หลักฐานใหม่ ถอนหงอก “สมเจียม” “ณัฐพล” โกหกกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8

หนึ่งในข้อมูลโกหกคำโตของ ณัฐพล ใจจริง เกี่ยวกับกรณีการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 คือ เนื้อหาที่กล่าวไว้ในหนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี หน้า 232 ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ “คำกล่าวอ้างต่อกรณีสวรรคต” ของพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Observer พ.ศ. 2500 ไว้ว่า

“หากนักข่าวต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับการสวรรคต ( ของในหลวงรัชกาลที่ 8 ) ควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน (ซึ่งในขณะนั้นคือในหลวงรัชกาลที่ 9)”

เห็นได้ชัดว่า นี่คือคำกล่าวอ้างลอย ๆ ที่ใส่ร้ายกล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยไม่มีหลักฐานพิสูจน์ใด ๆ และต่อมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้รับลูกต่อ โดยนำไปอ้างในบทความของตนบนเว็บไซต์ “ประชาไท” จนมีผู้คนแชร์ไปกว่า 10,000 ครั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ในที่สุด ได้มีหลักฐานชิ้นใหม่ที่สะสาง “คำโกหก” ของทั้งคู่ นั่นคือ เอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ที่ระบุชัดว่า คำสัมภาษณ์ของ พูนศุข พนมยงค์ ต่อกรณีสวรรคต “ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์” ลงในหนังสือพิมพ์ Observer แต่อย่างใด

ณัฐพล ใจจริง และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้กล่าวถึงประเด็น “คำกล่าวอ้าง” ของพูนศุข พนมยงค์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์ขณะอยู่ที่สิงคโปร์ และต่อมาได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ Observer ปี 2500 เกี่ยวกับประเด็น “กรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8” ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นที่ฮือฮาในกลุ่มที่เชื่อว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ผู้เป็นพี่ชาย (พระเชษฐา) โดยหลายคนปักใจเชื่อในข้อมูลชุดนี้ “เสมือนว่าเป็นเรื่องจริง”

แต่ทว่า ไม่นานมานี้ ข้อมูลชุดนี้ได้ถูกเปิดโปงแล้วว่า “เป็นการสร้างความเท็จอย่างจงใจ”

ผู้ที่กล่าวถึงประเด็นนี้ก่อนใคร คือ ณัฐพล ใจจริง ซึ่งได้บรรยายในวิทยานิพนธ์ หัวข้อ “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500)” ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552 หน้า 218 โดยณัฐพลได้อ้างอิงจากเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษคือ FO 371/129653, Whittington to Foreign Office, 15 May 1957

ต่อมาเนื้อความของวิทยานิพนธ์นี้ ได้ถูกปรับเป็นหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ในปี พ.ศ. 2563 โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งกำลังเป็นที่ระบาดทั่วไปในหมู่คนรุ่นใหม่ หนังลือเล่มนี้ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ในหน้า 232 ว่า

“ต่อมาทูตอังกฤษได้รับรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ (Observer) ซึ่งลงบทสัมภาษณ์ของพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดีกล่าวตอบข้อซักถามของนักข่าวเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยเธอแนะนำนักข่าวให้ไปถามบุคคลสำคัญ [ณัฐพลหมายความถึง ในหลวง ร.9] ที่รู้เรื่องดังกล่าว ทูตอังกฤษบันทึกว่า ขณะนั้นหนังสือพิมพ์ในไทยได้ใช้เรื่องสวรรคตโจมตีราชสำนักอย่างหนัก เขาเห็นว่ากรณีสวรรคตเป็นเรื่องอ่อนไหว และสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ของสถานทูตฯ รายงานข่าวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสวรรคตอีก”

แต่เมื่อไม่นานมานี้ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564) ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว จากเอกสารชั้นต้นฉบับเดียวกันของอังกฤษโดย “ทุ่นดำ-ทุ่นแดง” (นามปากกา) และ อ. ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [1] พบว่าสิ่งที่ณัฐพลได้ระบุไว้ ทั้งในวิทยานิพนธ์และหนังสือของเขา “ล้วนไม่ตรงตามข้อเท็จจริง” ดังนี้

