‘พระยาสุรพันธเสนี’ กับเส้นทางจากคุกนรก สู่เก้าอี้ในสภาฯ ผู้เสนอนิรโทษกรรมให้นักโทษการเมืองในยุคคณะราษฎร

ทุกวันนี้มักมีนักวิชาการบิดเบือนบางกลุ่ม ออกมาให้ข้อมูลว่าภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่คณะราษฎรสายพลเรือนอย่างปรีดี พนมยงค์ สามารถโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงได้ (ช่วงปี พ.ศ. 2481 – 2487) ปรีดีฯ ได้เริ่มมีแนวคิดที่จะ “ขอคืนดี” กับพวกนักโทษการเมืองที่ “นิยมเจ้า/รักเจ้า” (royalist) ซึ่งถูกจับกุมคุมขังและพิพากษาอย่างอยุติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา จนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อที่จะให้การเมืองในไทยมีความสมัครสมานมากขึ้น

จึงได้มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมยกโทษให้นักโทษเหล่านั้น โดยไม่ถือว่ามีความผิด และยังคืนยศรวมทั้งราชทินนามพระราชทานตามเดิมแก่นักโทษการเมืองเหล่านี้ด้วย

แต่ต่อมาพวกอดีตนักโทษการเมืองที่เป็นรอยัลลิสต์เหล่านี้ แทนที่จะ “สำนึก” ในหนี้บุญคุณ กลับหักหลังปรีดีฯ อย่างเลือดเย็น ด้วยการสนับสนุนการรัฐประหาร พ.ศ. 2490

ทั้งหมดนี้คือการพูดถึงนักการเมืองฝั่งนิยมเจ้าของนักวิชาการไร้คุณธรรมบางคน โดยที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถืออะไรทั้งสิ้น พวกเขาพยายามวาดภาพให้พวกนิยมเจ้าหรือรอยัลลิสต์เป็น “ตัวร้าย” ในสายธารประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่

อย่างไรก็ดี คำอธิบายของนักวิชาการเหล่านี้เป็นการจงใจพูดความจริงไม่หมด ทั้งยังเป็นการเชิดชูลัทธิบูชาบุคคลซึ่งในกรณีนี้คือ ปรีดี พนมยงค์ จนเกินจริง และที่สำคัญคือ เป็นการมองข้ามตัวแสดงสำคัญ ที่เป็น “ผู้ชงเรื่อง” พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเหล่านี้

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว “มันสมองสำคัญ” ในการเสนอนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองสมัยรัฐบาลคณะราษฎรเป็นต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 – 2481 (กบฏบวรเดช จนถึง กบฏพระยาทรงสุรเดช) ก็คือ พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ต่อมาถูกตัดสินจำคุกในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476

พระยาสุรพันธเสนี ได้เล่าผ่านหนังสือ “ฝันร้ายในชีวิตของข้าพเจ้า” ว่า หลังจากที่เขาโดนตัดสินจำคุกผ่านมาช่วงหนึ่ง รัฐบาลคณะราษฎรซึ่งตอนนั้นมีจอมพล ป. เป็นนายก ได้ตัดสินใจย้ายพวกนักโทษการเมืองตั้งแต่นักโทษกบฏบวรเดช (พ.ศ.2476) จนถึงกบฏพระยาทรงฯ (พ.ศ.2481) ไปยังเกาะนรกตะรุเตา ในจังหวัดสตูล ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ที่โหดร้ายทารุณและไร้มนุษยธรรมอย่างมาก ทำให้ท้ายที่สุด พระยาสุรพันธเสนีกับพรรคพวกจำนวนหนึ่งได้ตัดสินใจแหกคุกตะรุเตา แล้วหนีไปอยู่ในดินแดนมลายาของอังกฤษ จนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2

ช่วงที่ลี้ภัยอยู่ในดินแดนมลายานั้น พวกนักโทษแหกคุกตะรุเตาต้องมีความเป็นอยู่ที่แสนสาหัสมาก บางคนเคยมียศใหญ่โตในไทย แต่พอลี้ภัยแล้วต้องมาทำงานรับจ้างไปวันๆ เงินทองและอาหารบางครั้งก็ไม่พอกิน แต่พวกเขาก็อยู่รอดมาด้วยความช่วยเหลือของเครือข่ายรอยัลลิสต์ผู้ภักดีต่อราชวงศ์จักรี ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลเล็กๆ น้อยๆ กันมาตลอดระยะเวลาหลายปี

