‘ปฏิรูปศาสนา’ ของในหลวง ที่ถูกบิดเบือนว่าเป็นการรวบอำนาจ จากการตีความอันตื้นเขินของ The King Never Smiles

จากการตรวจสอบความถูกต้องในการนำเสนอข้อมูลของ The King Never Smiles ในหลายๆ ครั้ง พบว่า หนังสือเล่มนี้ยังคงวนเวียนอยู่กับการวาง plot เรื่องประวัติศาสตร์อย่างตื้นเขินและตีบตันทางปัญญา รวมทั้งมีการตีความเอกสารชั้นต้นที่ฉาบฉวย จนนำมาซึ่งบทสรุปตามธงที่ผู้เขียนได้วางเอาไว้ ส่งผลต่อการรับรู้ประวัติศาสตร์อย่างมีนัยยะสำคัญ

และความเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งของหนังสือ The King Never Smiles คือ การกล่าวหาว่า ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงกุมอำนาจวงการสงฆ์ และใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการเชิดชูราชวงศ์จักรี จากการนำเสนอข้อมูลดังนี้ …

บทที่ 2 From Pure Blood to Dynastic Failure หน้า 34 จุดอ้างอิงที่ 10
Gray, The Soteriological State, 289.

“At the time the sangha was still officially self-governing. Wachirayan made palace control systematic in the Sangha Reform Act of 1902, which asserted the royal government’s responsibility for the priesthood, with sole right to confer clerical rank. This rendered the king the de facto head of the church. A hierarchy of monasteries was formalized, with royal temples (wat luang) at the top. The king took personal control of the appointment of ecclesiastical officers in Bangkok and in royal temples. The new monastic structure and its operatives were developed methodically to the village level, making the monkhood an important instrument of Chakri promotion and control

“… พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 … ทำให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของศาสนจักรไปโดยปริยาย และยังทำให้วงการสงฆ์ถูกกุมอำนาจ และใช้เป็นเครื่องมือในการเชิดชูราชวงศ์จักรี …”

แต่จากการสอบทานเอกสารชั้นต้นของทีมงาน ฤา พบว่าในความเป็นจริงนั้น การปฏิรูปประเทศด้านหนึ่งของในหลวงรัชกาลที่ 5 คือการปฏิรูปการปกครองสงฆ์ โดยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางพระศาสนาและนำพาประเทศให้ก้าวไปสู่สังคมสมัยใหม่ โดยพระองค์ทรงให้ยกเลิกกฎหมายแบบแผนประเพณีที่ทรงเห็นว่าไม่ทันสมัย แต่ก็ยังคงรักษาประเพณีปฏิบัติภายในนิกายนั้นๆ ซึ่งเจ้าคณะหรือสงฆ์นายกในนิกายเคยมีมาก่อนหน้า ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 3

กฎหมายฉบับนี้ ตราขึ้นเพื่อให้คณะธรรมยุติกนิกายได้รับพระบรมราชานุญาตปกครองคณะตน ซึ่งพระภิกษุนอกจากต้องรักษาพระวินัยเป็นที่ตั้งแล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแผ่นดินและจารีตประเพณีอีกด้วย และแม้พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช แต่มหาเถรสมาคมจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระพุทธศาสนาและปกครองบำรุงสังฆมณฑลทั่วไป ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 4

ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาพระพุทธศาสนาไปสู่ความทันสมัย นั่นคือ บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงอธิบายว่า ขณะสร้างวัดเบญจมบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำริว่าพระพุทธรูปที่จะนำมาประดิษฐานที่วัดนี้ ควรจะเลือกพระพุทธรูปโบราณซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยต่างๆ ของสยาม โดยมีวัตถุประสงค์ให้วัดเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์รวบรวมพระพุทธรูปที่สำคัญและงดงาม ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ความตอนหนึ่งว่า …

“พระทรงเครื่องลำพูน ที่ตั้งอยู่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นพระที่มีองค์เดียวไม่มีสองงามเลิศล้น … ควรจะอยู่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นที่รวบรวมพระต่างๆ เป็นมิวเซียม”

พระราชดำริดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวคิดสมัยใหม่ของในหลวง ร.5 เกี่ยวกับการตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อรวบรวมพระพุทธรูปอันเป็นศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นของประเทศ และเป็นการรักษารวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้าน “โบราณคดีสยาม” อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการนำแนวคิดทางการปกครองที่ทันสมัยมาบรรจุในงานศิลปะของพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรอีกด้วย นั่นคือ หน้าบันพระอุโบสถและพระระเบียงวัดเบญจมบพิตร รวม 14 ด้าน โดยหน้าพระระเบียง 10 ด้าน เป็นสัญลักษณ์แทนกระทรวง 10 กระทรวงของสมัยนั้น ส่วนลายหน้าบันพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน พระองค์ทรงให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ โดยนำตราพระราชลัญจกรที่พระมหากษัตริย์ใช้ประทับตรา ทั้ง 4 แบบ มาเป็นต้นแบบผูกลายหน้าบันทั้ง 4 ด้าน เป็นสื่อแสดงความสำคัญของการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ที่สะท้อนผ่านพระอุโบสถ ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งถอดแบบมาจากตราพระลัญจกรที่ใช้ประทับตราสั่งว่าราชการต่างๆ ภายใต้ระบบบริหารราชการแผนดินแบบใหม่ของรัฐชาติสมัยใหม่

สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งถูกเขียนขึ้นภายใต้แบบแผนใหม่ภายในอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นแนวคิดของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยภาพเขียนทั้ง 8 ช่อง เป็นจอมเจดีย์ที่สำคัญของสยาม ได้แก่

1. พระมหาธาตุ เมืองละโว้
2. พระธาตุพนม
3. พระมหาธาตุนครศรีธรรมราช
4. พระเจดีย์ชัยมงคลพระนครศรีอยุธยา
5. พระมหาธาตุศรีสัชนาลัย
6. พระปฐมเจดีย์
7. พระมหาธาตุหริภุญชัย และ
8. พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง

พระสถูปทั้ง 8 ดังกล่าว แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อแต่เดิม จากอุดมคติที่ไม่มีอยู่จริงกลายมาเป็นภาพเหตุการณ์ที่มีอยู่จริง เป็นการสร้างความรับรู้ที่เป็นรูปธรรม จนกลายมาเป็นศิลปวิทยาการที่จับต้องได้

นอกจากนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ยังได้ทรงก่อตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงทางศาสนาขึ้น นั่นคือ “มหามกุฎราชวิทยาลัย” และ “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เนื่องจากทรงเห็นความสำคัญเรื่องการสร้างความทันสมัยผ่านการศึกษาของชาติ โดยมีพระภิกษุสงฆ์และวัดเป็นสถานที่สอน ซึ่งเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้พระภิกษุเคร่งครัดในพระธรรมวินัย โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้นตามพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 5 โดยให้มีการจัดการเรียนทั้งภาษาไทย, บาลี, อังกฤษ และคณิตศาสตร์

ต่อมาจึงได้มีพระราชดำริให้ขยายการศึกษาไปทั่วราชอาณาจักร และมีพระราชประสงค์ให้วัดเป็นสถานศึกษา ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อำนวยการให้ภิกษุสั่งสอนบุตรธิดา และทรงนำวิธีการบริหารมหามกุฏราชวิทยาลัย มาปรับปรุงและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับหัวเมืองต่างๆ อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในการปฏิรูปวงการสงฆ์และปรับปรุงพัฒนาด้านพระพุทธศาสนา ในยุคปฏิรูปประเทศของในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความตั้งพระราชหฤทัยในการส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิใช่เพื่อกุมอำนาจในวงการสงฆ์หรือใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือใดๆ ทั้งสิ้น

กล่าวโดยสรุปได้ว่า เนื้อหาในหนังสือ The King Never Smiles นั้น มีแต่เรื่องราวในทำนองที่ไม่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะทำอะไร ก็ดูจะเป็นการกระทำที่มุ่งเน้นไปในทางที่จะรักษาอำนาจไปเสียหมด ทั้งๆ ที่หากพิจารณากันโดยถี่ถ้วนแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปกครองในสมัยนั้น ยังมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการปฏิรูปประเทศ การยกระดับความเป็นประเทศอารยะ หรือแม้กระทั่งในด้านศาสนา และศิลปวัฒนธรรมด้วย

ดังนั้น การตีความเอกสารประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองเพียงด้านเดียว และการวิเคราะห์แง่มุมต่างๆ โดยปราศจากความแหลมคมของ Paul Handley จึงทำให้ The King Never Smiles เป็นหนังสือที่ขาดน้ำหนักทางวิชาการไปมากทีเดียว ซ้ำร้ายยังเป็นการจงใจชี้นำให้เกิดความรับรู้ที่ผิดเพี้ยนทางประวัติศาสตร์ จนเกิดเป็นชุดความคิดผิดๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ฝังหัวเยาวชนคนรุ่นใหม่อยู่ในปัจจุบันนี้อีกด้วย

ที่มา :

[1] Paul M. Handley, The King Never Smiles page 34
[2] ชาตรี ประกิตนนทการ, พระพุทธชินราชในประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์
[3] สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตำนานพระพุทธเจดีย์

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า