นี่มัน ‘เคลม’ หรือ ‘วัฒนธรรมร่วม’ สู่ผลกระทบจากความไม่เข้าใจ

หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ในแถบอุษาคเนย์แล้วนั้น ก็มีหลาย ๆ สิ่งที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การสักขาลาย การแสดงโขน ฯลฯ อื่น ๆ อีกมากมาย

ผู้เขียนเชื่อว่าหลาย ๆ คนเมื่อได้ยินคำว่า “วัฒนธรรม” แล้วนั้นเราอาจจะนึกถึงภาพของประเพณีของภาคต่าง ๆ วัฒนธรรมของภาคอีสานคือบุญบั้งไฟ ภาคเหนือคือบวชลูกแก้ว ภาคใต้คือประเพณีลากพระ ภาคกลางคือการแข่งเรือ ฯลฯ

ซึ่งการเข้าใจคำว่า “วัฒนธรรม” ในแง่ของประเพณีอย่างเดียวนั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก เพราะความหมายของมันจริง ๆ กว้างกว่านั้น ดั่งที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า

“สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ”

หากตีความจากตัวพจนานุกรมฯแล้วนั้นจะพบว่า ความหมายของคำว่า วัฒนธรรม ไม่ได้หมายถึงประเพณีเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงสิ่งที่นำความเจริญความงอกงามมาให้แก่หมู่คณะ แสดงให้เห็นว่า คำว่าวัฒนธรรมนั้นอาจจะเป็น เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ หรือแม้แต่เรื่องอาหารการกินก็นับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมได้ แปลว่าไม่จำเป็นต้องเป็นประเพณีเพียงอย่างเดียว

วัฒนธรรมร่วม/ความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พหุวัฒนธรรม” ก็เกิดจากการหลอมรวมของวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต/การดำรงชีวิต หรือ ความเชื่อ/ศาสนา ที่แตกต่างหลากหลาย ตกผลึกผสมผสานจนกลายเป็น พหุวัฒนธรรม อย่างที่เราเข้าใจกันปัจจุบัน

หากจะย้อนไปถึงรากของการแลกเปลี่ยนจริง ๆ ก็ต้องย้อนไปในสมัยก่อนที่ผู้คนในอุษาคเนย์ ( สมัยที่ยังไม่มีความคิดในเรื่องของการเป็นชาติ ) ในสมัยที่บ้านเมืองเหล่านั้นยังมีลักษณะเป็นชุมชนเล็ก ๆ มีลักษณะเป็นเมืองกันอยู่ กลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ไปมาหาสู่กันด้วยความที่อาจจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีการเกี่ยวดองกันบ้าง จึงมีการผสมผสาน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม แลกเปลี่ยนสิ่งของ/ความเชื่อ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่างด้วยกัน

และเรื่องของศาสนาก็มีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน อย่างที่อาจจะเป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาหรือความเชื่อดั้งเดิมของคนในอุษาคเนย์นั้นจะเน้นไปในเรื่องของความเชื่อเรื่อง “ผี” หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ( ผีในความหมายสมัยก่อนไม่ได้เป็นแบบที่เราเข้าใจในปัจจุบัน ผีในความเข้าใจยุคโบราณคือสิ่งเหนือธรรมชาติ/สิ่งที่เป็นที่เคารพ สักการะ/อาจจะใช้เรียกกษัตริย์ก็ได้ดั่งหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 2)

เมื่อรับศาสนาพรามหณ์ – ฮินดู และ พระพุทธศาสนามา คำสอนของศาสนาใหม่ที่แพร่เข้ามา ก็อาจจะขัดแย้งไม่ลงรอยกับความเชื่อดั้งเดิม ภายหลังอาจจะมีการปรับตัวให้อยู่ด้วยกันควบคู่กันไป ดังจะเห็นได้จากประเพณีในหลาย ๆ พื้นที่/ท้องถิ่นในปัจจุบัน

มีมุมมองที่น่าสนใจคือถ้าหากเราตัดเรื่องของพรมแดนระหว่างประเทศออกแล้วมองย้อนไปถึงรากของวัฒนธรรมเหล่านั้นจริง ๆ จะพบว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่ร่วมที่เกิดจากรากเดียวกัน และเป็นอาจจะเป็นสิ่งเดียวกันนั้นเอง แต่ภายหลังเมื่อความคิดเรื่องชาติเริ่มเข้ามาแล้ว ทั่วโลกหรือในอุษาคเนย์บ้านเมืองต่าง ๆ มีความเป็นประเทศกันหมด เพราะกาลเวลาและบริบททางสังคมในสมัยต่าง ๆ สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทสิ่งแวดล้อมในสมัยนั้น มันจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และแต่ละประเทศก็ค่อย ๆ สร้างความเป็นอัตลักษณ์ ที่โดดเด่นเฉพาะตัวขึ้นมา

ยกตัวอย่างเช่น ศิลปะ ( ภาพวาด พระพุทธรูป พระธาตุ พระเจดีย์ ฯลฯ ) ของประเทศกัมพูชา ประเทศเมียนมาร์ ประเทศไทย ประเทศลาว แม้มีหลายสิ่งที่คล้ายเคียงกัน แต่เราก็สามารถแยกออกมาได้อยู่ดีว่า อันนี้คืออัตลักษณ์/เอกลักษณ์ ของกัมพูชานะ ส่วนอันนี้เป็นเอกลักษณ์ของไทย ฯลฯ

ทุกอย่างมันมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของมัน ที่มันเคยมีร่วมกัน เพียงแค่ปัจจุบันแต่ละประเทศก็พยายามหาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของตัวเอง ทำให้เกิดการแบ่งแยกกันว่าของใครเก่ากว่า และใครเป็นเจ้าของ

คนที่ไม่เข้าใจเรื่องวัฒนธรรมร่วมก็จะมีการหยิบยกวัฒนธรรมที่มีตามพื้นที่ของตนเองมาเพื่อ “เคลม” ว่าวัฒนธรรมของพื้นที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนั้นเป็นสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่และ “ก็อป” ของเขามา อีกทั้งแนวคิดชุดนี้ก็เป็นผลพวงที่ทำให้เกิดการถกเถียงจนถึงขั้นทำให้เกิดการบูลลี่กันเกิดขึ้น อย่างที่เห็นในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะที่เห็นเด่นชัดที่สุดอย่างกรณีของการแสดงโขน ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นหากเราได้เข้าใจ “วัฒนธรรมร่วม”

อ้างอิง :

[1] longdo dict , วัฒนธรรม , dict.longdo.com, สืบค้นเมื่อวันพุธ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ 2566
[2] ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย | จารึกวัดศรีชุม , สืบค้นเมื่อวันพุธ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ 2566

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า