‘ศักดินา’ ไม่ได้วัดจาก ‘ชาติกำเนิด’ เป็น ‘เจ้า’ ไม่ได้ต้องเป็นศักดินา

การชุมนุมของม็อบราษฎรเริ่มกลับมารุนแรงอีกครั้ง ทั้งที่สถานการณ์โรคระบาดในประเทศยังอยู่ในช่วงทรงกับทรุด และไส้ในที่ยังสอดแทรกอยู่ไม่เคยเปลี่ยนของกลุ่มเยาวชนปลดแอกผู้ฝันหาประชาธิปไตยคือ การอ้าง “ศักดินา” หรือในความหมายตรง ๆ ของม็อบสามนิ้วก็คือ “เจ้า” หรือ “สถาบันพระมหากษัตริย์”

ซึ่งเอาเข้าจริง มันอาจเป็นคนละเรื่องกับ “ศักดินา” ในความหมายแต่ดั้งเดิม ที่จิตร ภูมิศักดิ์ นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ว่า

“ศักดินา” ไม่ใช่ “พวกที่มีบรรดาศักดิ์”
“ศักดินา” ไม่ใช่ “พวกที่นุ่งผ้าโจงกระเบน”
และ “ศักดินาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นพวกเจ้า”
และ “ศักดินา” ไม่ได้วัดที่ชาติกำเนิด

ขณะเดียวกัน “คณะราษฎร” ที่บางกลุ่มมองว่าเป็นผู้อภิวัฒน์สยาม กลับถูกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมองว่าเป็น “ศักดินา”

ความหมายที่แท้จริงของ “ศักดินา”

ความหมายที่แท้จริงของ “ศักดินา” คือ พวกเจ้าที่ดิน ซึ่งฝ่ายซ้ายไทยระบุว่าไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกของสถาบันพระมหากษัตริย์เลย เพราะนัยของคำว่า “ศักดินา” มุ่งสนใจในด้านความสัมพันธ์ทางการผลิต

“ศักดินา” ในความหมายของพวกฝ่ายซ้ายไทย ปรากฏครั้งแรกในหนังสือ “ไทยกึ่งเมืองขึ้น” ของ อรัญ พรหมชมพู พ.ศ. 2493 โดยฝ่ายซ้ายไทยในเวลานั้นได้วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยมีลักษณะเป็น “กึ่งเมืองขึ้น-กึ่งศักดินา” ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเหมาของจีนอย่างชัดเจน

“ขุนศึกศักดินา” ตามแนวคิดลัทธิเหมานั้นก็ยิ่งซับซ้อนเข้าไปอีก เพราะหมายถึง พวกบรรดาขุนนางจีนที่ตกค้างจากระบอบเก่า พวกเจ้าที่ดิน พวกกลุ่มชาวนารวย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมาก่อนจีนจะรวมชาติสำเร็จ

สำหรับในประเทศไทยนั้น ส่วนมากแล้ว “ศักดินา” มักใช้ควบคู่กับคำว่า “ขุนศึก-ศักดินา” ซึ่งหมายถึง “นายทุนขุนนางกึ่งนายหน้า” กลุ่มพวกนี้คือบรรดาข้าราชการทหาร และนายทุนที่ร่ำรวยมาจากการสมคบกับต่างชาติ โดยการให้สัมปทานแก่ประเทศจักรพรรดินิยม เช่น อเมริกา

พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตราหน้าขุนศึกศักดินาพวกนี้ว่า “เป็นพวกขายชาติ” และถือเป็นศัตรูที่แท้จริงของพรรคฯ

ซึ่งแม้แต่ “คณะราษฎร” พรรคคอมมิวนิสต์ก็ถือว่าเป็นพวก “ทุนนิยมขุนนาง

ทั้งนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายของไทย ได้ขยายนิยามออกไปอีกว่า “ศักดินา” หมายถึง อำนาจในการครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำไร่ทำนา อันเป็นอาชีพหลักของคนในยุคนั้น และเขายังได้ยืนยันชัดเจนอีกด้วยว่า

