภาพ สื่อสารถึงความคับแค้น และไม่เป็นธรรมในสังคมออกมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสตรีสูงวัยสองท่านปะปนอยู่ในฝูงชน ซึ่งมองมายังเจ้าบ่าวด้วยสายตาโกรธแค้น ทั้งสองล้วนสวมมงกุฎดอกไม้และใส่ชุดขาวเช่นเดียวกับเจ้าสาว ทำให้มีการตีความว่าหญิงชราทั้งสอง อาจเป็นอดีตภรรยาของเจ้าบ่าว ซึ่งอาจเสียชีวิตไปแล้วด้วยเหตุผลใดก็ตาม หรือหญิงชราอาจสื่อถึงชะตากรรมของเจ้าสาววัยเยาว์ ว่าต่อไปในอนาคต เธอคงพบกับชีวิตแต่งงานที่ไร้สุข

ที่น่าสนใจจนเป็นประเด็นคือ ด้านขวาสุดของภาพ ชายหนุ่มผมดำกำลังยืนกอดอกถูกสันนิษฐานว่าคือตัวศิลปินเอง ข้างกันกับเขามีบุรุษหนึ่งคนซึ่งกำลังจ้องมายังผู้ชมด้วยสายตาราวกับจะถามว่า
คุณรู้ใช่มั้ยว่าทั้งหมดนี้หมายถึงอะไร?” ซึ่งภาพของชายหนุ่มในภาพนี้ในฉบับจริง กับในฉบับร่างนั้นเป็นคนละคนกัน ในฉบับร่าง มีข้อความระบุชื่อของชายผู้นี้ว่าคือเซอร์เกย์ วาเรนสตอฟ

เซอร์เกย์ วาเรนสตอฟ เป็นเพื่อนสนิทของวาซิลี เขาเป็นพ่อค้าที่มีฐานะ เคยมีคนรักเก่าชื่อโซเฟียซึ่งมาจากตระกูลพ่อค้าที่ร่ำรวยด้วยเช่นกัน แต่ต่อมาโซเฟียเลือกที่จะหักอกวาเรนสตอฟไปแต่งงานกับชายวัยกลางคนที่อายุมากกว่าเธอถึง
13 ปี มีศักดิ์ฐานะมากกว่า และร่ำรวยมากกว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าโซเฟียถูกบังคับให้แต่งงาน หรือเป็นเธอเลือกที่จะปันใจไปเอง แต่คู่รักต่างวัยที่มีอายุห่างกันก็มีความเป็นไปได้แม้ในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ร็อด สจ๊วต นักร้องชื่อดังชาวอังกฤษที่มีคู่ครองที่อายุน้อยกว่าตัวเขาเองถึง 15 ปีอย่างเคลลี่ เอ็มเบิร์ก นางแบบชาวอเมริกัน

นอกจากนี้ ชีวิตสมรสของโซเฟียนั้นมิได้เลวร้าย แต่ประสบความสำเร็จในฐานะภรรยา แม้เธอกับสามีจะอายุต่างกัน แต่เข้ากันได้ดี มีลูกน่ารัก ฐานะครอบครัวมั่งคั่ง ในขณะที่วาเรนสตอสนั้น ในภายหลังก็พบรักครั้งใหม่ และแต่งงานกับคนรักใหม่ ซึ่งนี่เป็นไปได้ว่าเขามาขอร้องให้ปูเกียฟไม่วาดภาพของเขาในภาพนี้

นี่เป็นได้ว่าปูเกียฟได้รับแรงบันดาลใจจากการอกหักของวาเรนสตอฟเพื่อนรัก และแสดงความรู้สึกของเขาออกมาผ่านภาพวาดของเขา ซึ่งเป็นอคติส่วนบุคคล ถึงแม้ข้อเท็จจริงของเรื่องราวจะไม่ได้ถูกแสดงออกหลังภาพนี้ อีกทั้งวาเรนสตอฟเองก็แต่งงานใหม่ก่อนที่ภาพนี้จะเสร็จสมบูรณ์ แต่ภาพของปูเกียฟก็สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในสังคม เริ่มมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการบังคับซื้อขายลูกสาวราวกับเป็นสินค้า ศิลปินอีกมากวาดภาพการแต่งงานของหญิงสาววัยเยาว์กับเจ้าบ่าวที่ไม่สมกัน

