‘สักขาลาย’ ร่องรอยความ ‘เท่’ ของบุรุษเพศในอีสานสมัยโบราณ

“ขาลายก้อมมอมโตเดียวซิเตะส่ง
ขาลายแล้วแอวบ่ลายกะบ่ค่อง
คันบ่สักนกน้อยงอยแก้มกะบ่คือ”

หากเราได้ชมการแสดงการประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางฯ ที่จัดโดยกรมพละศึกษาเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้

หลาย ๆ วงที่เข้าร่วมการประกวด จะหยิบยกการ “สักขาลาย” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง

ซึ่งหากมองผิวเผินเราอาจจะเกิดข้อสงสัยในใจว่า ตรงขาที่เป็นรอยสักที่สวยงามโดยใช้หมึกสีดำสักลงไปแทบทั้งขานั้น มันคืออะไร ? แล้วมันมีความหมายว่าอย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องเท้าความก่อนว่า ในอดีตพื้นที่อีสานนั้นจะมีความเชื่อหรือวัฒนธรรมอันหนึ่งที่นิยมกันในหมู่บุรุษเพศ คือ การสักขาลาย หรือ เรียกอีกอย่างว่า ขาลายก้อม โดยจะใช้หมึกสีดำสักบริเวณต้นขาจนไปถึงน่องขาทั้งสองข้าง ข้างบนมักจะสักเป็นลายมอม ( สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะคล้าย เสือ สิงห์ : ถูกใช้แทนสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความอดทน ) ส่วนข้างล่างบางพื้นที่ก็สักเป็น ลายดอกบัว ลายดอกผักแว่น ลายนกขอด และลายอื่น ๆ ฯลฯ บางครั้งก็อาจสักถึงหน้าอกด้วย

การสักจะใช้เวลาข้ามวัน มักจะสักทีละขา หากสักขาหนึ่งเสร็จแล้ว ( ไม่จำกัดว่าต้องสักขาซ้ายหรือขวาก่อน ) จะเว้นระยะห่างเพื่อให้ผู้ที่ถูกสักพักเพื่อให้ความเจ็บนั้นหายไปก่อน ค่อยกลับมาสักอีกขาหนึ่ง

การสักขาลายนี้เป็นที่นิยมเฉพาะบุรุษเพศนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ส่วนมากจะเป็นปัจจัยในเรื่องของวัยรุ่นหนุ่มสาว จะเป็นค่านิยมที่ว่า หญิงสาวอีสานในสมัยโบราณจะมีรสนิยมชื่นชอบ ผู้ชายที่สักขาลาย มองว่า ผู้ชายที่สักขาลายนั้น “เท่” “หล่อ” ส่วน ผู้ชายที่ขาขาว ( ไม่มีการสักฯ ) “แนมเห็นแล้วซิฮาก” ( เห็นแล้วจะอ้วก )

จนมีคำกล่าวยุคนั้นว่า

“ขาบ่ลายมันอายเขียด”
“ขาบ่ลายอายผู้สาว”
“ขาบ่ลายจำเหง้า อย่าหวังเอาลูกสาวเพิ่น
ขาบ่ลายจำเบี้ยง อย่าหวังเลี้ยงแม่ผู้สาว”

อีกทั้ง ยังมีเรื่องของความอดทนว่า ผู้ที่สักฯจะต้องมีความอดทนอย่างยิ่ง เพราะการสักแต่ละครั้งในอดีตไม่มีการฉีดยาหรือใช้ยาเพื่อทำให้ชาก่อนสักแต่อย่างใด เป็นการสักแบบสด ๆ ส่วนอุปกรณ์ในการสักแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ จะใช้เข็มในการสัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เวลาจะสักแต่ละที ผู้ที่ตัดสินใจสักต้องตัดสินใจดี ๆ เพราะจะต้องทนกับความเจ็บปวดความทรมานจนถึงตอนสักเสร็จ บางพื้นที่ก็จะมีการผูกแขน ( เพื่อเรียกเอา ” ขวัญ ” ก่อนจะทำการสัก )

นอกจากการสักขาลายจะใช้ในแง่ที่กล่าวมาแล้ว ยังเกี่ยวพันในแง่ของความเชื่ออีกว่า การสักขาลายช่วยเรื่องคงกระพันชาตรี สักแล้วจะช่วยให้แทงไม่เข้า

ในสมัยโบราณการสักขาลาย ยังถูกใช้ในการเรียกแบ่งคนกลุ่มคนที่ทางราชสำนักสยามเรียกว่า “ลาว” ด้วย

ซึ่งจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ

  1. ลาวพุงขาว หมายถึงกลุ่มคนที่สักจากต้นขาไปจนถึงน่องขา ไม่สักที่พุงหรือเอว ( ส่วนมากจะถูกใช้เรียกคนในมณฑลอีสาน มณฑลอุดร)
  2. ลาวพุงดำ หมายถึง กลุ่มคนที่สักตั้งแต่พุงลงไปถึงเข่า ( มักใช้เรียกกลุ่มคนล้านนา )

แสดงให้เห็นว่าในยุคสมัยหนึ่งนั้นก็มีการหยิบยกการสักขาลายมาเป็นการใช้เรียกแบ่งกลุ่มคน

นอกจากนี้การสักขาลายยังไม่ได้มีแค่ในภาคอีสานเพียงเท่านั้น การสักขาลายนี้ยังพบมากในคนหลาย ๆ กลุ่ม หลากหลายพื้นที่  ไม่ว่าจะเป็นล้านนา อย่างที่กล่าวไป และอีกมากมายที่พบใน southeast asia ซึ่งจะมากล่าวเจาะลึกลงรายละเอียดในบทความหน้า

( ขอบคุณภาพจากคุณ kiri jung )

ภาพจิตรกรรม ( ฮูปแต้ม ) วัดป่าเลไลย์ ต.ดงบัง อ.นาดูน จังหวัด มหาสารคาม ( ขอขอบพระคุณภาพจากคุณ anant narkkong )

อ้างอิง :

[1] อดิศักดิ์ สาศิริ , บทความว่าด้วยการสักขาลายในภาคอีสาน , สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ 2566
[2] ดร. วิศัลย์ โฆษิตานนท์ , ไทหล่มและลาวพุงขาว , wisonk.wordpress.com , สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ 2566

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า