Thai PBS สื่อจากภาษีคนไทย ที่แค่นำเสนอความจริง ‘ยังทำไม่ได้’

จากกรณีสื่อ Thai PBS นำเสนอข่าวทำนองจับโป๊ะรัฐบาลว่า ปลากุเลาตากใบที่ถูกเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่จะเสิร์ฟในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์แก่ผู้นำต่างชาติในงานประชุม APEC 2022 ว่าไม่ได้เป็นปลาที่มาจากตากใบ จนนำมาซึ่งการถูกจับโป๊ะเสียเอง ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่ไร้จรรยาบรรณอย่างรุนแรงของสื่อที่กินเงินภาษีจากประชาชน

วันนี้ ทีมงานฤา จะขอขยายความเพิ่มเติมว่าเกิดอะไรขึ้นกับเหตุการณ์ดังกล่าว ความจริงเป็นอย่างไร และประวัติศาสตร์จะต้องบันทึกอะไรลงไปบ้าง ดังนี้

ใครคือ Thai PBS

Thai PBS คือองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย คือพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 โดยในกฎหมายดังกล่าว มีการให้อำนาจ Thai PBS หารายได้จากเงินภาษีของประชาชน

โดยจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ที่เกิดการต่อต้านการรัฐประหารของพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีสื่อหรือหนังสือพิมพ์ใดรายงานเหตุการณ์อย่างตรงไปตรงมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ม็อบมือถือ” และเมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดลงทำให้ นายอานันท์ ปันยารชุน ที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้ง ITV ขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่ทีวีเสรี

แต่แล้วต่อมาสื่อเสรีก็ไม่เป็นที่ชื่นชอบของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เกิดการซื้อหุ้นเพื่อเข้ามาครอบครองกิจการ และเข้ามาควบคุมการผลิตข่าว รวมถึงการผลิตรายการต่างๆ จนท้ายที่สุด ITV ก็อยู่ไม่ได้ และเกิด “กบฏ ITV” ซึ่งก็คือพนักงาน ITV เก่าที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องการครอบงำสื่อ

ITV ประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับจนแทบจะล้มละลายและกลายสภาพมาเป็น TITV ก่อนที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะทำตามคำแนะนำของ สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ให้ตั้งทีวีเสรี ที่ไม่ต้องหาโฆษณาแต่ได้เงินกินเปล่าในนามของ TPBS จาก Sin Tax ปีละประมาณ 2000 ล้าน (อัตรา ณ พ.ศ.2551 วันที่กฎหมายประกาศใช้ แต่อาจปรับเพิ่มได้อีกทุก 3 ปีตามอัตราเงินเฟ้อ)

โดยตามมาตรา 12 ให้องค์การมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้สูงสุด ปีงบประมาณละไม่เกินสองพันล้านบาท และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการปรับเพิ่มรายได้สูงสุดตามมาตรานี้ทุกสามปี เพื่อให้องค์การมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดยให้พิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของปีที่ผ่านมา ประกอบกับขอบเขตการดำเนินงานขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป

ค่าตอบแทนที่ผู้บริหาร Thai PBS ได้รับจากเงินภาษีนั้น แบ่งได้ดังนี้

ประธานกรรมการนโยบายฯ ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 60,000 บาท และค่าเบี้ยประชุมรายเดือน เดือนละ 37,500 บาท ไม่รวมสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพ้นตำแหน่งก็จะได้รับบำเหน็จอีกต่างหาก

กรรมการนโยบายฯ ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 50,000 บาท และค่าเบี้ยประชุมรายเดือน เดือนละ 30,000 บาท ไม่รวมสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพ้นตำแหน่งก็จะได้รับบำเหน็จอีกต่างหาก

กรรมการบริหารฯ ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 40,000 บาท และค่าเบี้ยประชุมรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท ไม่รวมสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพ้นตำแหน่งก็จะได้รับบำเหน็จอีกต่างหาก

ภารกิจของ Thai PBS ที่ไม่ใช่แค่ “ควรทำ” แต่เป็นสิ่งที่ “ต้องทำ”