แรงขับเคลื่อนให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่มีผลมาจากภาพการแต่งงานที่ไม่เท่าเทียมของปูเกียฟ เป็นผลมาจากความพยายามในการปฏิรูปสังคมของรัฐบาลราชวงศ์โรมานอฟ จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ซึ่งในท้ายที่สุดสังคมรัสเซียล้มเหลวในการปฏิรูปประนีประนอม จนกลายมาเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการล้มสถาบัน เปลี่ยนแปลงประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตนั่นเอง



ภายหลังสงครามเย็น ภายใต้แนวคิดโลกเสรี ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในหลายครั้ง และฝ่ายผู้ใช้ศิลปะในการขับเคลื่อนทางการเมืองได้สร้างชุดความคิด “ศิลปะคือสื่อสะท้อนสังคม” “ศิลปะต่อต้านเผด็จการ” เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้งานศิลปะเพื่อแสวงผลประโยชน์ทางการเมืองโจมตีฝ่ายตรงข้าม และบิดเบือนสังคม

จริงอยู่ ในยุคนาซีเยอรมณี พรรคนาซีเคยควบคุมงานศิลปะ ตีตรางานศิลป์ที่ไม่สนับสนุนแนวคิดชนชาตินิยมแบบนาซี หรือในยุคจอมพล ป พิบูลย์สงคราม แกนนำคณะราษฎร เคยมีความพยายามที่จะปิดกั้นศิลปวัฒนธรรมแบบไทยเดิม ส่งเสริมเฉพาะเพียงศิลปะที่ท่านผู้นำเห็นว่าดีงาม ดั่งที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” แต่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยของเราไม่ปรากฏเหตุการณ์ในลักษณะนี้เลย

มีเพียงการจัดการผู้รุกล้ำรุกล้ำสถานที่ เพื่อแสดงออกที่ไร้กาลเทศะไม่คำนึงถึงส่วนรวมเพียงเท่านั้น แต่หากแสดงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ทางการมิเคยลงมือขัดขวางเลย

ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกเสพงานศิลป์ แต่พวกเราทุกคนควรมีสติในการยั้งคิดพิจารณางานศิลป์เหล่านั้นด้วยเช่นกัน งานศิลป์ เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน แต่มิได้หมายความว่างานเหล่านั้นจะสะท้อนข้อเท็จจริง อีกทั้งหลายครั้งงานศิลป์กลับสะท้อนให้เห็นถึงอคติของศิลปิน และทัศนคติของตัวผู้สร้างเอง

ในกรณีล่าสุด คือความพยายามในการสนับสนุนกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่กระทำผิดกฎหมาย แต่พยายามทำลายมาตรฐานความยุติธรรมของประเทศโดยการใช้งานศิลป์ พวกเขาใช้สีแดงราดใส่ตัว กระทำราวกับว่าพวกเขาถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ได้รับความยุติธรรม ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเองนั่นแหละที่กระทำผิดกฎหมาย ทำลายความยุติธรรมของสังคมลงเสียเอง

หรือการนำอาหารสัตว์โปรยใส่พระเกี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย สร้างความสะเทือนใจแก่ชาวจุฬา ฯ ที่สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เขารักถูกเหยียดย่ำหยามยี การกระทำเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงทัศนคติและแนวคิดที่เป็นปัจเจกอย่างสุดโต่ง ไม่สนใจใครของผู้สร้างและผู้สนับสนุนด้วยเช่นกัน

ศิลปะ ก็เป็นเช่นเดียวกับสื่อ ที่หลายครั้งสะท้อนอคติของผู้คน ผู้เสพสื่อพึงพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนการตัดสินใจ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า