ตีแผ่คำบิดเบือนกรณีการสรรคตของ รัชกาลที่ 8 จับโกหกเบื้องหลังแอคเคาท์ ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’

“ทุ่นดำ-ทุ่นแดง” กับ การตรวจสอบการวิเคราะห์กรณีสวรรคตและการใช้หลักฐานอ้างอิงของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา : Facebook Post Chaiyan Chaiyaporn 17 เมษายน 2565

พวกเรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ในวันนี้จะมาพูดถึงกรณีที่เฟซบุ๊ก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ซึ่งไม่รู้ว่าข้อความในโพสต์นั้น เป็นของสมศักดิ์คิดและเขียนเองจริงหรือไม่ หรือเป็นการสวมรอยแอบอ้าง) ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อไม่กี่วันก่อน

โดยสมศักดิ์ ได้นำภาพในทวีตของยอน มาแชร์ล ซึ่งเป็นการทำโพลคำถามในประเด็นเรื่อง “เล็กยิงพี่ทำไม” (ร.9 ปลงพระชนม์ ร.8 ไปทำไม ?) โดยความเห็นส่วนมากเห็นว่า “ทำไปเพื่อเอาตำแหน่ง”

ทั้งนี้ สมศักดิ์ยังได้กล่าวว่า …

“ผมยังยืนยันว่าเกิดจากภูมิพลยิงด้วยอุบัติเหตุ (ผลการสำรวจของคุณยอนข้างล่างนี้ เป็นการสะท้อนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งที่ไม่มีข้อมูลรองรับ) แต่ทว่า หลังๆ ผมรู้สึกเรื่องมันสลับซ้อนขึ้น กล่าวคือ การยื่นปืนไปแตะหน้าผากนั้น อาจจะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง conscious กับ unconscious ของภูมิพล ในแง่ motive คือจะว่าเป็นการจงใจไม่ได้ แต่ในด้านลึกๆ ที่ unconscious นั้น มีส่วนรู้อยู่”

พร้อมกันนั้น สมศักดิ์ได้แนบลิงก์ไปสู่บทความของ แอนดรูว์ (Andrew MacGregor Marshall) ที่ได้พบคลิปเสียงที่เก็บใน Wheaton College Archives ซึ่งเป็นคลิปเสียงของ Kenneth Landon (อดีตมิชชันนารีอเมริกันที่เคยเดินทางเข้ามาในประเทศไทย)

ทั้งนี้ ในคลิปเสียง Hour 70, clip 3 เรื่อง “Kenneth on When the Lights Went Out ‘Prophetically’ at a Royal Dinner in Bangkok” แอนดรูว์ระบุไว้ในบทความของเขาว่า …

“แลนดอนได้บรรยายในตอนที่เขาได้ไปพระบรมมหาราชวังวันที่ 26 ธันวาคม 1945 เพื่อร่วมดื่มกับรัชกาลที่ 8, รัชกาลที่ 9 และสมเด็จย่า จากนั้นไฟที่วังก็ได้ดับลง รัชกาลที่ 9 ขณะนั้นได้หยิบไฟแช็คขึ้นมาและจุดขึ้นพร้อมพูดว่า ‘ดูสิ! ฉันจะเป็นกษัตริย์ที่ดีกว่าพี่แน่นอน’ จากนั้นก็ปิดไฟแช็คลง”

(Landon describes going to the Grand Palace on the evening of December 26, 1945, for drinks with King Ananda Mahidol, Prince Bhumibol Adulyadej, and their mother Sangwan. Suddenly the power failed and they were plunged into darkness. The 18-year-old Bhumibol illuminated his face with a lighter and said: “Look at me! I’d make a better king than my brother.” Then he snapped off the light, and it was pitch dark once again)

ซึ่งในประเด็นนี้ทั้งสมศักดิ์ (เมษายน 2565) และแอนดรูว์ ได้นำมาต่อเชื่อมโยงว่า “อีกไม่กี่เดือนถัดมาก็เกิดการสวรรคตขึ้น”

และดูจะเป็นทำนองว่ารัชกาลที่ 9 เป็นผู้ลั่นไกในวันนั้นโดยเป็นกึ่งอุบัติเหตุและกึ่งจงใจกระทำอยู่ลึกๆ (การผสมผสานกัน ระหว่าง conscious กับ unconscious ตามความเข้าใจของสมศักดิ์) ประเด็นดังกล่าวได้สร้างความตื่นเต้นให้กับบรรดาสาวกของสมศักดิ์อย่างคึกคัก

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ไม่ปักใจเชื่อเลย

นอกจากนี้ ทฤษฎี “การผสมผสานกันระหว่าง conscious กับ unconscious” กลับย้อนแย้งกับข้อเสนอที่สมศักดิ์เองเคยตรากตรำปล้ำเขียนบทความกรณีสวรรคต รวมถึงการบรรยายของเขามาตลอดเกือบ 20 ปี

และเพื่อเป็นการไขข้อข้องใจและค้นหาคำตอบ เราได้ตามไปถึงต้นทางของคลิปเสียงนี้ ซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 3 นาที (สำหรับสคริปต์ที่ถอดเทปออกมาและแปลเป็นไทย สามารถดูได้จากลิ้งค์อ้างอิงด้านล่าง) ทั้งนี้ ในคลิปเสียง Landon ได้เล่ารายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่า รัชกาลที่ 9 ได้นำไฟแช็คมาจุดใต้คางและพูดประโยคว่า “ดูสิ! ฉันจะเป็นกษัตริย์ที่ดีกว่าพี่ชายได้แน่นอน” จริง และหลังจากนั้น Landon ก็ได้กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น “A very cheerful young man” คือ “เป็นคนหนุ่มที่ร่าเริงยิ่ง”

