แผลในเกินต้าน ‘อวสานเสรีไทย’ จุดจบขบวนการรวมชาติครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำสำเร็จทั้งไล่จอมพล ป. และต้านญี่ปุ่น แต่ล่มสลายเพราะสมาชิก ‘เข้ากันไม่ได้’

ขบวนการเสรีไทยนั้นเรารู้จักกันดีว่าเป็นขบวนการที่จัดตั้งขึ้นใต้ดินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองหลังญี่ปุ่นเหยียบขึ้นบนแผ่นดินไทย ขบวนการของเสรีไทยนี้แม้บทบาทที่เรารู้จักกันอย่างการต่อต้านญี่ปุ่นแล้ว เสรีไทยยังมีสถานะอีกประการที่ซ้อนทับเข้าไปนั่นคือการเป็นขบวนการที่รวมคนทุกชนชั้นเข้าไว้ด้วยกัน และไม่ได้มีเพียงเป้าหมายแค่การต่อต้านญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการต่อต้านระบอบทหารของจอมพล ป. พิบูลสงครามอีกด้วย

ขบวนการเสรีไทยนั้นเป็นขบวนการที่เริ่มนำโดยปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป้าหมายแน่นอนอย่างหนึ่งนั้นก็คือการต่อต้านญี่ปุ่น แต่การก่อตัวและรวมตัวของเสรีไทยนั้นความจริงยังมีผลจากการเมืองภายในประเทศที่เข้ามาผสมอยู่ด้วย เพราะหลังจากการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ตัวแสดงสำคัญๆ ในการเมืองไทยถูกแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม คือ กลุ่มพระราชวงศ์ กลุ่มชนชั้นนำเดิม กลุ่มชนชั้นนำใหม่ และผู้นำจากท้องถิ่น ที่เข้ามามีส่วนในพื้นที่ทางการเมือง [1] ซึ่งสี่กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทอย่างต่อเนื่อง ทั้งสี่กลุ่มนี้แม้จะมีสถานะต่างๆ ที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ทางการเมืองและแนวคิดทางการเมืองแต่ทั้งสี่กลุ่มนี้คือกลุ่มการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่หวังจะเล่นในเกมเช่นเดียวกับหลายๆ ตัวแสดง

การขึ้นมาครองอำนาจของจอมพล ป. นั้นผลที่ตามมาอย่างหนึ่งคือการกีดกันตัวแสดงทางการเมืองกลุ่มอื่นออกไป (แม้ว่าจะมีนักวิชาการกล่าวว่าจอมพล ป. ยังมีระบบรัฐสภาก็ตาม) ดังนั้นแล้วในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นของสงครามและผลในการครองอำนาจของจอมพล ป. ทำให้กลุ่มเสรีไทยมีเป้าหมายรวมไปถึงรัฐบาลของจอมพล ป. ด้วย ซึ่งคนทั้งสี่กลุ่มนี้นั้นต่อต้านการเกี่ยวข้องทางการเมืองของทหาร เราจึงเห็นได้ว่าเสรีไทยนั้นมิได้ถูกดำเนินการโดยคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ถูกร่วมมือกันโดยกลุ่มการเมืองทั้งสี่กลุ่มนี้เพื่อทั้งหยุดการครองอำนาจของจอมพล ป. และช่วยกอบกู้ไทยไปพร้อมกัน

ทั้งสี่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีฐานการเมืองที่กว้างขวางนัก ดังนั้นกลุ่มทั้งสี่กลุ่มนี้บางครั้งอาจจะต้องดึงคนต่างเครือข่ายเข้ามาอยู่ในเครือข่ายของตัวเองบ้าง ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ใช่พลังที่มาจากระบบราชการ แต่อำนาจทางการเมืองนั้นวางอยู่บนสถาบันการเมืองใหม่ อีกแง่หนึ่งการร่วมในฐานะเสรีไทยนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงความเห็นพ้องในเชิงนโยบายหรือการดำเนินการของประเทศที่ชัดเจนว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของผลประโยชน์แคบๆ เท่านั้น แต่รวมไปถึงอุดมการณ์และนโยบายที่กินความกว้างมากกว่าเรื่องรัฐนิยม

