แฉวีรกรรมจุ้นจ้านของราชสำนักฝรั่งเศส ‘ตั๋วปารีส 1778’ เมื่อ ‘เบนจามิน เฟรงคลิน’ รับงาน แอบเปิดประตูหลังให้ฝรั่งเศสทุบอังกฤษ อ้างช่วยปล่อยอเมริกาให้เป็นอิสระ

เมื่อพูดถึง ‘ตั๋วปารีส’ คนไทยทั่วไปก็มักจะนึกถึงกรณีที่นักการเมืองไทยคนหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์การต่างชาติที่มีความเป็นไปได้สูงในการพยายามที่จะแทรกแซงการเมืองการปกครองของประเทศไทยเราผ่าน ‘นายหน้า’ ที่เป็นนักการเมืองท่านนั้น

อย่างไรก็ดี บรรดาแม่ยกแฟนคลับที่ยังศรัทธาต่อพรรคการเมืองพรรคนี้อย่างโงหัวไม่ขึ้น คงจะหัวเราะใส่ใครก็ตามที่ยกเอาเคส ‘ตั๋วปารีส’ มาพูด ทั้งที่หลักฐานความเกี่ยวข้องรวมถึงพฤติกรรมตามที่มีฝ่ายเดียวกันออกมาแฉก็ทนโท่เสียขนาดนั้น แต่ถ้าตามประวัติศาสตร์แล้ว ‘ตั๋วปารีส’ นั้นมีจริงแน่เมื่อเกือบ 250 ปีก่อน และผลลัพธ์ของ ‘ตั๋วปารีส’ ฉบับดังกล่าวได้ส่งผลสืบเนื่องมาจนถึงการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันเลยทีเดียว

หลายคนในขณะที่อ่านบทความนี้อยู่คงจะชินกับชื่อ ‘เบนจามิน เฟรงคลิน’ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเป็นอย่างดี ตำราเรียนสมัยประถมจนถึงมัธยมของกระทรวงศึกษาธิการไทยต่างก็ได้บรรจุและกล่าวซ้ำถึงบุคคลท่านอยู่บ่อยครั้ง แต่คนไทยน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเขายังมีอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในฐานะหนึ่งใน ‘บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา’ (Founding fathers) และแฟรงคลินผู้นี้เองที่มีบทบาทสำคัญต่อ ‘เอกราชของสหรัฐอเมริกา’ ซึ่งในเวลานั้นยังถือว่าเป็นเพียงดินแดนอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire)

ทั้งนี้ ควรต้องกล่าวด้วยว่าความขัดแย้งอย่างสำคัญระหว่างชาวอาณานิคมอเมริกันกับประเทศแม่ (อังกฤษ) คือการที่รัฐสภาของอังกฤษได้พยายามที่จะขยายอำนาจของพวกเขาเข้าไปในดินแดนอาณานิคม ผ่านการตรากฎหมายแสตมป์ ภาษีชา และอื่น ๆ โดยชาวอเมริกันรู้สึกว่าบรรดาสภาผู้แทนราษฎรของรัฐสภาอังกฤษ ‘ไม่มีสิทธิ์’ ในการตรากฎหมายเพื่อบังคับใช้พวกเขา เพราะในรัฐสภาแห่งอังกฤษนั้นหาได้มีตัวแทนของชาวอเมริกันเข้าไปเป็น ส.ส. แต่อย่างใด

เบื้องต้น บรรดานักเคลื่อนไหวและปัญญาชนชาวอเมริกันได้เรียกร้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษ ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าจอร์จที่ 3 ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ทรงแสดงบทบาทในการปกป้องเสรีภาพของพสกนิกรอเมริกันของพระองค์ ตามความเข้าใจของปัญญาชนอเมริกันที่ว่า ‘อเมริกาเป็นเพียงดินแดนนิคมที่อยู่นอกราชอาณาจักรอังกฤษที่ตั้งขึ้นมาจากพระราชอำนาจตามกฎบัตรที่ออกโดยพระมหากษัตริย์ ด้วยเหตุนั้น กฎหมายที่ออกในอังกฤษโดยรัฐสภาจึงมิอาจบังคับใช้ในอเมริกา’ ด้วยเหตุนี้ ข้อเรียกร้องของชาวอเมริกาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ช่วงแรก ๆ จึงมีลักษณะเป็นแบบนิยมเจ้าอย่างยิ่ง เช่น การประกาศว่าอเมริกาขึ้นกับพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง รัฐสภาไม่มีสิทธิแทรกแซง (ก่อนที่พวกเขาจะเปลี่ยนใจมาเป็นสาธารณรัฐนิยมในเวลาต่อมา)

สำหรับแฟรงคลินนั้น เขาเองก็เคยใช้ข้ออ้างแบบ ‘พวกรอยัลลิสต์-นิยมเจ้า’ ในการต่อต้านอำนาจของรัฐสภาอังกฤษเหมือนกัน เช่นที่เขาเขียน ‘อวยเจ้า’ กระทั่งว่า [อเมริกาเป็น] ‘…อิสระจากการที่จะต้องเชื่อฟังฝ่ายนิติบัญญัติอังกฤษ… แต่ไม่ใช่ต่ออำนาจราชบัลลังก์… แม้พวกเราจะเป็นดินแดนที่แตกต่างออกไป หากแต่ก็ยังถูกนับเป็นพสกนิกรของกษัตริย์อังกฤษอยู่… อเมริกาหาใช่ประเทศเดียวกับอังกฤษ ไม่มีใคร [ในอเมริกา] คิดว่าเขาไม่ได้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจในการตรากฎหมายของราชบัลลังก์หรือของชุมนุมชนที่พวกเขาแต่งตั้งขึ้นมา… เกียติยศของกษัตริย์หาได้เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเรื่องอากรแสตมป์ หากแต่กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาอังกฤษนั่นเล่าที่เกี่ยวข้องล้วน ๆ ทีเดียว

อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดของระบอบการปกครองแบบรัฐสภาเป็นใหญ่ (Parliamentary Supremacy) อันเป็นมรดกของอังกฤษยุคที่ฝ่ายวิกเรืองอำนาจ (Whig Supremacy) ทำให้ประเพณีการปกครองของอังกฤษนั้นเปลี่ยนไป กล่าวคือ การเกิดขึ้นของนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ที่ทำหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์ในการบริหาราชการแผ่นดิน รวมถึงคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ที่มาจากรัฐสภา (จากเดิมคือคณะองคมนตรี) และที่สำคัญที่สุด หลักการที่พระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นเพียงประมุขของชาติและไม่สามารถ ‘ขัดข้อง’ ต่อความต้องการของรัฐสภาได้ (เพราะจะเป็นการผิดต่อรัฐธรรมนูญ) ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจอร์จที่ 3 จึงจำต้องทรงวางเฉยต่อกรณีความขัดแย้งในอเมริกา ทำให้ต่อมาได้เกิดกระแสต่อต้านพระองค์และเกิดเป็นกระแสสาธารณนิยมหนักขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเผยแพร่หนังสือ ‘Common sense’(สามัญสำนึก) ของ โทมัส เพน ที่เสนอให้ขุดรากถอนโคนแนวคิดการปกครองแบบอังกฤษให้สิ้นซาก อีกทั้งเพนยังเสนอให้อเมริกาตัดสินใจเรียกร้องเอกราชอย่างเด็ดขาดจากอังกฤษ และปฏิเสธสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย

และเมื่อหมดหวังกับการให้สถาบันพระมหากษัตริย์แทรกแซงฝ่ายรัฐสภา (ผู้คุมอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงของอังกฤษ) บรรดาปัญญาชนอเมริกันจึงต้องหันไปพึ่งอำนาจบารมีของผู้อื่น นั่นก็คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กษัตริย์ของฝรั่งเศสและบรรดาชนชั้นสูงของประเทศนี้แทน เพราะเป็นที่ทราบดีว่าชาติคู่ปรับของอังกฤษในเวลานั้นคือฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อได้รับภารกิจในฐานะ ‘ทูต’ ของสภาคองเกรสแห่งภาคพื้นทวีป (อเมริกัน) เบนจามิน แฟรงคลิน ได้เดินทางจากอเมริกาไปยังปารีสทันทีเพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือสู้รบกับอังกฤษในปี ค.ศ.1776

ณ ปารีส แฟรงคลินได้รับความนิยมจากบรรดาชาวฝรั่งเศสอย่างมากมายโดยเฉพาะชนชั้นสูงเพราะเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง แต่ ‘ตั๋วปารีส’ ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จง่าย ๆ แม้ในช่วงดังกล่าวราชสำนักฝรั่งเศสจะส่งความช่วยเหลืออย่างลับ ๆ ต่อกองทัพอเมริกัน แฟรงคลินต้องรอถึง 2 ปี กว่าทางราชสำนักฝรั่งเศสจะยอมลงนามช่วยเหลือการปฏิวัติอเมริกาอย่างเป็นทางการในปี 1778 ภายใต้ ‘สนธิสัญญาเจริญไมตรี การค้าและการเป็นพันธมิตร 1778’

เป็นที่ทราบกันดีว่าสัญญาฉบับดังกล่าวคือ ‘ตั๋วปารีส 1778’ หรือ ‘ใบเบิกทาง’ ไปสู่รัฐเอกราช เพราะราชสำนักฝรั่งเศสได้ตกลงว่าพวกเขาจะสนับสนุนทั้งกำลังอาวุธ สินค้า ตลอดจนความต้องการอื่น ๆ แก่ขบวนการปฏิวัติอเมริกา และเหนือสิ่งอื่นใด สัญญาฉบับนี้ยังเป็นการรับรองอเมริกาในฐานะ ‘ชาติใหม่’ อย่างเป็นทางการจากมหาอำนาจในเวลานั้นอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าหากไม่มีความช่วยเหลือจาก ‘ราชสำนักฝรั่งเศส’ ก็คงจะไม่มีประเทศอเมริกาที่เป็นเอกราชในทุกวันนี้ และกว่าอเมริกาจะมาถึงจุดนี้ได้ ก็ต้องอาศัย ‘ตั๋วปารีส 1778’ ในฐานะใบเบิกทางสู่ความเป็นชาติใหม่

ต้องขอขอบคุณสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศสและเบนจามิน แฟรงกลินผู้เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และรอยัลลิสต์จริง ๆ !

อ้างอิง :

[1] Eric Nelson. The Royalist Revolution : Monarchy and The American revolution. (
Harvard U. Press : London). 2014.
[2] Benjamin Franklin sails to France, Oct. 26, 1776
[3] M.E. Bradford. Founding Fathers. (University of Kansas). 1981.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า