การช่วยเหลือนักโทษแหกคุกเหล่านี้ น่าสนใจว่ามีเจ้ามลายูท้องถิ่นในรัฐไทรบุรีที่ยังภักดีต่อราชวงศ์จักรี คอยสนับสนุนพวกเขา โดยเฉพาะในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการลี้ภัยในดินแดนเหล่านี้ด้วย

พระยาสุรพันธเสนีได้เล่าต่อในบันทึกว่า พอถึงช่วงปลายสงคราม ข่าวหนังสือพิมพ์ในสิงคโปร์ก็ลงว่ารัฐบาลไทยได้นิรโทษกรรมให้แก่นักโทษการเมือง พ.ศ. 2476 แล้ว อันหมายรวมถึงนักโทษที่ต้องโทษอยู่ในไทย และพวกที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศด้วย แต่สำหรับนักโทษในคดีการเมืองอื่นๆ เช่น กบฏนายสิบ พ.ศ. 2478 หรือกบฏพระยาทรงสุรเดช พ.ศ. 2481 ยังไม่มีการริเริ่มนิรโทษกรรมแต่อย่างใด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2488 นักโทษกบฏบวรเดช (ซึ่งรวมถึงตัวพระยาสุรพันธเสนี) ต่างได้รับการอภัยโทษ และได้รับอิสระในเรื่องคดีความ (คือรับโทษเต็มจำนวนมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.2476 – 2488) แต่นักโทษในคดีการเมืองอื่นๆ กลับยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

และเมื่อพระยาสุรพันธเสนีเดินทางมาถึงประเทศไทย เขาก็ตัดสินใจลงเล่นการเมืองในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2489 ด้วยการถือคติว่า “ถ้าไม่เล่นการเมือง การเมืองก็จะเล่นเรา” และด้วยกระแสของคนที่เบื่อหน่ายต่อรัฐบาลคณะราษฎรในขณะนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนต่างเทคะแนนเสียงมายังฝ่ายนิยมเจ้าอย่างล้นหลาม ทำให้พระยาสุรพันธเสนีอดีตนักโทษการเมืองที่ต้องลี้ภัยอยู่นอกประเทศถึง 6 ปี ได้รับตำแหน่งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ด้วยคะแนนมากถึง 52,600 คะแนน

จากความนิยมของประชาชนต่อฝ่ายนิยมเจ้า ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ทาบทามพระยาสุรพันธเสนีให้เข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่ง “รัฐมนตรีลอย” ด้วยตัวของเขาเอง

อย่างไรก็ตาม พระยาสุรพันธเสนี ยังไม่ได้ตัดสินใจในทันที แต่เมื่อเขาได้ปรึกษากับพระยาทรงอักษร อดีตนักโทษกบฏบวรเดชที่ได้รับการอภัยโทษเช่นกัน พระยาทรงอักษรก็ได้แนะนำไปว่า “ผมเห็นว่าคุณควรจะรับ … ถ้าเจ้าคุณเป็นรัฐมนตรี ก็มีหวังที่จะได้ช่วยพวกของเราอีก 200 คน ซึ่งกำลังตกทุกข์ได้ยากอยู่” โดย 200 คนนี้คือ นักโทษคดีการเมืองสมัยรัฐบาลคณะราษฎรที่เหลือ

และเมื่อพระยาสุรพันธเสนีได้เสนอไอเดียนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมดให้แก่ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็ได้รับคำตอบจากนายปรีดีฯ ว่า “ผมไม่ขัดข้อง”

ท้ายที่สุด กฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านสภาในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2489 นำมาสู่การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่เหลือ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกได้เต็มปากว่าเป็น “ผลงานชิ้นโบว์แดง” ของพระยาสุรพันธเสนีที่ทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ ทว่าผลงานครั้งนี้กลับถูกพวกนักวิชาการบางคนเอาไปบิดเบือนและเคลมว่าเป็นผลงานของปรีดี พนมยงค์ เพื่อใช้โจมตีนักการเมืองฝั่งนิยมเจ้าให้กลายเป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์

อ้างอิง :

[1] มนัส จรรยงค์. ฝันร้ายในชีวิตของข้าพเจ้า. (กรุงเทพ : 2521) สำนักพิมพ์การเวก.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า