วัตถุประสงค์ขององค์กรถูกกำหนดไว้ในกฎหมายอยู่แล้วคือ พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 คือ มาตรา 7 (1) (2) ดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพและคุณธรรม โดยผ่านทางบริการข่าวสารที่เที่ยงตรง รอบด้าน สมดุล และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ ผลิตรายการด้านข่าวสารและยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์และภารกิจข้างต้น ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ Thai PBS “ควรทำ” เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ Thai PBS “ต้องทำ” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภารกิจขององค์กรตามที่กฎหมายกำหนด

เมื่ออคติบังตา หลักวิชาก็ไม่จำเป็น

จากกรณี การจับโกหกของ Thai PBS ที่สุดท้ายถูกจับโกหกเสียเองเรื่อง ปลากุเลาเค็มตากใบ เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตากใบ “บางคน” ที่ให้ข้อมูลว่า ไม่เห็นรู้เรื่องว่ามีการซื้อปลากุเลาเค็มจากร้านใดร้านหนึ่งใน 9 ร้านที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดไปเลย ทาง Thai PBS จึงสรุปเอาว่า ที่รัฐบาลโปรโมทว่าจะนำเอาปลากุเลาเค็มไปทำอาหารในการประชุม APEC นั้น “ไม่จริง”

ปรากฎว่าต่อมาได้มีการยืนยันข้อเท็จจริงจากเชฟ ชุมพล แจ้งไพร ผู้รังสรรค์เมนูอาหารไทยที่จะเสิร์ฟในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์แก่ผู้นำต่างชาติในวันที่ 17 พ.ย. ว่า วัตถุดิบปลากุเลาเค็มดังกล่าว ได้สั่งซื้อมาจาก ‘ร้านป้าอ้วน ปลากุเลาเค็มตากใบ’ ซึ่งเป็นร้านค้าในพื้นที่อำเภอตากใบจริง พร้อมแสดงเอกสารใบสั่งซื้อถูกต้อง

ปลากุเลาเค็มตากใบ คือสินค้าเกษตรที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication (GI)) เทียบเท่าไวน์ฝรั่งเศส เบียร์เยอรมัน เป็นต้น สินค้าเกษตรที่ได้รับสัญลักษณ์ GI ตามเงื่อนไขของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ที่มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะถือว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตหรือแหล่งกำเนิดเฉพาะ คุณภาพของสินค้าจะมีลักษณะโดดเด่น ไม่สามารถหาสินค้านี้ทดแทนได้จากแหล่งผลิตอื่นในโลก ซึ่งปลากกุเลาเค็มตากใบ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเลขที่ สช59100083 รสขาติไม่เค็มจัด เนื้อฟู มีกลิ่นหอม ผลิตจากปลากุเลาสดตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

เมื่อเมนูปลากุเลาตากใบถูกนำขึ้นเสิร์ฟในการประชุม APEC นี่คือสิ่งที่สร้างชื่อเสียง รวมถึงมูลค่าทางการตลาดให้แก่สินค้าเกษตรของชาติ และมูลค่าเหล่านี้อาจนำไปสู่การยกระดับสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย

การพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาเขียนข่าวเผยแพร่นั้น มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากเลยทั้งสิ้น ด้วยการสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบจากฝั่งรัฐบาล ว่ามีการซื้อปลากกุเลาเค็มมาจากตากใบจริงหรือไม่ อย่างไร ราคาเท่าใด มีหลักฐาน ใบเสร็จการซื้อขายหรือไม่ ซึ่งการสืบค้นหาข้อมูลจากต้นตอของแหล่งข่าว ถือเป็นพื้นฐานของการทำงานสื่อมวลชนด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ดี ข่าวของ Thai PBS กลับไม่ได้มีมาตรฐานเช่นว่านี้

ผลกระทบที่ไม่อาจคาดเดา

จริงอยู่ที่แม้จะมองเบื้องต้นผิวเผินแล้ว เป็นแค่การจับโกหกที่ถูกจับโกหกอีกทีด้วยเรื่องเมนูอาหาร แต่หากพิจารณาให้ลึกลงไป แน่นอนว่าในทางปฏิบัติ วัตถุดิบอาหารที่รัฐบาลใช้ในครั้งนี้ จะต้องใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุดในการทำอาหารเลี้ยงผู้นำระดับประเทศ ซึ่งร้านป้านอ้วนเป็นเพียงร้านเดียวที่ได้มาตรฐานระดับ 5 ดาว