หลังจากที่ได้ฟังคลิปเสียงและประมวลข้อมูลที่มีอยู่ในมือ เราจึงขอแยกประเด็นดังนี้

  1. ในคลิปเสียง แลนดอนเองมิได้แสดงให้เห็นถึงการชี้นำว่ารัชกาลที่ 9 เป็นผู้ลั่นไกแต่อย่างใด เพียงแต่เล่าเหตุการณ์ที่มีลักษณะ “quite memorable and prophetic” ก็เพราะว่าหลังจากนั้นเหตุการณ์สวรรคตได้เกิดขึ้น
  2. แลนดอนบรรยายไว้เองว่ารัชกาลที่ 9 นั้นทรงขี้เล่นและร่าเริงมาก และเมื่อพิจารณาเหตุการณ์ไฟฟ้าไม่เสถียรที่ขนาดในวังยังเกิดอาการติดๆ ดับๆ ย่อมสร้างความกระอักกระอ่วนให้แก่เจ้าของบ้าน รวมทั้งแขกผู้รับเชิญด้วย ดังนั้น นิสัยร่าเริงและมองโลกในแง่ดีของพระองค์คงถูกใช้มาเพื่อให้บรรยากาศดูราบรื่นขึ้น ดังเช่นที่งานเลี้ยงทั่วโลกเขาก็ทำกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามแผน

    ดังนั้น นี่จึงเป็นไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์อย่างชาญฉลาดของในหลวง ร.9 มากกว่าที่จะไปโยงกับเรื่องสวรรคต ที่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ การโยงเรื่องหยุมหยิมเช่นนี้กับกรณีสวรรคตได้นับว่าเป็นพฤติกรรม “มโนเก่ง” ของสมศักดิ์มากกว่า

  3. นอกจากนี้ รายละเอียดของคดีสวรรคตของทุกปาก ทุกพยาน และทุกเอกสารที่เป็นเอกสารชั้นต้น ระบุตรงกันว่า รัชกาลที่ 9 ทรงไม่ได้อยู่ที่ห้องบรรทมขณะที่เกิดเหตุการณ์ลั่นกระสุนขึ้น แต่สมศักดิ์ก็ยังจะยืนยันยัดเยียดให้ได้ว่า “ร.9 ทรงประทับอยู่ในห้องนอน ร.8” ผ่านการบรรยายผ่านภาพแผนผังวังซ้ำๆ ซากๆ

    ซึ่งพวกเราฟังมาหลายปีก็ได้แต่ “เลิกคิ้ว” เพราะฉากต่างๆ ที่สมศักดิ์บรรยายขึ้น ล้วนเป็นสถานการณ์สมมุติ ตามความเข้าใจของสมศักดิ์เองเพียงคนเดียว นอกจากนั้นยังมีลักษณะขัดแย้งกับรายงานของศาลกลางเมือง พ.ศ. 2489 รวมถึงคำพิพากษาของศาลทั้ง 3 ศาลด้วย (แน่นอน เราเชื่อศาลมากว่าสมศักดิ์ !)

    และการที่สมศักดิ์ใช้คำอย่าง “อาจจะ เป็นการผสมผสานกัน ระหว่าง conscious กับ unconscious ของภูมิพล ในแง่ motive คือจะว่าเป็นการจงใจไม่ได้ แต่ในด้านลึกๆ ที่ unconscious นั้น ย่อมมีส่วนรู้อยู่” พวกเราไม่แน่ใจนักว่าสมศักดิ์ผันตัวเป็นนักจิตวิทยาตั้งแต่เมื่อไร หรืออยู่ๆ อะไรได้ดลจิตดลใจให้พลิกทฤษฎีที่ตนเ คยเขียนลงบทความมาเป็นสิบๆ ปี เพียงเพราะฟังคลิปเสียงนี้เพียงคลิปเสียงเดียว !

  4. และถ้าสมศักดิ์เชื่ออย่างนั้น ก็ต้องอธิบายด้วยว่าจะเอาตำแหน่งไปเพื่ออะไร ?

ไม่น่าเชื่อว่า เพียงเพราะคลิปเสียงสัมภาษณ์ของ Landon เพียงคลิปเดียว จะทำให้สมศักดิ์ ผู้ได้รับการสถาปนาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญสวรรคต” ไขว้เขวไปจากทฤษฎีที่เขาพูดและเขียนมาเป็นสิบๆ ปีก่อนหน้านี้

แท้จริงแล้ว สมศักดิ์ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุกับสมองขึ้น เป็นผู้ที่ใช้หลักฐานและวิเคราะห์ได้อย่างแนบเนียน และยืนยันทฤษฎีว่าเป็น “อุบัติเหตุปืนลั่น” มาโดยตลอด น่าสงสัยว่าการที่วันนี้ (พ.ศ. 2565) สมศักดิ์ได้พลิกทฤษฎี “อุบัติเหตุปืนลั่น” อันทรงพลังในหมู่สาวกลง เพียงเพราะเชื่อว่า คลิปเสียงที่มีเพียงกระพี้ แต่ไม่มีแก่นสารสาระอะไรสักอย่างเดียวเป็น “หลักฐานใหม่”

เราจึงไม่แน่ใจว่าผู้ที่โพสต์เฟซบุ๊กของสมศักดิ์ในเวลานี้ เป็นตัวจริงหรือไม่

หรือเพียงแค่จุดประเด็นทางการเมืองเพื่อดิสเครดิตในหลวง ร.9 ให้กระแสต่อต้านสถาบันราชวงศ์ยังดำรงอยู่ไม่ขาดช่วง เมื่อใกล้จะถึงวันสวรรคตของในหลวง ร. 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน

เพราะกระแสม็อบที่ตกต่ำเท่านั้น !

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า