สนธิสัญญาทอร์เดซิยาส ใบอนุญาตล่าอาณานิคมที่ออกโดยนักล่าอาณานิคม จนประเทศทั่วโลกต้องซวยไปตาม ๆ กัน

ในอดีตที่ผ่านมา ในยุคที่โลกยังเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนเป็นส่วนใหญ่ มีบางประเทศที่สถาปนาตนเองเป็นผู้เจริญแล้วได้ก่อน กล่าวคือมีพร้อมทั้งทรัพย์สินสาธารณูปโภคและยุทโธปกรณ์ แต่การวัดที่จำนวนเงินทองคงไม่ท้าทายมากพอกระมัง จึงหันมาตัดสินความเหนือกว่าด้วยขนาดของอำนาจ จนเกิดเป็นเกมสุดไร้สาระที่ทั้งโลกต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย ผ่านกิจกรรม ‘การล่าอาณานิคม’ อันเลื่องชื่อ

สเปนและโปรตุเกส ถือเป็นชาติมหาอำนาจในสมัยนั้น ทั้งคู่มีการเหยียบจมูกกันในผลประโยชน์ที่เรียกว่า ‘โลกใหม่’ จนเกือบนำไปสู่ข้อพิพาทหลายหน ดังนั้นในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1494 ก็ได้มีการลงนามเพื่อแบ่งเค้ก ภายใต้ ‘สนธิสัญญาทอร์เดซิยาส’ เพื่อให้การอ้างสิทธิอยู่ในฐานะที่ทั้งสองประเทศยอมรับได้ และเป็นทางการขึ้นมาอีกหน่อย

สนธิสัญญานี้ลงนามโดยกษัตริย์เฟอร์ดินานที่ 2 แห่งสเปนและกษัตริย์จอห์นที่ 2 แห่งโปรตุเกส ณ เมืองทอร์เดซิยาส ประเทศสเปน และนอกจากนั้นก็ไม่มีใครอื่นใดอีก แม้กระทั่งมหาอำนาจยุโรปรายอื่น ๆ จะเรียกว่าเป็นการอุบอิบก็คงจะไม่ผิดสักเท่าไหร่

ในรายละเอียดหลัก ๆ มีใจความว่า โลกทั้งใบจะถูกแบ่งออกเป็นสองซีก โดยสเปนได้รับสิทธิ์ในดินแดนทางตะวันตกของแนว 370 ลีคทางตะวันตกของเกาะเคปเวิร์ด ซึ่งลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจากขั้วโลกเหนือจรดขั้วโลกใต้! ในขณะที่โปรตุเกสได้รับสิทธิ์ในดินแดน ‘ทั้งหมด’ ทางตะวันออกของแนวนั้น การแบ่งเขตเหล่านี้ก็สรุปกันขึ้นมาเองแบบงุบงิบ โดยที่ประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในแนวดังกล่าว ไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่ใด ๆ ด้วยเลย

แต่หลังจากนั้นไม่นานในปี ค.ศ. 1529 พื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อความเป็นธรรม โดยแนวเขตของโปรตุเกส ได้รับการขยายไปทางตะวันตกตามใจความในสนธิสัญญาซาราโกซา ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีอะไรดีขึ้นกับชาวโลกคนอื่นเลย

การอนุญาตให้ล่าอาณานิคมโดยผู้ล่าอาณานิคมเองเป็นไปอย่างสนุกสนาน อาณาจักรของทั้งสเปนและโปรตุเกสกระจายตัวไปทั่วโลกเหมือนดอกเห็ด ตามมาด้วยทรัพยากร สมบัติและผลประโยชน์จากดินแดนต่าง ๆ อีกเพียบ แต่ทั้งสองประเทศก็สามัคคีกันดี เพราะต่างเก็บเกี่ยวประโยชน์เหล่านั้นอย่างเมามัน จนไม่มีเวลามาจับผิดอีกฝ่าย

