เพราะเสรีภาพ ศาลจึงยกคำร้อง วาทกรรมบิดเบือน ‘วัคซีนพระราชทาน’

ที่มาของสยามไบโอไซเอนซ์

บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ มีที่มาจากการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในระยะแรก ผ่าน บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ซึ่งมี ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการบริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด และ ดร.เสนาะ อูนากูล ก็ยังเป็นกรรมการใน บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (มหาชน) จำกัด อีกด้วย จึงทำให้ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย และ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน

จึงเป็นที่มาของการที่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เข้ามาตรวจสอบความพร้อมของประเทศไทย และได้พบว่า บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นเพียงองค์กรเดียวในประเทศไทยที่มีความพร้อม และได้รับเลือกเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงรายเดียว

บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตยาชีววัตถุแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความร่วมมือและได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี จาก Center for Molecular Immunology รัฐวิสาหกิจของประเทศคิวบา ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำด้านอุตสาหกรรมยาชีววัตถุอันดับต้นๆ ของโลก และประกอบกับ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ มีประสบการณ์ในการผลิตยาชีววัตถุเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงมีความพร้อมและความเชี่ยวชาญมากที่สุดของไทย

การคัดค้านคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพร่ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์

สำหรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามคลิปวิดีโอ นายธนาธรฯ ผู้คัดค้านนำเสนอเรื่องการจัดการวัคซีน เนื้อความระบุว่า รัฐบาลประมาทไม่เร่งรีบจัดหาทำให้การจัดหาล่าช้า จัดหาน้อยเกินไป เพราะรัฐบาลมุ่งแสวงหาความนิยมมากเกินไป มีการกล่าวถึงบริษัทซิโนแวคและการถือหุ้นบางส่วนของบริษัทซีพี กล่าวถึงวัคซีนของ บริษัท แอสตราเซเนกา ซึ่งว่าจ้างบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ผลิตระบุว่าบริษัทดังกล่าวมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดโดยระบุว่ารัฐบาลไม่พยายามจัดหาวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรมากกว่าร้อยละ 21.5 กล่าวหาว่ารัฐบาลมุ่งผลทางการเมืองมากกว่าดูแลประชาชน กล่าวหาว่าบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ไม่อยู่ในแผนความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ และกล่าวถึงองค์กรที่มีศักยภาพ รัฐบาลฝากความหวังไว้กับบริษัท แอสตราเซเนกา และบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์มากเกินไป ก่อนจะสรุปว่า หากเกิดความผิดพลาดนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบไหวหรือไม่ เพราะประชาชนจะตั้งคำถามกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อความใดจะเป็นข้อความที่อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะต้องพิจารณาจากข้อความทั้งหมดมิใช่เฉพาะข้อความตอนหนึ่งตอนใด ข้อความที่นายธนาธรฯ ผู้คัดค้านนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดมุ่งเน้นที่การกล่าวหารัฐบาลว่าบกพร่องในการจัดหาวัคซีน ข้อมูลที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เป็นเพียงข้อมูลส่วนน้อยและไม่ใช่ประเด็นหลักในการนำเสนอ เมื่อพิจารณาข้อความที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะเจาะจง คือ ในนาทีที่ 15.05 และนาทีที่ 28.10 ในส่วนแรก เป็นการกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งความข้อนี้ผู้คัดค้านนำสืบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเอกสารราชการ ข้อเท็จจริงเพียงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือหุ้นบริษัทดังกล่าว มิได้ทำให้พระองค์เสื่อมเสีย ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชัง หรือไม่เป็นที่เคารพสักการะแต่อย่างใด

 ส่วนที่สอง ข้อความนี้ไม่อาจแปลความตามลำพังแยกขาดจากเนื้อความส่วนใหญ่ได้ เป็นส่วนเสริมจากข้อมูลส่วนใหญ่ของการนำเสนอที่กล่าวหารัฐบาลว่าผิดพลาดในการให้วัคซีนเกือบทั้งหมดถูกผลิตในบริษัทเดียว ไม่ได้มีลักษณะชักชวนให้ประชาชนกล่าวโทษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่โดยข้อความที่สืบเนื่องกันมามีลักษณะเป็นการกล่าวหาว่า การกระทำของรัฐบาลจะกระทบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้คนฟังรู้สึกว่าความบกพร่องของรัฐบาลเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่ได้มุ่งเน้นความรับผิดชอบของบริษัทแต่อย่างใด

