หลักฐานชิ้นสำคัญ เปิดเผยต้นตอคำบิดเบือน กล่าวหาสมเด็จย่าว่าทรงอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 2490

ทุกวันนี้มีการสร้างข้อมูลเท็จในเว็บไซด์ Wikipedia เพื่อกล่าวหาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า พระราชนนีของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งเป็นพระอัยยิกา (ย่า) ของในหลวงรัชกาลที่ 10 ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่อยู่เบื้องหลังและสนับสนุนการรัฐประหารของ “คณะทหาร” เมื่อปี พ.ศ. 2490 นำโดยบรรดาทหาร “นอกราชการ” อาทิ พลโท ผิน ชุณหะวัน จอมพล ป. พิบูลสงคราม และหลวงกาจสงคราม เป็นต้น เพื่อยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของปรีดี พนมยงค์ อีกที

และแหล่งที่มาของการกล่าวหาใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเด็นนี้ เว็บไซด์ Wikipedia อ้างว่ามาจากวิทยานิพนธ์ของ ณัฐพล ใจจริง เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) ในหน้า 64 ซึ่งปรากฏข้อความว่า …

… สถานทูตอังกฤษได้รายงานผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหารครั้งนี้ (พ.ศ. 2490) ว่า คือ พระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

ณัฐพล ใจจริง ได้อ้างอิงข้อความดังกล่าวมาจากงานวิชาการเรื่อง “Britain and the Coup 1947 in Siam” (ประอังกฤษกับการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ในสยาม) ของ นิคโคลัส ทาร์ลิง (Nicholas Tarling) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวอังกฤษผู้ล่วงลับ (เสียชีวิตด้วยการจมน้ำตายที่ประเทศนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ. 2560) โดย ทาร์ลิง ระบุไว้ว่า …

… อย่างไรเสีย, มันดูเหมือนว่าการรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยพระราชชนนี

สำหรับกรณีนี้ ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ได้เคยอภิปรายไว้อย่างละเอียดผ่าน Facebook ของ อ.ไชยันต์ ไชยพร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยพวกเขา (ทุ่นดำ-ทุ่นแดง) ได้นำเอกสารชั้นต้นซึ่งเป็นรายงานของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ รหัสเอกสาร F.O.371/65911 [F15065/1565/40]  มาตีแผ่ให้อ่านกัน

ซึ่งพบข้อเท็จจริงว่า การกล่าวว่า “สมเด็จย่าสนับสนุนรัฐประหาร พ.ศ. 2490” นั้น มีที่มาจากความเห็น (ซึ่งเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน) ของทูตอังกฤษประจำประเทศไทย คือ Geoffrey Harrington Thompson เพียงคนเดียวเท่านั้น ดังประโยคที่ว่า …

… การปฏิวัติในสยามครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะมิใช่เป็นเพียงความทะเยอทะยานของหลวงพิบูลอย่างเดียว แต่ยังได้รับการสนับสนุนจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่าด้วย (ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าหมายรวมถึงพระราชชนนี ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลยุวกษัตริย์ด้วย)

อย่างไรก็ดี ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประโยคดังกล่าวเอาไว้ว่า การที่ทูตอังกฤษเลือกใช้คำว่า “which appears to be” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า “ดูราวกับว่า/มันดูเหมือนว่า” ไม่ใช่การฟันธงอย่างตรงไปตรงมาดังเช่นที่ปรากฏในความข้อความอื่นๆ ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาทิ กรณีหลวงพิบูลสงครามหรือกลุ่มทหารที่ต้องการกลับมามีอำนาจ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการค้นพบเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในช่วงเวลาที่เอกสารชิ้นนี้ (รายงานของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ) ถูกเขียนขึ้น คือ 8 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นช่วงที่มีการปล่อย “ข่าวลืออกุศล” ต่างๆ เพื่อทำลายพระสถาบันพระมหากษัตริย์ จากอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ที่ถูกคณะรัฐประหารโค่นล้มไป โดยในช่วงนั้นเป็นช่วงที่กระแสข่าวลือกำลังถูกโหมกระพือด้วยความเข้มข้น

