จาก ‘โครงการกำลังใจ’ สู่แนวทางการดูแลผู้ต้องขังหญิง ที่เป็นต้นแบบให้กับหลายประเทศทั่วโลก

ที่ผ่านมาหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับระบบราชทัณฑ์คือ การให้ความช่วยเหลือและดูแลสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้ต้องขัง โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิงและผู้กระทำผิดหญิง ซึ่งมีความต้องการเฉพาะด้านที่ต่างไปจากผู้ต้องขังชาย ทำให้การดูแลผู้ต้องขังหญิงในหลายประเทศ ยังขาดความละเอียดอ่อนด้านเพศสภาพ และบ่อยครั้งที่ผู้ต้องขังเหล่านั้นไม่ได้รับโอกาสในการกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ขาดโอกาสในการดำเนินชีวิต และมีแนวโน้มที่จะกลับไปทำผิดซ้ำซ้อนได้อีก

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จึงได้ทรงดำริให้จัดตั้ง “โครงการกำลังใจ” เพื่อให้ความช่วยเหลือ ดูแลด้านสุขภาพ และให้การสนับสนุนด้านจิตใจแก่ผู้ต้องขังหญิง ช่วยให้คนเหล่านี้รู้ว่ายังมีผู้ที่เต็มใจจะให้โอกาส และเอาใจช่วยให้สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้ เพื่อให้พวกเขากลับมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคม

เมื่อครั้งพระเจ้าหลานเธอฯ ยังทรงเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์ได้เสด็จไปเยี่ยมและพระราชทานสิ่งของแก่ผู้ต้องขังหญิง ที่ทัณฑสถานหญิงกลางในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2544 และทรงพบว่า มีผู้ต้องขังหญิงจำนวนมากที่เป็นแม่คน หลายคนมีเด็กเล็กอยู่ด้วย และผู้ต้องขังบางคนก็กำลังตั้งครรภ์ในระหว่างที่อยู่ในเรือนจำ

ประสบการณ์ดังกล่าว ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้พระองค์์ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางเหล่านี้

ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านกฎหมายอาญา จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล มลรัฐนิวยอร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2548 ก่อนที่จะเสด็จนิวัตประเทศไทย พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งเลขานุการเอก คณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นเวลา 1 ปีเต็ม ทรงรับผิดชอบงานในคณะกรรมการ 3 และคณะกรรมการ 6 ภายใต้สมัชชาสหประชาชาติ ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน อาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา

ซึ่งในปีนั้น ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (Eleventh United Nations Congress on Crime Prevention and Criminal Justice) จนเกิดเป็นข้อตกลงปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งจะต้องมีการนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาฯ สมัยที่่ 60 เพื่อให้้ได้้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระเจ้าหลานเธอฯ ในฐานะผู้้เจรจาร่างข้อมติของไทย ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวถูกรับรองให้้เป็น GA resolution 60/177 ประสบการณ์ของพระเจ้าหลานเธอฯ ในฐานะนักการทูตครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวพระดำริ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงให้ดีขึ้น โดยอาศัยกลไกของสหประชาชาติ

จากความสำเร็จของ “โครงการกำลังใจ” กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งโครงการ Enhancing Lives of Female Inmates (ELFI) ในนามประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เป็นข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง เมื่อปี พ.ศ. 2551 โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการระดับนานาชาติ ที่มุ่งต่อยอดความสำเร็จจากการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงภายในประเทศ ไปสู่มาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในระดับสากล โดยผ่านยุทธศาสตร์การทูตเชิงรุก จนกระทั่งเกิดการเจรจาและได้รับความร่วมมือทั้งจากกลุ่มนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานราชทัณฑ์ รวมทั้งผู้แทนประเทศต่าง ๆ ในเวทีสหประชาชาติ

ในที่สุดการจัดทำ “ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง” จึงประสบความสำเร็จ และได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 65 ในปี พ.ศ. 2553 โดยข้อกำหนดสหประชาชาติฉบับนี้มีชื่อย่อว่า “ข้อกำหนดกรุงเทพ” (Bangkok Rules) เนื่องมาจาก องค์การสหประชาชาติต้องการให้เกียรติประเทศไทยในฐานะเป็นผู้ริเริ่มผลักดัน จนข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (principle of non-discrimination) คือหลักการสำคัญของ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ทั้ง 70 ข้อ โดยจะเป็นการมุ่งให้ความช่วยเหลือ ดูแลด้านสุขภาพ และฟื้นฟูด้านจิตใจให้กับผู้ต้องขังหญิง เนื่องจากลักษณะของเรือนจำและทัณฑสถานส่วนมากมักถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ชายเป็นหลัก และมักถูกออกแบบขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการเฉพาะด้านของผู้หญิง อาทิ เรื่องสุขอนามัย สุขภาพผู้หญิง และแม้กระทั่งการดูแลเด็กติดผู้ต้องขัง ซึ่ง “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการยกระดับการดูแลผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก

สำหรับกระบวนการภายในประเทศนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) เพื่อให้โครงการดังกล่าวมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยมีการจัดตั้งองค์กรที่เป็นนิติบุคคลขึ้นมารองรับภารกิจ มีระบบคณะกรรมการ มีการจัดทำแผนงานรองรับ ระบบการตรวจสอบบัญชี การรายงานความคุ้มค่าไปยังรัฐมนตรี (มาตรา 37) และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการด้วย (มาตรา 38)

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) มีเจตนารมณ์เพื่อพัฒนาระบบกฎหมายและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง มีการพัฒนาและฝึกอบรม เพื่อยกระดับความรู้และขีดความสามารถของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและราชทัณฑ์ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดสหประชาชาติ ในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงให้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นผู้รับบทบาทนําในภูมิภาคอาเซียนเลยทีเดียว

จาก “โครงการกำลังใจ” สู่ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ถือเป็นพระราชกรณียกิจหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ที่ช่วยสร้างโอกาสในการบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ต้องขังหญิงทุกคน ท่านทรงริเริ่มผลักดันจนเกิดผลสำเร็จ ในการยกระดับเรื่องสวัสดิภาพของนักโทษหญิงทั้งในและต่างประเทศ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะ “นักกฎหมาย” และ “นักการทูต” ได้อย่างสง่างามและลงตัว

ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนมีกระบวนการที่ถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย มีความชัดเจนโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือ สามารถสร้างประสิทธิภาพและผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมในระดับสากล

ที่มา :

[1] โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
[2] โครงการ ELFI ในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยา
[3] พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ.2554
[4] ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules)

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า