ประวัติศาสตร์นอกขนบ คำบิดเบือนสวยหรูจากนักวิชาการนอกรีต
ช่วงหลัง ๆ มานี้ หลายท่านอาจจะเคยเห็นคำว่า “นอกขนบ” ในหลาย ๆ สื่อ โดยเฉพาะ โซเชียลมีเดีย เช่น ประวัติศาสตร์นอกขนบ ที่มีนักวิชาการบางคนพยายามยกคำให้สวยหรู เพื่อให้ดูเป็นชุดความคิดแตกต่างล้ำกรอบ นำไปสู่การค้นพบความจริงใหม่ ๆ ทว่าเนื้อในนั้นแท้จริงมีแต่อคติที่พยายามด้อยค่าประวัติศาสตร์เสียเอง จนน่าจะเรียกได้ว่า “นักวิชาการนอกรีต” มากกว่า
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า คำว่า “ขนบ” จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า “ขนบ แปลว่า แบบอย่าง แบบแผน และระเบียบ”
ตัวอย่าง การนอกขนบ เช่น เรื่องการบันทึกข้อมูล มนุษย์โบราณ จะวาดภาพและอักษร บนวัสดุที่หาได้ง่าย เช่น หิน กระดูก และแผ่นไม้ เมื่อสามารถผลิตกระดาษได้ เช่น กระดาษไช่หลุนของจีน กระดาษปาปิรุสของอียิปต์ หรือ กระดาษใบลานของไทย แทนวัสดุเดิม เมื่ออุตสาหกรรมพัฒนาขึ้น กระดาษแบบเก่า ก็หมดความนิยมลงไป เป็นกระดาษที่ผลิตได้มากขึ้นและราคาถูกลง เมื่อการบันทึกในกระดาษถูกมองว่า เริ่มสิ้นเปลืองพื้นที่ เก็บรักษายาก และมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จะเริ่มมีการบันทึกข้อมูลในลักษณะ ซอฟแวร์ ในคอมพิวเตอร์ และสามารถเก็บรักษาใน ฮาร์ดไดรฟ์พกพารูปแบบต่าง ๆ จนถึง การบันทึกใน คลาวด์ ในปัจจุบันนี้
นอกขนบ คือ การคิดต่างเพื่อให้เกิดพัฒนา ต่อยอดให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้น
ส่วนนั้นว่า “นอกรีต” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า คือ การไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี ตัวอย่างเช่น นักบวชที่กระทำตนเป็นอลัชชี บิดเบือนและไม่ประพฤติตนตามคำสอนของพระศาสดา เฉกเช่น พระเทวทัต เป็นต้น หนุ่มสาว ที่หนีพ่อแม่ตามกันไป โดยไม่มีการสู่ขอให้ถูกต้องตามประเพณี เป็นเหตุให้วงศ์ตระกูลต้องเสื่อมเสีย
การกระทำนอกรีต นอกจากจากสร้างผลลบต่อตนเองและสังคมแล้ว ยังไม่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดความเจริญได้เลย
ดังนั้น นอกขนบ กับ นอกรีต มีความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง และสิ่งที่ท่านจะต้องพิจารณาต่อไป คือ ข้อมูล แนวคิด ที่ท่านได้รับรู้มานั้น คือ เรื่อง “นอกขนบ” หรือ “นอกรีต”
ดังเช่นสิ่งที่นักวิชาการบางคนพยายามกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงด้อยค่าประวัติศาสตร์ดั้งเดิมด้วยอคติและการชี้นำผิด ๆ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความหมายของ “ประวัติศาสตร์นอกขนบ” ที่แท้จริง หากแต่เป็นการทำลายคุณค่าของประวัติศาสตร์เสียเอง ด้วยคำพูดบิดเบือนสวยหรูจาก “นักวิชาการนอกรีต”