เปิดหลักฐานลบล้างวาทกรรมแบ่งแยกดินแดน ‘โคกโพธิ์’ และ ‘หนองจิก’ ไม่เคยเป็นของอาณาจักรปัตตานีโบราณ

บทความโดย จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี

ดังที่ปรากฏบทความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับประวัติและที่มาของ ‘เมืองหนองจิก‘ บทความหนึ่งในเฟซบุ๊กเมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนพบว่าการกล่าวอ้างว่าหนองจิกเคยเป็น 1 ใน 7 ของเมืองบริวารของเมืองปัตตานีโบราณ (ปตานี) และกล่าวใส่ร้ายอีกด้วยว่าชาวเมืองหนองจิกในช่วงปลายรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 2 ได้ร่วมกันก่อกบฏต่อสยาม ซึ่งหากใครติดตามประวัติศาสตร์ในช่วงนี้อย่างดีจะทราบว่า สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเต็มไปด้วยความเท็จและไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับแต่ประการใด

ด้วยเหตุนี้ ความเท็จทางประวัติศาสตร์ทั้งปวงนี้จะต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งผู้เขียนบังเกิดความอดสูที่จะปล่อยให้แวดวงวิชาการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องแปดเปื้อนไปด้วย ‘ความรู้อันเป็นเท็จ’ ที่ถูกเขียนขึ้นอย่างอวิชาอันมีจุดประสงค์ไปในทางยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและความชิงชังของประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่จะได้ขจัดปัดเป่าความเท็จดังกล่าวให้หมดสิ้นไปผู้เขียนขอโต้แย้งบทความชิ้นนั้น ด้วยข้อมูลที่มีหลักฐานชั้นต้นยืนยัน ดังนี้

  1. กรณีที่ว่าเมืองหนองจิกเคยเป็นของปัตตานีโบราณ (ปตานี)

ตอบ : เป็นความเท็จ เพราะหากกลับไปอ่านฮิกายัตปัตตานี (พงศาวดารราชสำนักปัตตานี) จะพบว่าไม่มีข้อความใดกล่าวอ้างถึงการครอบครองพื้นที่ปัตตานีตอนบนอันมีบริเวณติดกับตอนใต้ของสงขลาเลย ราชสำนักปัตตานีในสมัยอยุธยาไม่เคยพูดถึงชื่อของเมืองหนองจิกหรืออาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องด้วยซ้ำ มิพักต้องพูดถึงอำเภอโคกโพธิ์ในปัจจุบันที่อยู่ติดกัน (โคกโพธิ์อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน) ซึ่งปัจจุบันจะพบว่าทั้ง 2 อำเภอนี้มีคนไทยนับถือศาสนาพุทธอาศัยมาตั้งแต่ยุคดั้งเดิม อีกทั้งคนมุสลิมดั้งเดิมในพื้นที่ดังกล่าว ก็ไม่ใช่คนนายู (มลายูปัตตานี) หากแต่เป็นคนมุสลิมพูดปักษ์ใต้ (คนแขก) ย่อมแสดงว่าประชาชนในพื้นนี้ไม่สามารถนับรวมเข้าพวกกับคนนายูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้ หากแต่พวกเขามีความใกล้ชิดกับคนแขก 4 อำเภอของสงขลามากกว่า (จะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี)

นอกจากนั้น เมื่อนำเอาบันทึกของชาวต่างประเทศที่กล่าวถึงอาณาจักรปัตตานีโบราณเมื่อ 439 ปีก่อนนั่นคือ เอกสาร ‘Roteiro de Patane’ ของ D. Joao Ribeiro Gaio (1584) บิชอปชาวโปรตุเกสแห่งมะละกา บิชอปได้บันทึกเอาไว้ว่าอาณาเขตของปัตตานีโบราณนั้นไม่ไกลไปกว่ากรือเซะและปะนาเระ อันเป็นเมืองที่ D. Joao Ribeiro Gaio ระบุว่าคลาคล่ำไปด้วยคนจีนผู้มีทรัพย์กว่า 3,000 คนจากเมืองจิ้งโจว ประเทศจีน จะเห็นได้ว่าเอกสารบันทึกจากปากคำชาวต่างชาติที่ย้อนไปในยุคทองของปัตตานี ก็กล่าวถึงเพียงว่า ปัตตานีในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดมีอาณาเขตถึงแค่เพียงกรือเซะและปะนาเระบริเวณอ่าวปัตตานีเท่านั้น หาได้กินพื้นที่ไปถึงอำเภอหนองจิกและโคกโพธิ์แต่อย่างใด อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่นี้ก็เป็นคนจีนผู้มั่งคั่งจำนวนถึง 3,000 คน

