ความผาสุกของชาวไทย ปณิธานของรัชกาลที่ 10 สืบสานจาก’พระมหาชนก’

จากเรื่องราวใน EP.1 ‘พระมหาชนก’ เรียงร้อยเรื่องราวความเพียร จากพ่อของแผ่นดิน สู่คนไทยทุกคน ซึ่งเป็นเกร็ดบางตอนของพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ที่แสดงให้เห็นถึงความเพียรในการว่ายน้ำไปจนถึงฝั่งแห่งมหาสมุทรของพระมหาชนก เรื่องราวในพระราชนิพนธ์สะท้อนให้เห็นถึงพระราชปณิธานของในหลวง ร.9 ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมายาวนานกว่า 50 ปี โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก เพื่อความผาสุกของประชาชน เปรียบเทียบเหมือนพระมหาชนกที่ว่ายน้ำอยู่กลางมหาสมุทร 7 วัน 7 คืน

ในพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก นอกจากจะรักษาโครงเรื่องเดิมซึ่งพูดถึงการบำเพ็ญวิริยะบารมีแล้ว ในหลวง ร.9 ยังได้ดัดแปลงเนื้อเรื่อง สอดแทรกการบำเพ็ญปัญญาบารมีไว้อีกด้วย นั่นคือตอนที่พระมหาชนกได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองมิถิลาแล้ว ครั้งหนึ่งได้เสด็จประพาสอุทยาน มีต้นมะม่วงอยู่สองต้น ต้นหนึ่งมีผลดก อีกต้นหนึ่งไม่มีผล เมื่อพระมหาชนกได้เสวยมะม่วงจากต้นที่ผลดก และทรงตรัสว่ามะม่วงมีรสชาติดี หลังจากนั้นผู้คนต่างก็แย่งกันกินผลมะม่วงจนกระทั่งลำต้นหักโค่น

เมื่อพระมหาชนกทรงทราบว่าต้นมะม่วงได้ถูกทำลายไปแล้ว จึงทรงพระราชดำริว่า ราชสมบัตินั้นก็เปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีผล แม้จะไม่ถูกทำลายก็ต้องคอยระแวดระวังรักษาอยู่ตลอด ทำให้เกิดความกังวลได้ พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นหน้าที่ของพระราชาที่จะทำให้สังคมอยู่รอดพ้นก่อน ด้วยผู้คนส่วนใหญ่ยังขาดปัญญา และเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้า เหมือนผู้ทำลายต้นมะม่วงเพียงเพราะต้องการผลมะม่วง ไม่คิดเก็บออมไว้กินในวันข้างหน้า เมื่อคิดได้เช่นนั้นแล้ว พระมหาชนกจึงให้ผู้รู้วิชามาทำนุบำรุงต้นมะม่วง ด้วยหลักวิชาการทางการเกษตร คิดวิธีรักษามะม่วงขึ้นมา 9 วิธี และตั้งสถานศึกษาชื่อ “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” เพื่อสร้างคนดีมีสติปัญญาให้แก่สังคม

ในตอนนี้แสดงให้เห็นถึง “การให้” ดังเช่นที่พระมหาชนกพระราชทานสมบัติ นั่นคือต้นมะม่วงเลิศรสให้แก่ประชาชน และต่อยอดสร้างองค์ความรู้ทางการเกษตร ด้วยการตั้งสถานศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้คนและสังคมต่อไปอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพระราชปณิธานของในหลวง ร.10 ในการสืบสาน ต่อยอด ด้วยการพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สังคมเช่นกัน จากที่ท่านได้พระราชทานที่ดินให้หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งทางการศึกษา การแพทย์ และงานราชการต่าง ๆ เป็น “การให้” เพื่อส่งเสริมประชาชน เมื่อประชาชนมีความรู้มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมก็จะพัฒนาก้าวหน้า

