สมศักดิ์ เจียม ยันชัด กษัตริย์ไม่ใช่เทวดาที่จะมาบงการ หรือสั่งรัฐประหาร แบบที่กลุ่มใต้ดินกล่าวหา

กษัตริย์ไม่เคยมีอำนาจขนาดนี้ ‘เจ้า’ ซึ่งเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ไม่เคยมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับพรรคการเมืองและองค์กรมวลชนอยู่แล้ว ‘เจ้า’ ไม่ใช่เทวดาที่มาจะสั่งการ บงการ หรือสั่งรัฐประหารแบบที่กลุ่มใต้ดินกล่าวหา ในยุคนี้มันไม่มีหรอกที่เขาจะเรียกให้ใครเข้าไปในวังเพื่อสั่งฆ่าคนโน้นคนนี้

"แม้แต่ 6 ตุลา ก็ไม่มี"

เสียงของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งทุ่มเวลาศึกษากรณี 6 ตุลา มาทั้งชีวิต ได้ให้ทรรศนะไว้อย่างเผ็ดร้อนเมื่อปี พ.ศ. 2561 และเมื่อยิ่งฟังก็ยิ่งแปลกใจ ว่าทำไมมันช่างตรงข้ามราวฟ้ากับเหว ระหว่างคำพูดข้างต้น กับสิ่งที่เหล่าสาวกของนักวิชาการท่านนี้เขาว่ากัน

ข้อกล่าวหา และ ความลวง

เขาว่ากันว่าเหตุการณ์รัฐประหารแต่ละครั้งล้วนหลากหลายผู้ก่อการ หากแต่เบื้องหลังมีแค่หนึ่งเดียว วัยรุ่นเลือดลมแรงไปจนถึงผู้ใหญ่หิวแสงบางคนกระพือข่าวกันอย่างนั้น ก่อนโน้มน้าวให้ใครต่อใครขยับตัวข้ามย้ายไปฝั่งพวกเขา เพื่อติดยศโก้หรูว่า ‘เบิกเนตร’

เขาว่ากันอีกว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 สามารถเลือกเซ็นรับรอง หรือไม่เซ็นรับรองการรัฐประหารได้ เพียงแค่ท่านไม่เซ็นรับรอง รัฐประหารก็ไม่ได้ไปต่อ ราวกับว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการควบคุมและสั่งการโดยพระมหากษัตริย์

และการเซ็นรับรองรัฐประหาร ทุกครั้งของในหลวงรัชกาลที่ 9 นี้เอง ทำให้หลายคนกล่าวหาโดยไม่มีมูลว่า ‘ในหลวงภูมิพลเป็นผู้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร’

ข้อเท็จจริง ของการลงพระปรมาภิไธย

เรามาว่ากันที่สถานการณ์ทั่วไปก่อน

ในสภาวะปกติ พระมหากษัตริย์ ‘ไม่มี’ อำนาจตัดสินใจอะไรทางการเมืองได้ ยกตัวอย่างการตรากฎหมาย ซึ่งพระมหากษัตริย์จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ท่านไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจในประการใด ๆ พระองค์ ‘เลือกไม่ได้’ ว่ากฎหมายนี้ควรต้องมีหรือไม่

ซึ่งหลักการนี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

โดยในการตราพระราชบัญญัติ ถ้ารัฐสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ต่อให้พระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น แล้วเก็บไว้ไม่พระราชทานคืนมา พอพ้น 90 วัน รัฐสภาก็สามารถประชุมกันได้ว่าจะเอาอย่างไรกับร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้ายังจะเอาตามเดิม ก็เสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยอีกรอบ ถ้าพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยอีก พ้น 30 วัน นายกรัฐมนตรี ก็สามารถนำพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศใช้ได้เลยเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วนั่นเอง

นี่ขนาดสถานการณ์ปกติ สภาฯ ยังมีอำนาจขนาดนี้ นับประสาอะไรกับรัฐประหาร แม้ในหลวงท่านจะเซ็นรับรอง หรือไม่เซ็นรับรอง สุดท้ายอำนาจก็อยู่ที่คณะรัฐประหารอยู่ดี

ทั้งนี้ ‘รัฐประหาร’ คือ การยึดอำนาจจากคนที่ถืออำนาจอยู่แต่เดิม แล้วเอามาเป็นของคณะผู้ก่อการ เมื่อการรัฐประหารสำเร็จ คณะผู้ก่อการจะสถาปนาตัวคนที่ทำรัฐประหารนั้นให้มีฐานะกลายเป็น ‘องค์อธิปัตย์’ (ผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ)

หมายความว่า ภายในอาณาเขตประเทศไทย ณ เวลานั้น “ไม่มีใครมีอำนาจกว่าคณะรัฐประหาร”