ควรกล่าวด้วยว่าการแบ่งเมืองปัตตานีเป็น 7 เมืองในสมัยรัชกาลที่ 2 จนทำให้เกิดหน่วยการปกครองที่เรียกว่า ‘เมืองหนองจิก’ (Nong Chik) ขึ้นนั้น เป็นประดิษฐกรรมทางการเมืองการปกครองใหม่ของสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ในการสถาปนาให้มีเมืองใหม่  (establishment) ขึ้นโดยยกฐานะจาก ‘บ้านหนองจิก’ ที่มีมาอยู่แต่ก่อนในช่วงที่ตระกูลเจ้าเมืองสงขลาลงมาปกครองปัตตานี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ลงมาแบ่งเมืองปัตตานีเป็น 7 เมือง ‘เมืองหนองจิก’ เลยถูกสถาปนาขึ้นมานับแต่นั้น

  1. พระราชวงศ์หนองจิกถูกฝ่ายสยามทำลายจริงหรือ ?

ตอบ : ไม่จริง และราชวงศ์หนองจิกก็ไม่มีจริงด้วย หากติดตามเอกสารชั้นต้นให้ดี พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ได้ระบุว่า เมื่อได้แบ่งปัตตานีเป็น 7 เมืองตามที่รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ แล้ว พระยาอภัยสงครามฯ ข้าหลวงสยามจากกรุงเทพฯ รวมถึงพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) ได้ ‘บังคับ’ ให้พระยาตานี (พ่าย) จัดหาฝ่ายเจ้าปัตตานีเก่าที่เคยใช้สอยมาแต่งตั้งเป็น ‘เจ้าเมือง’ (แต่ยศมลายูใช้ ‘รายา’) ขึ้นปกครองเมืองที่แยกมาตั้งใหม่อีก 6 แห่ง ได้แก่ หนองจิก ยะหริ่ง สาย ยะลา รามันห์ และระแงะ และสำหรับเมืองหนองจิกนั้น พระยาตานี (พ่าย) ได้ตั้งให้ ‘ต่วนหนิ’ เป็นเจ้าเมือง และตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลดาโต๊ะ-คอลอตันหยง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ราชวงศ์หนองจิกไม่มีจริง หากแต่เป็นเพียงตระกูลเจ้าเมืองที่ถูกคนสยามตั้งขึ้นให้มีฐานะเป็น ‘เจ้าเมือง’ (ในทำนองคล้าย governor) เท่านั้น

ต่อมาเมื่อต่วนหนิเสียชีวิตลง ทางสยามก็ได้แต่งตั้งให้ ‘ต่วนกะจิ’ เป็นเจ้าเมืองหนองจิกสืบต่อมาแทน แต่หลังจากนั้นต่วนกะจิก็ได้กระทำตัวเป็นกบฏในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงถูกจับแล้วตัดสินประหารชีวิตเสียตามโทษานุโทษ จึงนับเป็นการสิ้นสุดการปกครองเมืองหนองจิกจากตระกูลต่วนหนิ เพราะแต่นั้นสืบมาเมืองหนองจิกก็กลายเป็นพื้นที่ปกครองของตระกูลอื่น อาทิ นายเม่น ตนกูปะสา (บือซา) พระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง) จากตระกูล ‘เค่ง’ และพระยาหนองจิก (เวียง) เป็นต้น

โดยในสมัยของ พระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง) ได้ย้ายที่ทำการของวังเจ้าเมืองจากตำบลคลองใหม่ เขตยะรัง มาไว้ที่ตำบลงตุหยง เมืองหนองจิก และทางราชการก็ได้ใช้ตำบลตุหยงเป็นสถานที่ราชการมาโดยตลอด กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการในอีกหลายสิบปีต่อมา เมืองหนองจิกจึงกลายสภาพมาเป็น ‘อำเภอหนองจิก’ อันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานีจวบจนปัจจุบัน

อ้างอิง :

[1] Daniel Perret and Jorge Santos Alves. Patani through foreign eyes : 16th-17th. (2022)
[2] พระยาวิเชียรคีรี (ชม). พงศาวดารเมืองปัตตานี.
[3] พระศรีบุรีรัฐ. ตำนานมณฑลปัตตานี.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า