นโยบาย ‘น้ำจำแลง’ ความพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดทรัพยากรน้ำ ของซาอุดีอาระเบีย ที่สามารถช่วยได้ทั้งคนและโลก

ซาอุดิอาระเบียในปัจจุบันมีประชากร ราว 36 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อไปพร้อมๆ กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดกันว่าซาอุดิอาระเบียจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2024 การเติบโตเช่นนี้และการที่จะเติบโตต่อไป ซาอุดิอาระเบียจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากเนื่องจากในอดีตการเติบโตถูกส่งพลังด้วยทรัพยากรน้ำมัน แต่เมื่อเทรนด์ของโลกเปลี่ยนไปเราจึงได้เห็นความพยายามในการปรับตัวหลายประการของผู้นำ อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่องน่ากังวลและต้องคิดอย่างหนักนั่นก็คือทรัพยากรน้ำที่ซาอุดิอาระเบียมีอย่างจำกัดจำเขี่ยอย่างมาก

ถ้าหากจะเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปก็ไม่สามารถมองข้ามเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำที่ยังยืนได้เลย ด้วยเหตุนี้เองซาอุดิอาระเบียจึงได้พยายามใช้นโยบายที่เรียกว่า “น้ำจำแลง” (Virtual water) อันเป็นความพยายามเชิงนโยบายสาธารณะใหม่ในการก้าวข้ามขีดจำกัดทรัพยากรน้ำของตน

นโยบายน้ำจำแลงนั้นถูกคิดค้นขึ้นโดย John Anthony Allan นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษในปี 1993 (ต่อมาเขาได้รับรางวัล Stockholm Water Prize ในปี 2008 จากการคิดค้นนี้) สำหรับแนวคิดน้ำจำแลงของเขานี้หากอธิบายอย่างง่ายที่สุดแล้วมีอยู่ว่า “เมื่อเราแลกเปลี่ยนสินค้าใดๆ กัน ปริมาณน้ำจำแลงเองก็ถูกแลกเปลี่ยนด้วย” ลองนึกภาพตามว่า สมมติว่าข้าวสาลีต้องใช้น้ำจำนวน 1,500 ลูกบาศก์เมตรในการผลิต ถ้าหากประเทศที่จะต้องผลิตนั้นเป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำก็คงต้องคิดหนัก แต่ถ้าหากประเทศนี้แทนที่จะผลิตเองก็ไปนำเข้าจากประเทศอื่นมา มานำเข้ามาแล้วเขาก็ไม่ต้องผลิตเอง นั่นหมายความว่าภาระการผลิตที่ต้องใช้น้ำ 1,500 ลูกบาศก์เมตรนี้ก็ไปตกอยู่ที่ประเทศที่เขานำเข้ามา ส่วนประเทศตนนั้นก็ประหยัดน้ำไปได้ 1,500 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจำนวนน้ำที่ประหยัดได้นี่เองจะถูกนำมาคิดคำนวณในการจัดจ่ายทรัพยากรน้ำ และจึงถูกเรียกว่า “น้ำจำแลง” เพราะเป็นสูตรการคิดคำนวณปริมาณน้ำที่สามารถถูกชดเชยได้นั่นเอง [1]

ซาอุดิอาระเบียมีพื้นที่ราว 2 ล้านตารางกิโลเมตร โดยกว่าครึ่งหนึ่งถูกใช้ไปเพื่อการเกษตรกรรม [2] ดังนั้นจะเห็นได้ว่าซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่ต้องใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่งเพื่อความมั่นคงทางอาหารของตน แต่การทำเกษตรกรรมเช่นนี้ซาอุดิอาระเบียต้องดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ซึ่งร่อยหรอลงเรื่อยๆ และมีการประมาณการว่าถ้าหากซาอุดิอาระเบียไม่ทำอะไรเลยประเทศของพวกเขาก็จะไม่มีน้ำกินน้ำใช้ภายใน 50 ปี และกว่า 90% ของทรัพยากรน้ำถูกใช้เพื่อการทำเกษตรกรรมและมีเพียง 9% และ 4% ถูกใช้สำหรับเขตเมืองและอุตสาหกรรมเท่านั้น (ตามลำดับ) ดังนั้นหากพวกเขาจะต้องการพัฒนามากกว่านี้ การจัดการน้ำจึงเป็นประเด็นใหญ่ยิ่ง และยังไม่รวมถึงประเด็นที่ปริมาณฝนต่อปีนั้นน้อยอย่างเต็มที

เพื่อการแก้ไขปัญหานี้ ซาอุดิอาระเบียได้ทดลองเริ่มใช้นโยบายน้ำจำแลงมาตั้งแต่ปลายปี 1990 จากนั้นการปฏิบัตินโยบายก็ค่อยๆ ถูกยกระดับขึ้น จนกระทั่งซาอุดิอาระเบียลดการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากๆ ลง แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องหาทางในการทำให้ตัวเองยั่งยืนด้วย

จากที่อธิบายไปข้างต้นถึงการคำนวณจำนวนน้ำจำแลงแล้ว ซาอุดิอาระเบียได้นำการคำนวณนี้มาประยุกต์ใช้ในปี 2008 ด้วยการสนับสนุนให้บริษัทองค์การต่างๆ ของซาอุดิอาระเบียไปซื้อที่ดินในการส่งพืชหรือผลิตสินค้าอื่นๆ กลับมาให้ประเทศแม่ นั่นทำให้พวกเขา “ประหยัด” น้ำจำแลงนี้ได้อย่างมหาศาล กล่าวง่ายๆ ก็คือ ไปผลิตที่อื่นแล้วส่งกลับมานั่นเอง ดังที่ Abdul-Aziz al-Howaish อธิบดีประจำกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการเกษตรได้กล่าวว่า “นโยบายของเราคือการช่วยประเทศที่มีทั้งที่ดินทำกินและมีทรัพยากรน้ำมากให้พวกเขาผลิตได้มีประสิทธิภาพขึ้นด้วยเทคโนโลยีและเงินของเรา ซึ่งเราและเขาต่างได้ประโยชน์ทั้งคู่” ซึ่งมีงานวิชาการที่ประเมินไว้ว่า แม้จะยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง แต่ก็มีแนวโน้มในทางที่ดีสำหรับนโยบายนี้ [3]

ถึงแม้จะมีเรื่องกฎหมายกำกับดูแลที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมอีกมาก แต่นโยบาย “น้ำจำแลง” ก็นับได้ว่าน่าสนใจและอาจประยุกต์ให้เข้ากับประเทศไทยได้เช่นเดียวกันในสภาวะโลกรวนนี้

อ้างอิง :

[1] ดูการวิเคราะห์และการอธิบายอย่างละเอียดใน A.J.K. Kort, “Virtual water trade in the SADC region: A Grid-based Approach,” (Master Thesis, Water Engineering and Management, University of Twente, 2010).
[2] ข้อมูลสำคัญหลังจากนี้จะมาจาก Tananchai Roongsawang, et al., “Virtual Water Policy: A Case of Saudi Arabia,” NIDA Case Research Journal 9(2) (July-December 2017): 79-93.
[3] ดู Osama Mohammed Sallam, “The Role of Virtual Water Imports in Groundwater Protection- Case Study: Saudi Arabia,” 4th International Conference on Water Resources and Arid Environments (ICWRAE 4): 214-221 และ Shakhawat Chowdhury, et al., “Importing and Exporting Agricultural Crop Products: An Assessment of Virtual Water Flow (VWF) in Saudi Arabia,” Arabian Journal for Science and Engineering 44 (2019): 4911-4920.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า