ข้อเท็จจริงเรื่องท่าทีของในหลวง กับความวุ่นวายในรัฐประหารปี 2549 และจุดยืนไม่เห็นด้วยกับนายกฯ พระราชทาน

เหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 มีสาเหตุเริ่มต้นจากการทุจริตของรัฐบาลทักษิณ และการปลดสื่อที่พยายามเปิดโปงปัญหาการคอรัปชั่นของรัฐบาล จนเกิดการชุมนุมประท้วงของประชาชนนำโดย สนธิ ลิ้มทองกุล ในนาม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เป็นเหตุการณ์นำไปสู่การยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการทุจริตในการลงคะแนนเสียง

กระทั่งสถานการณ์การชุมนุมทวีความขัดแย้งมากขึ้น จนเริ่มเกิดสุญญากาศทางการเมือง ในที่สุดวันที่ 19 กันยายน 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. จึงได้เข้ายึดอำนาจในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ต่อมาได้มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามอ้างรายงานข่าวที่บิดเบือนของสื่อต่างประเทศ และยกเหตุการณ์ที่คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อกราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์บ้านเมือง โดยกล่าวหาว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นการใส่ร้ายบิดเบือนโดย “ไม่มีมูลความจริง”

ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

สืบเนื่องมาจากการรัฐประหารครั้งนี้ เป็นการยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งใช้ชื่อตามระบอบประชาธิปไตยของไทย จึงมีสื่อต่างประเทศนำไปรายงานในลักษณะบิดเบือน เช่น เอพี (Association Press) แปลชื่อ คปค. ว่า “คณะปฏิรูปการปกครองอันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นประมุข” (“Council of Administrative Reform  with king Bhumibol Adulyadej as head of state”) อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน (International Herald Tribune) แปลว่า “คณะปฏิรูปการปกครองอันประกอบด้วยกองทัพและตำรวจได้ยึดอำนาจในพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” (“a ‘Council of Administrative Reform’ including the military and the police had siezed power in the name of the King Bhumibol Adulyadej.”) และบางครั้งยังแปลว่า “คณะปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้นำ”

ความสับสนเหล่านี้ส่งผลให้คณะรัฐประหารเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (CDRM) ด้วยการตัด “under Constitutional Monarchy” ออกในเวลาต่อมา

และการที่คณะรัฐประหาร ได้เข้าเฝ้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 นั้น สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมประเพณีทางการเมืองการปกครองของไทย ที่คณะรัฐประหารจะทำการขอเข้าเฝ้าฯ เพื่อชี้แจงสถานการณ์เหตุผลความจำเป็นที่ต้องทำการรัฐประหารต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นเพียงการล้มล้างอำนาจบริหารของรัฐบาล ไม่ได้ล้มล้างราชบัลลังก์แต่อย่างใด

ทั้งนี้ หลังการรัฐประหาร ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศคือ คณะผู้ก่อการรัฐประหารซึ่งมีฐานะกลายเป็น “องค์อธิปัตย์” (ผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ) ดังจะเห็นได้จากการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ตามมาด้วยการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยผู้ร่างส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ก่อนจะมีการทำประชามติและได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ในเวลาต่อมา

ข้อเท็จจริงอีกประการคือ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองก่อนการรัฐประหาร นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ส่งผลให้รัฐบาลทักษิณในขณะนั้นอยู่ในสถานะรัฐบาลรักษาการณ์ ช่วงเวลานั้นเอง นักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์ ตลอดจนกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้ออกมาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานมาตรา 7 ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ทรงเห็นด้วย และมีพระราชดำรัสในวันที่ 25 เมษายน 2549 ความว่า

ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไร ก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้

จากนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสให้ศาลจัดการปัญหาการเมือง เนื่องจากทรงเห็นว่าในขณะนั้นกลไกของรัฐยังสามารถดำเนินต่อไปได้ ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการทุจริตในการลงคะแนนเสียง กระทั่งความขัดแย้งต่าง ๆ เริ่มส่อเค้าความรุนแรงจนทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นในที่สุด

ทั้งหมดนี้เป็นข้อพิสูจน์ชัดว่า การกล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการอ้างที่ไม่มีมูลความจริง เป็นการกล่าวหาโดยใช้การบิดเบือนของสื่อต่างประเทศและการเข้าเฝ้าฯ ของคณะรัฐประหาร มาสร้างข้อมูลเท็จให้เกิดความเข้าใจผิด

อีกทั้งการปฏิเสธการขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 ก็เป็นสิ่งยืนยันชัดเจนว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และ “ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง” การรัฐประหารครั้งนี้ หรือครั้งใด ๆ

หากจะพูดให้ถูกต้อง เป็นเพราะทุกฝ่ายที่ออกมาสร้างเงื่อนไข ก่อความขัดแย้ง และชักนำสถานการณ์ให้มาถึงทางตัน จนเป็นเหตุให้เกิดการรัฐประหารขึ้น ส่งผลทำให้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำลายประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความแตกแยกทางการเมืองของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า