‘เสรีภาพทางวิชาการ’ เกราะกำบังและเครื่องมือฉ้อฉล ของอาชญากรทางวิชาการ

เสรีภาพทางวิชาการ” คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้นักวิชาการต่างๆ สามารถค้นคว้าวิจัย หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ทางวิชาการได้อย่างอิสระ

แต่ปัญหาคือ “เสรีภาพทางวิชาการ” มักถูกนักวิชาการบางคนเอามาใช้เป็น “เกราะกำบัง” แล้วอาศัยช่องว่างสร้างข้อมูลบิดเบือนขึ้นมา เพื่อใช้สนับสนุนแนวความคิดของตัวเอง หรือเพื่อชี้นำเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่สังคม หรือแม้กระทั่งเพื่อใช้โจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย

การบิดเบือนในงานวิชาการพวกนี้ เรียกว่า “การฉ้อฉลในงานวิจัย” ซึ่งเป็นเจตนาของตัวนักวิจัยหรือนักวิชาการเอง ที่จงใจสร้างข้อมูลเท็จด้วยทริกต่างๆ นานา เช่น การกุข้อมูลขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง หรือมีอ้างอิงแต่กลับเอาข้อมูลของเอกสารชั้นต้นที่ใช้อ้างอิงมาไม่ครบ หรือบางทีก็บิดเบือนจนกลายเป็นคนละเรื่องไปเลย

ซึ่งบ่อยครั้งที่ทริกพวกนี้มักผ่านการตรวจสอบ หรือรอดหูรอดตาไปได้ด้วยคำว่า “เสรีภาพทางวิชาการ”

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการฉ้อฉลในงานวิจัยนี้ มาจากทั้งเรื่องของชื่อเสียง ตำแหน่ง การได้รับการยอมรับ หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนความเชื่อของตัวเองเพื่อชี้นำหรือเร่งเร้าให้เกิดความแตกแยกในสังคม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความวุ่นวายทางการเมืองในหลายๆ ครั้ง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากการป้อนข้อมูลบิดเบือนและการชี้นำจากงานวิชาการพวกนี้

งานวิชาการฉ้อฉลที่เต็มด้วยข้อมูลบิดเบือนเหล่านี้ ได้ชี้นำชุดความคิด เปลี่ยนผิดให้เป็นถูก แล้วปลูกถ่ายความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ไปแล้วมากมาย จนบางครั้งนำไปสู่การคุกคามผู้อื่นและสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งการฉ้อฉลในงานวิจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ และถือเป็น “อาชญากรทางวิชาการ” ที่สมควรได้รับโทษทางกฎหมาย

เราจะแยกงานวิชาการฉ้อฉลออกจากงานวิชาการทั่วไปได้อย่างไร ? และนักวิชาการเหล่านี้มักใช้ทริกแบบไหนบ้างในการบิดเบือนข้อมูล ? ไปพบคำตอบกันในคลิปวิดีโอนี้ครับ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r