จาก ‘ผู้ก่อการ’ สู่ ‘กบฏยังเติร์ก’ รัฐประหารที่ล้มเหลวเองตั้งแต่เริ่ม

ตีสองของวันที่ 1 เมษายน 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นรถพร้อมนายทหารรักษาความปลอดภัยออกจากบ้านสี่เสาเทเวศร์ มุ่งหน้าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เพื่อเข้าสมทบกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ก่อนแล้ว โดยกลุ่มคณะผู้ก่อการรัฐประหาร นำโดย พลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา, พันเอก มนูญ รูปขจร, พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร และกลุ่มนายทหารหนุ่มจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 7 หรือกลุ่มยังเติร์ก

ทุกอย่างดูง่ายดาย เป็นไปตามแผนของคณะผู้ก่อการ

แต่หารู้ไม่ว่า นี่คือจุดพลิกผัน และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่จะตามมา ซึ่งได้แปรสถานะของกลุ่มยังเติร์กจาก ‘ผู้ก่อการรัฐประหาร’ สู่ ‘กบฏเมษาฮาวาย’ ภายในเวลาอันรวดเร็ว

พลเอก เปรม สามารถหลบออกจากบ้านสี่เสาเทวศร์ มุ่งหน้าสู่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา และตั้งกองบัญชาการต้านฝ่ายก่อการขึ้นที่นั่น พร้อมกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 เพื่อความปลอดภัย

จากนั้น ด้วยความร่วมมือของนายทหารฝั่งรัฐบาล นำโดย พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก ผนวกกับปฏิบัติการที่ได้ผลทั้งทางกำลังพล การสื่อสาร และทางจิตวิทยา ทำให้หน่วยเฉพาะกิจสุรนารีและกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ และทำการจับกุมตัวนายทหารฝั่งคณะผู้ก่อการได้ ชนิดที่เรียกว่าแทบไม่เกิดความสูญเสียใด ๆ กระทั่งรัฐประหารเมษาฮาวาย จบลงภายในเวลาไม่ถึงสามวัน

เหตุการณ์เหล่านี้มีที่มาที่ไป และข้อมูลที่ชัดเจนตรงกันจากหลายแหล่งข่าว (ซึ่งสืบค้นข้อมูลกันได้ไม่ยาก)

แต่สุดท้าย ไม่วายเกิดเรื่องปั้นแต่งผูกสร้างความลวงขึ้นอีกจนได้

ความเท็จ

มีเพจหนึ่งได้หยิบยกเรื่องกบฏเมษาฮาวาย มากล่าวอ้าง โดยยกเรื่องราวมาเพียงนิดหน่อย แล้วปั้นเสริมเติมแต่งด้วยอคติส่วนตัว เพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์

ซึ่งมีการสรุปโดยตั้งธงเอาไว้แล้วว่า

การที่พระมหากษัตริย์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเซ็นรัฐประหาร นั้นไม่ใช่ความจริง เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 สามารถเลือกได้ และเลือกมาแล้ว ดังเช่นเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย

การรัฐประหารครั้งนี้ต้องล่มไป เพราะในหลวงไม่ทรงเซ็นรัฐประหาร

ความจริง

  1. การรัฐประหารในช่วง 1 – 3 เมษายน พ.ศ.2524 (กบฏเมษาฮาวาย) เป็นการรัฐประหารที่ล้มเหลว เพราะคณะผู้ก่อการไม่สามารถ ‘ยึดอำนาจรัฐได้เด็ดขาด’ หรือ ‘ล้มเหลวตั้งแต่เริ่ม’ กระทั่งนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ในรัฐบาลยังสามารถหนีการจับกุมไปได้
  2. เมื่อคณะผู้ก่อการ (กลุ่มยังเติร์ก) ไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้อย่างเด็ดขาดในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้อำนาจบังคับบัญชาสั่งการมีปัญหา ไร้เอกภาพ จนกระทั่งบรรดาผู้ที่ถูกเรียกให้มารายงานตัวต่อคณะรัฐประหารเริ่มทยอยถอนตัวไปร่วมกับรัฐบาลที่กองทัพภาค 2 โคราช ส่งผลให้การรัฐประหารกลายเป็นการกบฏ
  3. ข้อนี้ชี้ชัดในแง่ที่ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 จะ ‘เซ็นรัฐประหาร’ ได้อย่างไร ในเมื่อคณะรัฐประหารไม่เคยถวายเอกสารใด ๆ ให้ในหลวง และเป็นแค่ประกาศยึดอำนาจในนามของทหารกลุ่มหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งทางรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่ยังเหลือรอดอยู่ก็ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไปได้ แม้ในช่วงสถานการณ์คับขัน แสดงว่ารัฐบาลยังมีเอกภาพ
  4. รัฐบาล พลเอก เปรม ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐบาลอย่างถูกต้องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ต่อจากรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) ทั้งสถานการณ์ก่อนรัฐประหารก็ไม่ได้มีเหตุการณ์จลาจลรุนแรง การชุมนุม หรือวิกฤติอื่นใดที่จะสนับสนุนว่ารัฐประหารครั้งนี้เกิดความชอบธรรม อเมริกาเองในตอนนั้นก็ยังคงรับรองรัฐบาลพลเอกเปรมที่โคราช (อ้างอิงจากหนังสือ เสี้ยวหนึ่งของการทูตไทยร่วมสมัย)

จากข้อเท็จจริงข้างต้น สรุปได้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงกระทำถูกต้องตามหลักแห่งพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) แล้ว

เป็นที่ชัดเจนว่า ด้วยความมีเอกภาพ และปฏิบัติการที่รวดเร็วของฝ่ายรัฐบาล กอปรกับความผิดพลาดอย่างแทบไม่น่าเชื่อของฝ่ายคณะรัฐประหารเอง ที่นำไปสู่การพลิกเกม และเปลี่ยนสถานะพวกเขาจาก ‘ผู้ก่อการ’ สู่ ‘กบฏยังเติร์ก’ ในที่สุด

ดังนั้น การที่ในหลวงไม่ทรงเซ็นรัฐประหาร ทำให้เหตุการณ์เมษาฮาวายกลายเป็นกบฏ เป็นเรื่อง ‘ไม่จริง’

เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่เคยอยู่เบื้องหลังรัฐประหารครั้งใด ๆ

ที่มา :

เสี้ยวหนึ่งของการทูตไทยร่วมสมัย : อยากเป็นทูตก็ไม่ยาก / โดย อดีตทูต (วิ) สามัญ : ทัศนีย์ โกกิลานนท์, 2557 [2014] พิมพ์ครั้งที่ 1, 164 หน้า, ISBN:9786163616609; 616361660X

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า