ซึ่งบรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลเก่า โดยเฉพาะพวกอดีตเสรีไทยอีสานบางคน มีแนวโน้มที่จะนิยมระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้น การปล่อยข่าวลือเพื่อทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และทำให้รัฐบาลชั่วคราวตกอยู่ในสภาพง่อนแง่น ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเขาปรารถนา โดยพวกเขาเรียกแผนการเหล่านี้ด้วยสำนวนอันผยองว่า “แผนการโต้รัฐประหาร”

ข้อมูลดังกล่าว ตรงกับ “รายงานลับจากสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย” ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (8 วันหลังการรัฐประหาร) ซึ่งระบุข้อความว่า …

… พวกเสรีไทยกำลังวางแผนสมคบคิดจะล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน ซึ่งจะทำการยึดอำนาจแล้วประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐ ยิ่งกว่านั้น การที่จะทำให้ประชาชนยอมรับสาธารณรัฐ บรรดาเหล่าผู้สมรู้ร่วมคิดได้วางแผนที่จะดิสเครดิตในหลวงองค์ปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) โดยกล่าวหาว่าพระองค์คือผู้ที่สังหารพี่ชายของพระองค์เอง ทั้งนี้ จอมพลผินได้เปิดเผยว่าโครงเรื่องเช่นนี้ (เรื่องที่ใส่ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9) เพิ่งจะเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหารนี้เอง …

หลักฐานรายงานของสถานทูตสหรัฐฯ ข้างต้น ยืนยันชัดเจนว่า แม้แต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้เป็นถึงพระมหากษัตริย์ที่ได้รับความเคารพอย่างสูง ยังถูกพวกนักการเมืองกระหายอำนาจบางกลุ่มใส่ร้าย ทั้งๆ ที่หลักฐานและพยานก็ชัดเจนว่าทรงไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุขณะที่พระเชษฐา (ในหลวงรัชกาลที่ 8 ) สิ้นพระชนม์

ดังนั้น การสร้างความเท็จใส่ร้ายสมเด็จย่าว่าทรงสนับสนุนการรัฐประหาร ให้แก่ Thompson ทูตอังกฤษฟังจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ไกลเกินความสามารถของนักการเมืองพวกนี้ อีกทั้งขณะนั้น Thompson เองยังมีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้ที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ อีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นแผนการสกปรกของบรรดาอดีตรัฐมนตรีเสรีไทย ที่ต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนประเทศไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ เชื้อความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกจุดขึ้นก่อนการรัฐประหารด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี หากพูดถึงสาเหตุของการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 นั้น มาจากความไม่พอใจของประชาชนที่เบื่อหน่ายการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และการคอร์รัปชันของรัฐมนตรีเสรีไทยหลายคน ถึงขนาดได้รับฉายาจากประชาชนว่า “รัฐบาลกินจอบกินเสียม” ซึ่งแม้แต่ฝ่ายค้านยังแพ้มติอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งๆ ที่อภิปรายมาถึง 8 วัน 7 คืน ทั้งหมดนี้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ลงตัว และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดจะเห็นได้ว่า มีการพยายามสร้างความเท็จและคำบิดเบือนต่างๆ เพื่อโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงเพราะต้องการหวังผลบางอย่างในทางการเมืองมาตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มนักการเมืองผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ และข้อมูลเท็จเหล่านี้ก็ได้มีการส่งต่อรวมถึงปลุกปั่นกันอย่างเป็นขบวนการ เพื่อสร้างชุดความเข้าใจผิดๆ ให้กับเยาวชนไทยในปัจจุบัน

อ้างอิง :

[1] F.O.371/65911 [F15065/1565/40]
[2] NARA, RG 59 Central Decimal file 1945-1949 Box 7250, Stanton to Secretary of State, 16 November 1947.
[3] ทุ่นดำ-ทุ่นแดง” กรณีการกล่าวว่า “สมเด็จย่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 2490”
[4] เกียรติ (นามปากกา), เรื่องของนายควง.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า