พระราชวิสัยทัศน์ของกษัตริย์นักปฏิบัตินิยม 14 ปี ม.ท.ศ. ทุนพระราชทาน จากในหลวงรัชกาลที่ 10

เมื่อครั้ง ในหลวงรัชกาลที่ 10 ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในปี พ.ศ.2552 ทรงมีพระราชดำริให้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กับเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็นที่มาของโครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงมีพระราชปณิธานการสร้างโอกาสให้กับเยาวชน โดยเฉพาะในด้านการศึกษา เพื่อให้เยาวชนที่มีความพากเพียรในการศึกษาแต่ขาดโอกาส ได้มีโอกาสที่จะศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อเนื่องไปจนถึงระดับปริญญาตรี

นับแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีนักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน ได้รับโอกาสทางการศึกษาแล้วประมาณ 2,000 ราย เงินทุนพระราชทานได้จัดสรรไปแล้วมากกว่า 600 ล้านบาท ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ปรับหลักการ แนวคิด และแนวทางการดำเนินโครงการทุนฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามแนวพระบรมราโชบายอย่างต่อเนื่อง

โครงการทุนฯ ได้ริเริ่มดำเนินการในรูปแบบมูลนิธิ ภายใต้การบริหารงานของ “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” (ม.ท.ศ.) มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนถึงปัจจุบัน โดยที่ทำการมูลนิธิมีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระที่นั่งอัมพรสถาน

นอกจากพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กับเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลแล้ว เงินทุนของมูลนิธิยังมาจากรายได้อื่นๆ อีกหลายประการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในรูปแบบต่างๆ จนทำให้ในปัจจุบัน ทุนพระราชทาน ได้จัดอัตราทุนทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รวมถึงการกำหนดวงเงินพระราชทานในระดับที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาได้ โดยที่โครงการทุนฯ มีความสามารถในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน สามารถสนับสนุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ต้องการโอกาสได้อย่างต่อเนื่อง

พระราชทานหลักการจัดสรรทุนพระราชทาน

ในการดำเนินงานโครงการทุนฯ พระองค์พระราชทานหลักการ ให้กระจายทุนครบในทุกจังหวัด และดำเนินการด้วยการแสวงหา คัดเลือก คัดสรร และกลั่นกรอง จนได้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ารับพระราชทานทุน และทรงเน้นย้ำว่า

…เมื่อทำโครงการมาแล้ว จำเป็นต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทำงานที่ได้ผล ต้องศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัย และมีความใส่ใจที่จะทำงานต่อเนื่อง…”

อัตราทุนการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายสามัญ อัตรา 21,000 บาท ต่อปี เป็นค่าครองชีพ 15,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 1,250 บาท และค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน 6,000 บาท
  • สายอาชีพ อัตรา 25,000 บาท ต่อปี เป็นค่าครองชีพ 15,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 1,250 บาท และค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน 10,000 บาท

ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ครอบคลุม 4 หมวดค่าใช้จ่าย

  • หมวดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ครอบคลุมค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมบำรุงการศึกษาและอื่นๆ ที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บโดยตรงจากผู้เรียน โดยโครงการทุนฯ ม.ท.ศ. จะสนับสนุนให้ตามจำนวนค่าใช้จ่ายจริงที่มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเรียกเก็บจากผู้เรียน
  • หมวดค่าหอพัก ให้สำหรับผู้ที่ต้องเช่าหอพัก ตามจ่ายจริงโดยมีหลักฐานประกอบทั้งนี้ ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท หรือ 24,000 บาทต่อปี
  • หมวดค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน ให้เท่ากันทุกรายเหมาจ่าย 10,000 บาท
  • หมวดค่าครองชีพ ให้เท่ากันทุกรายเหมาจ่าย 60,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท

นอกจากนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย สมทบการดำเนินงานของมูลนิธิด้วยการยกเว้นค่าค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษาตลอดหลักสูตร และยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร รวมทั้งให้สิทธิ์พักหอพักภายในมหาวิทยาลัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับนักเรียนโครงการทุนฯ ม.ท.ศ.

ขยายทุนสู่ระดับปริญญาโท

นอกจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 สำนักงาน ก.พ. ได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุนรัฐบาล ก.พ. แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสืบสานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาตามโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ในชื่อทุน “ทุนเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

ทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นทุนการศึกษาระดับปริญญาโททั้งในและต่างประเทศ จำนวน 100 ทุน โดยคัดเลือกนักเรียนทุน ม.ท.ศ. เข้ารับทุนเฉลิมพระเกียรติฯ ปีละ 10 ทุน โดยเริ่มในปี พ.ศ.2564 เป็นรุ่นแรก และมีเงื่อนไขการชดใช้ทุนด้วยการกลับเข้ามารับราชการเป็นระยะเวลา 2 ปี

โครงการทุน  ม.ท.ศ. ยึดหลักเกณฑ์ 3 ประการในการคัดเลือกนักเรียน คือ เกณฑ์เรียนดี เกณฑ์ความประพฤติดี และเกณฑ์ความพร้อมที่จะเข้ารับการฝึกและพัฒนาศักยภาพ โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศ โดยไม่กำหนดสัดส่วนชายหญิง ไม่กำหนดสัดส่วนจำนวนทุนแต่ละจังหวัด เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเสริมสร้างพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง และเสริมสร้างศักยภาพความสามารถการเรียนรู้ ให้นักเรียนนักศึกษาเติบโตเป็นคนดี มีคุณภาพ และดำรงตนเป็นคนดีของสังคม

อ้างอิง :

[1] โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
[2] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน ฯ นักเรียนทุนพระราชทาน ฯ ดีเด่น และครูดีเด่น เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานทุน และโล่เชิดชูเกียรติ
[3] โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ.  โอกาสและความภาคภูมิใจในชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย
[4] คู่มือการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาพระราชทานฯ ม.ท.ศ. ปี ๒๕๖๔

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า