ศักดินาจึงไม่จำเป็นต้องเป็นพวกเจ้า

 เช่น พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปส์ (Louise-Philippe) ของฝรั่งเศสในกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งไปเป็นตัวแทนของพวกกระฎุมพีและโดยเฉพาะนายทุนขุนคลัง! ดังนั้นการจำชี้ว่าใครเป็นศักดินาโดยดูที่ขนาดของตีนหรือชาติกำเนิดจึงไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง (โฉมหน้าศักดินาไทย : หน้า 32)

สถาบันกษัตริย์ไทยมิใช่ศัตรูของพรรคคอมมิวนิสต์

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการค้นพบเนื้อหาทางวิชาการ หรือข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ระบุว่าต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้แต่ในประกาศสมัชชาพรรค ก็ยังไม่เคยปรากฏแนวนโยบายดังกล่าว

ในส่วนของแนวคิด พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พยายามประสานนโยบาย “สามัคคีชนชั้น” กล่าวคือ นอกจากชาวนาและกรรมาชีพจะเป็นกำลังหลักในการปฏิวัติแล้ว พวกเขายังพยายามรวบรวมเอานักศึกษา ปัญญาชน ตลอดจนนายทุนชาติ เข้ามาร่วมขบวนการปฏิวัติด้วย

จะเห็นได้ว่านี่คือหัวใจสำคัญของแนวคิด ที่พยายามอธิบายว่า พรรคคอมมิวนิสต์ไทยไม่มีจุดประสงค์ในการสลายชนชั้น หรือล้มล้างสถาบันฯ โดยเด็ดขาด

ซึ่งจากกรณี หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงสิ้นชีพิตักษัย จากเหตุการณ์ถูกลอบยิงเฮลิคอปเตอร์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยกองทัพปลดแอกประชาชนไทย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (ทปท.)

เมื่อทราบความจริงว่า ปฏิบัติการของพรรคฯ ได้คร่าพระชนม์ชีพสมาชิกของพระราชวงศ์ไป ทำให้เกิดการสั่นคลอนศรัทธาขึ้นในค่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งนั้น บรรดาสหายและมวลชน (ชาวบ้าน) เริ่มตีตัวออกห่าง เพราะรับไม่ได้กับการสังหารเจ้านายที่พวกเขาไม่ได้มองว่าเป็นศัตรูการต่อสู้ และกระทบกระเทือนกับจิตใจของชาวพรรคคอมมิวนิสต์ ที่มีจุดประสงค์เพียงแค่ต่อต้านรัฐบาลทหารและจักรพรรดินิยมอเมริกาเท่านั้น

ทั้งหมดนี้ คือการยืนยันแนวคิดดั้งเดิมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ไม่ได้มองสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นคู่สงครามกับประชาชน หรือเป็นพวกศักดินาที่ต้องกวาดล้างในสิ้นซาก

แต่หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลา กลับได้มีการปลูกฝังความคิดที่ว่า การจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นไปตามวิถีที่กลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายต้องการนั้น หาใช่การล้มล้างอำนาจรัฐหรือทหารเพียงอย่างเดียวไม่

แต่ต้องไปให้ถึงการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น

ดังเช่นที่นาย พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน แกนนำม็อบราษฎร แอบอ้างในการปราศรัยใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา แถมยังบิดเบือนเลยเถิดไปถึงเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ชีพของ หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต เมื่อปี พ.ศ. 2520 ในทางลดทอนสภาบันพระมหากษัตริย์อย่างอุกอาจและคึกคะนอง ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อย (แม้แต่พวกฝ่ายซ้ายที่เคยเป็นอดีตผู้ปฏิบัติการของพรรคคอมมิวนิสต์เอง) มองว่า

นั่นเป็นคำพูดปราศจาก “สามัญสำนึก” อันน่าเศร้า

อีกทั้งยังใช้การบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลุกปั่นมวลชน เพื่อหวังผลในการล้มล้างสถาบันฯ อย่างชัดเจน ซึ่งดูยังไงก็ไม่ใช่แนวทางของนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

แต่แท้ที่จริงคือ “พวกนิยมระบอบสาธารณรัฐ” อย่างมิพักต้องสงสัย

ที่มา :

[1] หนังสือ “ไทยกึ่งเมืองขึ้น” ของ อรัญ พรหมชมพู พ.ศ. 2493
[2] หนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ของ จิตร ภูมิศักดิ์ พ.ศ. 2500

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า