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดการสืบค้นต้นตอและพิสูจน์ทราบว่าฝ่ายจัดเลี้ยงของรัฐบาลมีการซื้อวัตถุดิบมาจากร้านแห่งนี้ ที่ได้เปิดเผยชื่อในภายหลัง ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาในแง่ของเศรษฐกิจภาพรวมคือ แทนที่ปลากุเลาตากใบจะได้รับการโปรโมทกระตุ้นการขายในภาพรวมทั้งหมด ว่าเป็นสินค้าเกษตรจากภาคใต้ที่เป็นสินค้ามีคุณภาพ มีชื่อเสียง แต่กลับกลายเป็นการขายดีเพียงแค่ร้านเดียวเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากการนำเสนอข่าวที่ “ไร้ความรับผิดชอบ” ต่อมาตรฐานทางวิชาชีพของ Thai PBS ทั้งสิ้น ยังไม่นับรวมภาพลักษณ์การประชุมระดับโลกที่ถูกด้อยค่า เกิดข้อถกเถียงในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ที่จะต้องมาตามแก้ไขความเท็จที่ไม่ควรเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรสื่อระดับประเทศที่ได้รับเงินอุดหนุนจากภาษีของประชาชน

ความรับผิดชอบ

เงินเดือนบุคลากรของ Thai PBS นั้นมาจากเงินภาษีของประชาชนตามที่ได้กล่าวไปแล้ว อัตราการใช้งบประมาณในส่วนนี้มีสัดส่วนสูงถึง 20% เมื่อคำนวณจากงบประมาณทั้งหมดที่ Thai PBS ได้รับ นั่นหมายความว่า ทรัพยากรบุคคลคือหนึ่งในทรัพยากรสำคัญที่ Thai PBS ใช้ขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจตามที่กฎหมายกำหนด

ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีที่รัฐนำเข้าไปจุนเจืออย่างมหาศาล ด้วยจุดประสงค์เพื่อไม่ให้องค์กรสื่อถูกครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรธุรกิจที่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ทำให้ Thai PBS ไม่มีความจำเป็นต้องหาเงินตามรูปแบบองค์กรธุรกิจทั่วไป แต่วัตถุประสงค์ที่สำคัญเหล่านี้กลับถูกนำไปเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อให้ Thai PBS เป็นองค์กร “เสือนอนกิน” จากการตักตวงผลประโยชน์มหาศาล โดยที่ผู้บริหารไม่ต้องเหนื่อย แต่กลับมีผลงานสวนทางกับรายได้ เรทติ้งต่ำเป็นอันดับท้ายๆ ทั้งๆ ที่องค์กรใช้เงินจ้างบุคลากรถึง 20% ของรายรับทั้งหมด

และโปรดจงอย่าลืมว่า เงินอุดหนุนจากภาษีประชาชนปีละ 2,000 ล้าน คืออัตรา ณ วันที่กฎหมายประกาศใช้ พ.ศ.2551 โดยสามารถปรับเพิ่มรายได้จากเงินภาษีได้ทุก 3 ปี ตามอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย

สิ่งเหล่านี้คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการทำงานของ Thai PBS ซึ่งทีมงาน ฤา ขอให้ท่านผู้อ่านช่วยกันขบคิดเล่นๆ ว่า การที่ประชาชนจ่ายภาษีไปให้กับองค์กรและบุคลากรเพื่อให้ผลิตงาน “ไร้จรรยาบรรณ” ออกมาเป็นยาพิษในสังคมแบบนี้ มันคุ้มค่าเงินภาษีแล้วหรือไม่

ที่มา :

[1] พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551
[2] พระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นฯ พ.ศ.2551
[3] ยุบ TPBS เสียเถิดจะเกิดผล
[4] ปลากุเลาเค็มตากใบ กรทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทะเบียนเลขที่ สช 59100083

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า