แต่ตามวัฒนธรรมประเพณีทางการเมืองการปกครองของไทย คณะรัฐประหาร จะทำการขอเข้าเฝ้าเพื่อชี้แจงสถานการณ์เหตุผลความจำเป็นที่ต้องทำการรัฐประหารต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นเพียงการล้มล้างอำนาจบริหารของรัฐบาล ไม่ได้ล้มล้างราชบัลลังก์แต่อย่างใด

กล่าวโดยสรุป การเซ็นรับรองรัฐประหาร นั้น เป็นการกระทำการในทางแบบพิธี ไม่ใช่การรับรอง หรือปฏิเสธ ในทางเนื้อหาแต่อย่างใด

ดังนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงไม่ได้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร ใด ๆ ทั้งสิ้น

เหล่านี้ล้วนเป็นข้อเท็จจริงง่าย ๆ ที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง อย่างแท้จริง หากแต่มีผู้ไม่หวังดีสร้างข้อมูลเท็จ และส่งไม้ต่อให้กับคนรุ่นหลัง ในยามที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันทางการเมืองบกพร่อง

ทั้งหมดนี้ไม่น่าจะยากเกินทำความเข้าใจ สำหรับคนที่อยู่ในโซนของ ‘ผู้ที่หูตาสว่างแล้ว’ จริง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระหนักว่า ในการต่อสู้ทางการเมืองใด ๆ ก็แล้วแต่ ย่อมเกิดจากปฏิปักษ์สองฝ่าย

มีซ้าย ย่อมมีขวา มีทั้งผู้ชนะ และผู้แพ้

ซึ่งถ้าพูดกันให้แฟร์ มันคือความผิดของทั้งสองฝ่าย แต่ผู้รับเคราะห์มาโดยตลอดคือองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือถ้าพูดกันในภาษาบ้าน ๆ ก็คือ “ในหลวง และครอบครัว”

ครอบครัวเล็ก ๆ ครอบครัวหนึ่ง ที่ยืนหยัดผ่านพายุการเมืองมานับครั้งไม่ถ้วน

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์กันใหม่ อย่างเข้าใจและถูกต้อง เพื่อไม่ให้ความผิดพลาดเหล่านั้นเกิดขึ้นอีก เพื่อภูมิคุ้มกันทางการเมืองที่แข็งแรงสำหรับคนรุ่นต่อไป และเพื่อที่จะไม่มีผู้ใดต้องมารับเคราะห์จากการป้ายสีที่ไม่เป็นความจริง

หากได้ลองหยิบหนังสือเก่าเก็บเล่มหนึ่งขึ้นมาเปิดดู นั่นคือ ‘6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์’ หนังสือระดับ Best Seller ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2521

ในช่องว่างระหว่างตัวอักษรเหล่านั้น บางคนสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกพลุ่งพล่านและโกรธแค้น ครั้งเมื่อแรกอ่านยามย่างเข้าวัยหนุ่มสาว กระทั่งความรู้สึกนั้นเบาบางลงเมื่อชีวิตต้องเข้าสู่ภาวะแห่งความจริง และมีภาระรับผิดชอบมากขึ้น

ภาพวัยหนุ่มของนักวิชาการผู้เคยผ่านเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม ปรากฏชัดอยู่ในภาคผนวกท้ายเล่ม พร้อม ๆ กับเสียงคุ้นเคยในคลิปโฟนอิน ท่ามกลางความร้อนแรงของไฟแห่งความขัดแย้งที่กำลังลุกโชนเปลว

กษัตริย์ไม่เคยมีอำนาจขนาดนี้ ‘เจ้า’ ซึ่งเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ไม่เคยมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับพรรคการเมืองและองค์กรมวลชนอยู่แล้ว ‘เจ้า’ ไม่ใช่เทวดาที่มาจะสั่งการ บงการ หรือสั่งรัฐประหารแบบที่กลุ่มใต้ดินกล่าวหา ในยุคนี้มันไม่มีหรอกที่เขาจะเรียกให้ใครเข้าไปในวังเพื่อสั่งฆ่าคนโน้นคนนี้

"แม้แต่ 6 ตุลา ก็ไม่มี"

— สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล —

ที่มา :

[1] การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ว่าด้วยเรื่องรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, วิทยานิพนธ์ 2554 โดย เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์
[2] การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ในการเมืองไทย : ศึกษากรณีหมุดคณะราษฎร 2560, โดย นพปฎล ศรีวงษ์รัตน์
[3] Facebook แฟนเพจ แผ่นดินที่ ๙ : คลิปโฟนอินทรรศนะของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 28 มกราคม 2561

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า