หลังจากทรงครองราชย์ได้เพียงไม่กี่เดือน ในต้นปี พ.ศ. 2560 ในหลวง ร.10 ได้มีพระบรมราชโองการให้สำนักงานพระคลังข้างที่ โอนหน้าที่การดูแลทรัพย์สินโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยทั้งหมด ให้โรงเรียนบริหารจัดการเอง และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้พระราชทานพระราชวโรกาส ให้ผู้แทนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เข้ารับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย

ไม่เพียงแต่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเท่านั้น ที่ได้รับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย ทั้งในกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสถานที่ราชการ สถานศึกษา และสาธารณะประโยชน์ ดังนี้

  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 72.70 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 92.30 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 65.70 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชวินิต
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชวินิต มัธยม
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 1,059 ไร่ 1 งาน 36.70 ตารางวา ในจังหวัดปทุมธานี และ เนื้อที่ 493 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ในจังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์ในทางราชการของกองทัพบก
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 185 ไร่ 1 งาน 85.20 ตารางวา ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร จังหวัดเพชรบุรี
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 275 ไร่ 3 งาน 57.20 ตารางวา ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายพระราม 6 (พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน) จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มเติมจากที่พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2560
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 173 ไร่ 40.80 ตารางวา ในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อประโยชน์ในทางราชการของมณฑลทหารบกที่ 15 พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มเติมจากที่ได้พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2560
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 25 ไร่ 84 ตารางวา บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อประโยชน์ทางราชการของจังหวัดเพชรบุรี
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 60 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นทั้งตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นทั้งตั้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

และก่อนหน้านี้ เมื่อปี พ.ศ. 2560 นอกจากการพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย ให้แก่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยแล้ว ยังมีหน่วยงานราชการอีกหลายหน่วยงาน ที่ได้รับพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย แต่ไม่มีการเผยแพร่ข่าวอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้แก่

  • โฉนดที่ดิน เนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.90 ตารางวา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร สำหรับใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารโครงการพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าของแผ่นดิน
  • โฉนดที่ดินวังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 1.5 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • โฉนดที่ดินวังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 9 ไร่ 26.5 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
  • โฉนดที่ดินวังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • โฉนดที่ดิน พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 21 ไร่ 1 งาน 48.50 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ของชาติและศิลปะจังหวัดเพชรบุรี
  • โฉนดที่ดิน ค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 584 ไร่ 2 งาน 99.5 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • โฉนดที่ดิน ค่ายพระราม 6 (พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 1,244 ไร่ 24.2 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และพิพิธภัณฑ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • โฉนดที่ดิน พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ 148 ไร่ 2 งาน 88.8 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกระทรวงมหาดไทย และพิพิธภัณฑ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • โฉนดที่ดิน คลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ 300 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่และสถานที่ทำงานขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

นอกจากนี้ ในหลวง ร.10 ยังได้พระราชทานที่ดินสนามม้านางเลิ้ง เพื่อสร้าง “อุทยานเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9” เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร และเพื่อให้ประชาชนได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 สวนสาธารณะแห่งนี้จึงถูกออกแบบให้มีพระบรมราชานุสาวรีย์ และระบบนิเวศน์ตามศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรและธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 อีกด้วย

ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ในหลวง ร.10 ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีก่อศิลาฤกษ์ แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นที่เคารพสักการะและน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย

ทั้งหมดนี้ คือพระราชปณิธานของในหลวง ร.10 ในการสืบสาน ต่อยอด พระราชทานที่ดินเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ สร้างเมืองสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาอันยั่งยืนที่จะเกิดแก่สังคมในวันข้างหน้า เปรียบได้กับสถานศึกษาที่ชื่อว่า “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ของพระมหาชนก ที่พระราชทานแก่ชาวมิถิลานครนั่นเอง

อ้างอิง :

[1] พระราชบัญญัติจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560
[2] พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561
[3] ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระฯ, พระมหาชนก. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2539
[4] ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระฯ, พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2542

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า