เสรีไทยเมื่อเริ่มต้นนั้นสังเกตได้ว่าพวกเขาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดจนถึงความไม่พอใจต่อความเกี่ยวข้องของทหารในการเมือง อย่างไรก็ดีแม้ผู้นำเสรีไทยภายหลังได้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว พวกเขาก็ล้มเหลวที่จะจัดตั้งสถาบันการเมืองประชาธิปไตยให้สำเร็จได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าทั้งสี่กลุ่มนี้มีพื้นหลังที่แตกต่างกันทุกด้าน ซึ่งความแตกต่างนี้ได้ทำให้มองเรื่องรูปแบบในการปกครองและนโยบายระดับประเทศต่างกันออกไปด้วย ความแตกต่างในเชิงลึกทั้งในเชิงสังคมเศรษฐกิจและอุดมการณ์นี้กลับทำให้ทั้งสี่กลุ่มนั้นต้องแตกแยกและทำให้ขบวนการเสรีไทยนั้นต้องอ่อนแอลง แม้ว่าจะสามารถขับไล่จอมพล ป. ได้สำเร็จก็ตาม

นโยบายที่เห็นต่างกันนั้นมีหลายประเด็น หนึ่งในประเด็นนั้นอาจกล่าวได้ว่าคือเรื่องที่ดิน เพราะกลุ่มชนชั้นนำนั้นจะมีที่ดินถือครองมาก แต่กลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มผู้นำจากท้องถิ่นซึ่งเป็นกลุ่ม ส.ส. อีสาน และปรีดีนี้สนับสนุนให้มีการปฏิรูปที่ดิน หรือกลุ่มชนชั้นนำใหม่ที่ไม่ได้มีสถานะแบบสูงส่งเหมือนชนชั้นนำเก่า แต่พวกเขามีสถานะที่วางอยู่บนระบบราชการอยู่ด้วยโดยเฉพาะในกองทัพซึ่งเติบโตมาจากการปฏิรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นทั้งสี่กลุ่มนี้ยังมีอีกสามความคิดย่อยที่พวกเขาสังกัดตามแต่เวลาและสถานการณ์ คือ ดั้งเดิม ดั้งเดิมแบบปรับปรุง และก้าวหน้า ทำให้พวกเขาไม่มีความเห็นที่ลงรอยกันมากในเรื่องนโยบายสาธารณะ ดังนั้นแล้วการที่พวกเขาเห็นร่วมกันมีเพียงประเด็นเดียวคือกันทหารออกจากการเมือง แต่นอกนั้นแทบไม่มีอะไรร่วมกันเลย และหลังสงครามจบแล้วพวกเขาก็ยังยึดจุดยืนเดิมจนทำให้กลุ่มอ่อนแอลง (อาจกล่าวได้ว่าพวกเขายังมีความขุ่นเคืองบางประการหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 กันอยู่ แต่เมื่อเป็นเรื่องชาติแล้วพวกเขาก็ยินดีจะร่วมมือ)

อย่างไรก็ดีขบวนการเสรีไทยนั้นเป็นขบวนการที่รวมคนทุกชนชั้นเอาไว้โดยแท้จริงโดยมีเป้าหมายเพื่อชาติร่วมกัน เพราะในกลุ่มเสรีไทยนั้นมีทั้งพระราชวงศ์ อนุรักษนิยม คุณครู นักเรียน ประชาชน คนจากทั่วสารทิศรวมตัวกันในนามของเสรีไทยทั้งเพื่อต้านญี่ปุ่นและต้านจอมพล ป. พวกเขาประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่างงดงาม และความสำเร็จนี้เองที่คนเมืองได้ตอบรับเป็นอย่างดี รวมไปถึงคนชนบทเองก็ให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน เสรีไทยในอดีตนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจริงในฐานะที่อยู่ตรงข้ามกับการครองอำนาจของจอมพล ป.

การเรียนรู้บทเรียนจากเสรีไทยนั้น อาจไม่ใช่แค่ว่าต้องกันทหารออกจากการเมืองอย่างเดียว แต่ต้องหาวิธีไม่ให้พลเรือนนั้นต้องแตกแยกและอ่อนแอลงไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 นั้นกองทัพขณะนั้นอ่อนแออย่างมากแต่สามารถล้มได้สำเร็จ นั่นก็เพราะฝั่งปรีดีนั้นอ่อนแอเองด้วยใช่หรือไม่ ดังนั้นจึงควรมองให้กว้างว่าจะรวมคนทุกชนชั้นให้แข็งแรงเพื่อเป็นพลังกันทหารออกไปอย่างไร มากกว่าการกล่าวโทษว่ามีใครอยู่เบื้องหลังรัฐประหารใช่หรือไม่? หรือเพราะการกล่าวโทษใครมันง่ายกว่าการหาวิธีที่กว้างกว่านั้น นักวิชาการคงจะตอบตัวเองได้

อ้างอิง :

[1] เรียบเรียงจาก Sorasak Ngamcachonkulkid, “The Seri Thai Movement: A Prosopographical Approach Journal of Liberal Arts Thammasat University Vol. 6 No. 2 (July-December 2006): 160-207.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า