แนวคิดพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ที่รัชกาลที่ 10 ทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

หากจะบอกว่านับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักแนวคิดพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด คำพูดนี้ไม่ได้ผิดเพี้ยนแต่ประการใดเลย และทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเรามาดูกันครับ

ในอดีตพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงมีสถานะเป็นผู้นำรัฐบาลพร้อม ๆ กับการเป็นประมุขของประเทศในคน ๆ เดียว หมายความว่าพระองค์จะต้องทรงรับผิดชอบต่อกิจการบ้านเมืองทุกอย่าง ไม่ว่าจะทั้งการบริหาร การปกครอง การเงินการคลัง การทหาร และการต่างประเทศ คล้ายกับพระองค์ทรงเป็นนายกรัฐมนตรีไปในตัว

แต่การปกครองรูปแบบนี้ได้สิ้นสุดลงไป เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ซึ่งรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองของไทยในปัจจุบัน ได้จำกัดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ลง โดยให้องค์พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะประมุขของประเทศ (Head of State) เท่านั้น

การจัดตั้งรัฐสภาและรัฐบาลจึงตกเป็นอำนาจการตัดสินใจของประชาชน ไม่ใช่ “พระราชประสงค์” อีกต่อไป แต่ตามรัฐธรรมนูญก็ยังถือว่าเป็นการจัดตั้งรัฐบาลในนามของพระมหากษัตริย์ หรือ “รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งนายกรัฐมนตรีในฐานะประมุขของฝ่ายบริหาร (Head of Government) จะตั้งรัฐบาลขึ้นมาเองไม่ได้ แม้ว่าจะได้รับเสียงส่วนใหญ่มาจากประชาชนก็ตาม แต่จะต้องมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลโดยพระมหากษัตริย์ตามประเพณีการปกครองเสียก่อน นายกรัฐมนตรีจึงจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างถูกต้องชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ และการบริหารราชการบ้านเมืองในภาวะปกติ รัฐบาลอาจถือว่าเป็นตัวแทนของพระองค์ได้เช่นกันในฐานะ “รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” (His Majesty’s government)

อย่างไรก็ดี พระราชอำนาจบางส่วนในทางประเพณีการปกครองของพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีอยู่ แต่จะถือว่าเป็นอำนาจพิเศษ (reserve power) ที่สงวนไว้ใช้ในสถานการณ์ไม่ปกติ เช่น เมื่อรัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป และรัฐสภาก็ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ขัดแย้งให้คลี่คลายลงได้

หน้าที่ในการแก้ไขความขัดแย้งนี้ ก็จะถูกหมุนกลับ (rotate) ไปสู่รูปแบบเดิมที่ต้องใช้พระราชอำนาจทางประเพณีของพระมหากษัตริย์ ที่พระองค์สามารถเข้ามายุติความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ “โดยไม่ถือว่าละเมิดรัฐธรรมนูญ” (violate the Constitution) หรือ “แทรกแซงการเมือง” แต่อย่างใด

นอกจากนี้ การดำเนินพระราชกรณียกิจในการช่วยเหลือประชาชน ก็ถือกันว่าเป็นพระราชอำนาจตามประเพณี ตราบใดที่พระราชกรณียกิจเหล่านั้นไม่ได้ละเมิดอำนาจและการดำเนินการของรัฐบาล หรือขัดแย้งกับระเบียบข้อกฎหมาย ซึ่งพระราชกรณียกิจดังกล่าว ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ดังนั้น การห้ามไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแก่ราษฎรของพระองค์ ก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนประเพณีการปกครองของไทย เนื่องจากเป็นการขัดขวางไม่ให้ประมุขในฐานะตัวแทนที่มีชีวิตจิตใจของชาติ มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนของพระองค์โดยตรง และประชาชนในฐานะพสกนิกรของพระองค์ ก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ของพวกเขาโดยตรงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการถวายฎีกา การเข้าเฝ้ารอรับเสด็จ หรือความนิยมต่อพระราชกรณียกิจบางเรื่อง จนนำไปสู่การปฏิบัติและขยายแนวทางต่อยอดโดยประชาชนเองหรือหน่วยงานรัฐ

ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับราษฎรนี้ย่อมไม่มีสิ่งใดพรากไปได้ เพราะถือเป็นรากฐานแต่เดิมของประเพณีการปกครองของประเทศไทย

กลับมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย ในวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะเป็นความขัดแย้งที่ลงลึกไปถึงการเสนอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดหลักรัฐธรรมนูญ

ปรากฏการณ์ท้าทายรูปแบบการปกครองนี้เองที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระองค์ทรงเข้าใจในแนวคิด และไม่เคยประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับหลักการพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เลย จะเห็นว่า แม้พระองค์จะทรงถูกโจมตีต่าง ๆ นา ๆ จากฝ่ายที่เห็นต่าง (อย่างผิดกฎหมาย) แต่ในหลวงท่านก็ทรงตระหนักดีว่า แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะถูกโจมตีโดยตรง แต่พระองค์ก็ไม่สามารถออกมาแถลงการณ์หรือชี้แจ้งข้อเท็จจริงเหล่านี้เองได้ เพราะหากทรงออกมาชี้แจงด้วยพระองค์เอง ก็เท่ากับทรงยอมรับว่าพระองค์ได้ตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองนี้ด้วย

กรณีนี้มีตัวอย่างจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ที่ทรงไม่โต้ตอบหรือชี้แจงใด ๆ เมื่อทรงตกเป็นเป้าหรือหัวข้อในการโจมตีหรือวิพากษ์วิจารณ์ ท่านทรงถือว่า “ความเงียบ” เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีทีเดียวในการรับมือกับกระแสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

และปัจจุบัน ก็เห็นได้ชัดว่าในหลวง ร.10 ทรงปฏิบัติตามแนวทางของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษอย่างเคร่งครัดเช่นกัน นั่นคือ ทรงเลือกที่จะ “เงียบ” เพื่อให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาในภายหลัง

เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่สามารถออกมาโต้ตอบหรือชี้แจงกรณีใด ๆ ได้ จึงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้รับผิดชอบ ที่จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่บิดเบือนดังกล่าว ซึ่งถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล นอกจากนี้ ยังเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยที่เป็น “ผู้ภักดี” (Royalists) ที่จะต้องร่วมกันปกป้องสถาบันหลักของประเทศควบคู่ไปพร้อม ๆ กันด้วย

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ “บอบบาง” หรือ “อ่อนแอ” ตามที่มีคนกล่าวอ้างไว้อย่างผิด ๆ เพราะการที่ในหลวง “ทรงต้องเงียบ” นี้ ถือเป็น “กติกา” ของประเพณีการปกครองในรูปแบบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถออกมาชี้แจงข้อกล่าวหากรณีใด ๆ ที่เป็นความขัดแย้งหรือข้อเกี่ยวพันทางการเมืองได้ด้วยพระองค์เอง

เป็น “กติกา” ที่อยู่ในหลักการ และในหลวงท่านทรงยึดมั่นตาม “หลักการ” นี้มาโดยตลอด

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า