ส่วนพื้นที่ครอบครองของทั้งสองประเทศก็กว้างไกลเท่าที่เรือล่าอาณานิคมเดินทางไปถึง ซึ่งฝ่ายโปรตุเกสนั้นครอบคลุมอาณานิคมในบราซิล, แองโกลา, โมซัมบิค, กินี-บิสซอ และเคปเวิร์ด รวมไปถึงดินแดนครอบครองของโปรตุเกสในแอฟริกา เอเชียและโอเชียเนีย ส่วนราชอาณาจักรสเปน ก็ครอบครองเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และแคริบเบียน รวมถึงการปกครองในหลายพื้นที่ของแอฟริกาและเอเชีย

จะเห็นได้ว่าอาณานิคมของทั้งคู่ก็ไม่ได้มากมายทั้ง ๆ ที่แบ่งกันไปคนละครึ่งโลก นั่นก็เพราะเหตุผลที่ว่า สนธิสัญญาติ๊งต่างกันขึ้นมาแค่ 2 คน มหาอำนาจอื่น ๆ ก็เลยไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วย เพราะระหว่างที่สเปนกับโปรตุเกสกำลังล่าอาณานิคมอยู่นั้น ชาติยุโรปอื่น ๆ ก็หาไปพร้อม ๆ กันด้วยโดยเฉพาะในอเมริกา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สเปนกับโปรตุเกสก็ต้องคอยปกป้องสิทธิพิเศษของตนที่ยึดมาได้แล้วจากชาติมหาอำนาจอื่น ๆ อยู่นั่นเอง

ในส่วนของประเทศไทย หรือเมื่อครั้งยังเป็นสยามนั้นก็เคยตกเป็นเป้าหมายของการล่าอาณานิคมของนักล่าอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ที่ยึดเอาประเทศโดยรอบไปแทบหมดแล้ว ทั้งคู่รุกรานมาทางอินเดียและพม่า ด้านฝรั่งเศสนี่เอาจริงเอาจัง ถึงกับตั้ง “พรรคล่าอาณานิคม” เพื่อการนี้โดยเฉพาะ แต่สยามก็รอดพ้นมาได้ด้วยการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดบวกหาญกล้าของรัชกาลที่ 5 ที่เลือกสละดินแดนบางส่วน เพื่อรักษาพื้นที่ส่วนใหญ่เอาไว้

การล่าอาณานิคมที่พวกเราบางคนเกิดทันได้เห็นก็คือช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งหลายชาติยุโรปกรีธาทัพเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ในละแวกเอเชียอย่างเมามัน ยกตัวอย่างเช่น จักรวรรดิอังกฤษ (British Empire) ครอบครองอินเดียส่วนใหญ่, ปากีสถาน, บังคลาเทศ และตั้งอาณานิคมในมาเลเซีย, สิงคโปร์และฮ่องกง จักรวรรดิฝรั่งเศส (French Empire) ยึดครองเวียดนาม, กัมพูชาและลาว รวม ๆ เรียกว่า French Indochina จักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire) ยึดครองอินโดนีเซียซึ่งฝรั่งรู้จักกันดีในนาม Dutch East Indies จักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) ยึดครองฟิลิปปินส์ จักรวรรดิโปรตุเกส (Protuguese Empire) ครอบครองอินเดียบางส่วน รวมถึงศรีลังกาและมาเก๊า จักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) ครอบครองบางส่วนของเอเชียกลาง คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน

การเป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องดีเลย แม้จะมีการพัฒนาแรงงานอยู่บ้าง แต่เมื่อคิดถึงสิ่งที่ต้องเสีย ถ้าเทียบกับโบราณกาลก็คงเรียกว่าของบรรณาการ ทั้งทรัพยากรและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ควรเป็นของประเทศก็ต้องยกให้กับเขา อย่างอินเดียก็ต้องส่งข้าวให้อังกฤษจนประเทศไม่เหลือกิน ความสูญหายของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาจไม่ย้อนกลับคืน ผลกระทบเหล่านี้ยังส่งผลให้เห็นในประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม บางประเทศแม้ได้เอกราชคืนมาแล้วยังทรงตัวไม่ได้ก็มี ดูหดหู่พิลึก

ยิ่งรู้มากก็ยิ่งรู้สึกขอบคุณบรรพบุรุษไทย ที่เอาเลือดเนื้อเข้าแลกเพื่อไม่ยอมให้ประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้น จนเรามีที่ทำกินมีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง และมีเอกราชอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้

ขอบคุณมากครับ

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า