การแปลข้อความที่กล่าวว่า “อาจกระทบต่อความมั่นคง” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จนเป็นเหตุให้ระงับการแพร่หลายระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการแปลความในเชิงภาวะวิสัยกล่าวคือ ตามหมายความเท่าที่ปรากฎตามตัวอักษรทั้งหมด ไม่พึงนำข้อมูลเฉพาะตัวของนายธนาธรฯ ผู้คัดค้านซึ่งรวมถึงประวัติและแนวทางทางการเมืองมาพิจารณา เพราะคดีนี้ไม่ใช่การพิจารณาความผิดของนายธนาธรฯ ผู้คัดค้าน ซึ่งเมื่อพิจารณาแต่เฉพาะถ้อยคำที่นายธนาธรฯ ผู้คัดค้านกล่าวสืบเนื่องมาทั้งหมดของเรื่องนี้ยังไม่สามารถเห็นได้อย่างกระจ่างชัดเจนว่าจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชัง องค์พระมหากษัตริย์แต่อย่างใด

ในส่วนการนำเสนอของผู้คัดค้านยังมีข้อความหัวเรื่องว่า “วัคซีนพระราชทานใครได้ใครเสีย” ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นคำพูดที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดทำนองนี้ และหน่วยงานของรัฐบาลเคยใช้คำนี้แม้ว่าถ้อยคำอาจไม่ตรงกันทั้งหมดแต่น่าจะแสดงว่า ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้มีการใช้ถ้อยคำที่แสดงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประกอบการจัดหาวัคซีนแล้ว การที่ผู้คัดค้านนำข้อความดังกล่าวมานำเสนอจึงไม่ใช่ความเท็จและลำพังข้อความดังกล่าวก็ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระองค์

 เมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดแล้วแม้ผู้คัดค้านจะบรรยายว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ แต่ก็มิได้มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการกล่าวหา หรือตำหนิติเตียน หรือกล่าวให้สงสัยในความสุจริตต่อพระองค์ไม่ว่าในทางใดๆ จึงไม่มีลักษณะชัดเจนและเห็นได้ในทางภาวะวิสัยว่าข้อความนี้อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงอันจะเป็นเหตุให้ศาลสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อความคอมพิวเตอร์

 จึงให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การไต่สวนและมีคำสั่งของศาลซึ่งมีผลให้คำสั่งศาลในวันที่ 29 มกราคม 2564 เป็นอันสิ้นผล เนื้อหาแห่งคลิปวิดีโอไม่ได้ต้องห้ามตามมาตรา 14 (3) แต่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการจัดการผลิตและสนับสนุนการผลิตวัคซีนโควิดของรัฐบาล อันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลโดยทั่วไป เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ การที่ศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพร่วิดีโอจึงเป็นคำสั่งที่ผิดและสมควรจะเพิกถอนโดยเร็วนั่นเอง

การวิพากษ์วิจารณ์โดยการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ

สืบเนื่องจากเมื่อ 10 สิงหาคม 2563 กลุ่มธรรมศาสตร์จะไม่ทน ประกาศข้อเสนอ 10 ข้อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งรวมถึงมีการยกเลิกมาตรา 112 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ห้ามพระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสในที่สาธารณะ โดยต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยนายแพทย์วรงค์เห็นด้วยว่าขบวนการนี้เป็นขบวนการล้มล้างและด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่นายธนาธรฯ นายพิธาฯ จากพรรคก้าวไกล ระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การจาบจ้วง ไม่ใช่การล่วงละเมิด และฟ้องร้องนายแพทย์วรงค์กลับมาในข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา  