  1. หนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ (Observer) “ไม่เคยลงบทสัมภาษณ์” ของพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดีเลย เพราะเอกสารชั้นต้นระบุเพียงว่าเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ทางทูตอังกฤษได้รับทราบมาว่า ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ ได้มีโอกาสพูดคุยกับพูนศุข ภริยาของปรีดี เกี่ยวกับกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ (ไม่ใช่สิงคโปร์อย่างที่สมศักด์ระบุ)
  2. เอกสารทางการทูตฉบับนี้ได้อ้างว่า พูนศุขได้กล่าวกับผู้เขียนบทความของหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ว่า “ถ้าต้องการที่จะรู้ความจริงเกี่ยวกับการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ [ในหลวงรัชกาลที่ 8] เมื่อ พ.ศ. 2489 ก็ควรไปถามพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน [ซึ่งในขณะนั้นคือในหลวงรัชกาลที่ 9]”
  3. เมื่อทราบเนื้อหาบางส่วนจากบทความสัมภาษณ์ดังกล่าว ทางสถานทูตอังกฤษในไทยจึงขอให้ผู้เขียนบทความระงับการตีพิมพ์ไปก่อน และขอให้เขามาแลกเปลี่ยน/ถกเถียงในประเด็นนี้กันอย่างเร่งด่วนที่กรุงเทพในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
  4. ท้ายที่สุด บทสัมภาษณ์ของพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของปรีดี ไม่เคยได้ลงตีพิมพ์ ทั้งในหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ฉบับใดในปี พ.ศ. 2500 หรือหลังจากนั้นเลย (ไม่พบในฐานข้อมูลทั้งหมด) จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็นไปได้ว่า ภายหลังการถกเถียงกันที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ผู้เขียนบทความคงพบว่า คำกล่าวอ้างของพูนศุข คงจะไม่เป็นประโยชน์และฟังไม่ขึ้น ขัดกับหลักฐานอื่น ๆ ที่มีอยู่อย่างหนักแน่นกว่าว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เขาจึงตัดสินใจ “เททิ้ง” บทสัมภาษณ์ดังกล่าวไป จากแต่เดิมที่มีกำหนดจะตีพิมพ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2500

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ สรุปว่า การที่ณัฐพล ใจจริง และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ที่อ้างงานของณัฐพลมาอีกทอดโดยไม่ได้อ่านเอกสารชั้นต้นเอง) ได้เขียนลงในงานวิชาการเสมือนว่า “มีการตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของพูนศุข พนมยงค์ในหนังสือพิมพ์ออบเซอร์ฟเวอร์ (Observer)” ถือได้ว่าเป็นการจงใจให้ “ข้อมูลเท็จ” เพราะขัดกับหลักฐานชั้นต้นในหอจดหมายเหตุแห่งชาติของอังกฤษ ที่ไม่พบข้อมูลการตีพิมพ์บทสัมภาษณ์นี้เลย

แต่สองนักวิชาการเลี้ยงแกะ กลับเอาเรื่องนี้มาขยายความเป็นตุเป็นตะ ถึงขนาดฟันธงว่าเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จริง ๆ ทั้งที่พวกเขาบางคน ยังไม่เคยเห็นเอกสารชั้นต้นดังกล่าว หรืออ่านมันอย่างละเอียดแต่อย่างใดเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น การ “กุ” ข้อมูลทางวิชาการเช่นนี้ จึงเป็นการขาดซึ่งจรรยาบรรณ และเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

สุดท้ายคำพูดของพูนศุข พนมยงค์ ก็เป็นแค่การกล่าวอ้างลอย ๆ ที่ใส่ร้ายกล่าวหาในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยไม่มีหลักฐานพิสูจน์ใด ๆ และข้อมูลจากหนังสือตลอดจนบทความของทั้งณัฐพล ใจจริง และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็เป็นเพียงการโกหกคำโต ที่จงใจส่งต่อ “ข้อมูลเท็จ” ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่

อ้างอิง :

[1] “ทุ่นดำ-ทุ่นแดง” กับ “กรณีสวรรคต” (กรณี ณัฐพล-สมศักดิ์)
[2] FO 371/1/129653 From Bangkok to Foreign Office. 15 May 1957
[3] DS 1941/1 (A) From Phnom Penh to Foreign Office. 16 May 1957

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า