การฟ้องร้องคดีนี้มีการเรียกค่าเสียหายทั้งหมด 24,062,475 บาท คือฟ้องทั้งอาญาและแพ่ง ถือเป็นการสื่อถึงวันที่ 24 มิ.ย. 2475 เอามาเชื่อมโยงกัน และไม่เพียงแต่นายพิธาฯ จากพรรคก้าวไกล แต่ยังมีหมายศาลของนายธนาธรฯ ซึ่งฟ้องในเวลาไล่เลี่ยใกล้เคียงกัน ฟ้องคดีคล้ายๆ กัน เพราะเนื่องจากว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปฏิรูปสถาบัน

ในคำฟ้องที่นายแพทย์วรงค์เป็นจำเลย บรรยายฟ้องระบุว่า ในเฟซบุ๊กชื่อ “Warong Decgitvigrom” ไลฟ์สด ในการแถลงข่าวการจัดตั้งพรรคไทยภักดี ใส่ร้ายโจทก์ทำนองว่า ปัญหาของประเทศขณะนี้มีกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีจงใจ จาบจ้วง สถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง แม้แต่สถานการณ์ล่าสุดในช่วงการระบาดโควิด โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งโรงงานวัคซีน กลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามโยงใยทำลายความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีทั้งกลุ่มเยาวชนปลดแอก ประชาชนปลดแอก กลุ่มธรรมศาสตร์ และการชุมนุม กลุ่มราษฎร กลุ่มนักเรียนเลว ร่วมมือกันโดยมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ปรึกษาคณะก้าวหน้า เป็นผู้สนับสนุน และเคยพูดจาบจ้วงรัชกาลที่ 9 และกล่าวหานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกล ว่าอยู่เบื้องหลังการล้มล้างสถาบันเบื้องสูง และยกเลิกมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาโดยมีความร่วมมือกับม็อบ 3 กีบคณะก้าวหน้า และพรรคก้าวไกล และข้อความอื่นซึ่งล้วนเป็นเท็จ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิด พร้อมกับชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 24 ล้านบาทเศษด้วย ศาลไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องคดีไว้พิจารณา

โดยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาลได้มีคำพิพากษาว่า “การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงไม่มีความผิดตามฟ้องและไม่ละเมิดตามคดีแพ่ง จึงพิพากษายกฟ้อง”

จะเห็นได้อย่างขัดเจนว่า แม้กระทั่งถ้อยคำเสียดสีในหลวงรัชกาลที่ 10 อย่างเช่นคำว่า “วัคซีนพระราชทาน” ที่นายธนาธรฯ กล่าวออกมาอย่างจงใจ แต่ศาลก็ยังพิจารณาได้ว่า แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งความข้อนี้ผู้คัดค้านนำสืบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเอกสารราชการ ข้อเท็จจริงเพียงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือหุ้นบริษัทดังกล่าวมิได้ทำให้พระองค์เสื่อมเสีย ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชัง หรือไม่เป็นที่เคารพสักการะแต่อย่างใด

แต่ในอีกคดีหนึ่งที่ นายธนาธรฯ ได้ฟ้องนายแพทย์วรงค์ในข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เรียกค่าเสียหายกว่า 24 ล้านบาทนั้น คนเหล่านี้กลับใช้นิติสงครามปิดปากบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ตนเองด้วยการให้ทนายความฟ้องร้องดำเนินคดี ทั้ง ๆ ที่ปรากฎชัดเจนจากข้อเท็จจริงที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ว่า บุคคลเหล่านี้ล้วนต่างมีชุดความคิด และพฤติกรรมลักษณะเดียวกันกับผู้ชุมนุมในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ด้วยหลักกฎหมายเดียวกัน เสรีภาพเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการที่นายแพทย์วรงค์ฯ แสดงความคิดเห็นหลังจากที่นายพิธาฯ และสมาชิกพรรคก้าวไกล รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีการแสดงออกว่าต้องการยกเลิกและแก้ไขมาตรา 112 โดยศาลเห็นว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ นายแพทย์วรงค์จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง จึงไม่ผิดฐานละเมิดตามกฎหมายแพ่ง ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย และพิพากษายกฟ้องนั่นเอง

ที่มา :

[1] คำสั่งศาลคดีหมายเลขดำที่ พศ76/2564
[2] “หมอวรงค์” เฮ ศาลอาญายกฟ้อง ไม่มีความผิดคดีหมิ่นก้าวไกลล้มล้างสถาบัน

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้