หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ไม่ใช่การใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยเพื่อสร้างกองทัพส่วนพระองค์

ทุกวันนี้มักมีกลุ่มคนในโลกออนไลน์ออกมาให้ข้อมูลเท็จ เพื่อโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือการกล่าวหาว่า การโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ในปี พ.ศ. 2562 เป็นการพยายามสร้างกองทัพส่วนพระองค์ขึ้นมา เพื่อกระชับพระราชอำนาจให้เข้มแข็งมากกว่าเดิม จากที่เข้มแข็งมากอยู่แล้ว และทำให้งบประมาณหน่วยราชการในพระองค์เพิ่มขึ้นสูงเกินความจำเป็น กลายเป็นการผลาญเงินโดยสถาบันพระมหากษัตริย์

เห็นได้ชัดว่านี่คือคำกล่าวหาที่เลื่อนลอยและทึกทักเอาเอง ของพวกที่รับข้อมูลเพียงด้านเดียว

เพราะหากเราดู “ข้อเท็จจริง” ทั้งในเรื่องตัวเลขกำลังพล และงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม และไม่ได้มากถึงขนาดที่จะสามารถสร้างกองทัพส่วนพระองค์ขึ้นมาได้เลย อีกทั้งตัวเลขงบประมาณก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด แถมยังลดลงติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องด้วย

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ขอเรียกโดยย่อว่า นถปภ.รอ.ปัจจุบันมีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขา รักษาความปลอดภัย และถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธีตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน อีกทั้งยังมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

ในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการยกระดับ นถปภ.รอ. เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ตามพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และ พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 15 นอกจากนี้ยังมีการโอนกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม และ สำนักงานนายตำรวจราชองครักษ์ในพระองค์ มาเป็น นถปภ.รอ. อีกด้วย

และเพื่อเป็นการกำหนดหน้าที่ส่วนราขการในพระองค์ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการถวายความปลอดภัย ให้สามารถดำเนินการถวายพระเกียรติในการปฏิบัติภารกิจได้ตามพระราชประสงค์ ในปี พ.ศ. 2562 จึงได้มีการโอนกรมทหารราบที่ 1 และ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ตามพระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562

สาเหตุในการโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณดังกล่าว ก็เพื่อแก้ปัญหาประการสำคัญคือ การมีต้นสังกัดแตกต่างกันมากมายหลายหน่วยงาน เช่น กองทัพไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมราชองครักษ์ และกรมทหารราบที่ 1 และ 11 หรือเท่ากับ ประมาณ 5 – 6 หน่วยงาน ทำให้การประสานงานไม่ง่ายนักและอาจจะไม่เป็นเอกภาพในการทำงาน ซึ่งโครงสร้างแบบนี้จะทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า fragmented structure หรือโครงสร้างแตกเป็นส่วน ๆ ทำให้การประสานงานจะต้องใช้ความพยายามมากและเหนื่อย โดยเฉพาะในการสนธิกำลังข้ามหน่วยงาน

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมาเป็น นถปภ.รอ. ในฐานะหนึ่งในสามของหน่วยราชการในพระองค์นั้น ไม่ได้มีการเพิ่มอัตรากำลังพลเลยแม้แต่นายเดียว เป็นเพียงแค่การปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อลดความซ้ำซ้อน ทับซ้อนของหน่วยงาน ทำให้การบังคับบัญชามีเอกภาพ ตัดโอนมาเฉพาะอัตรากำลังพลและค่าจ้างเงินเดือน

ในส่วนของกำลังพล นถปภ.รอ. มีข้าราชการทหารตำรวจในพระองค์ราว 8,500 นายในปัจจุบัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบสัดส่วนกับยอดกำลังประจำการกองทัพไทย 305,860 นาย ซึ่งคำว่ากองทัพไทยหมายรวมถึง กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ตลอดจนกระทรวงกลาโหม

จะเห็นว่าอัตรากำลังพลของ นถปภ.รอ. คิดเป็นร้อยละ 2.77 ของยอดกำลังประจำการกองทัพไทย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก และคงไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเป็นกองทัพส่วนพระองค์ได้แต่อย่างใด

แต่ถ้าจะให้ถูกต้อง ควรต้องรวมอัตรากำลังพลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก 213,826 นายเข้าไปด้วย เนื่องจากมีการโอนตำรวจจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาใน นถปภ.รอ. ด้วยเช่นกัน เมื่อตัวตั้งมีอัตรากำลังของตำรวจ ตัวหารก็ต้องมีอัตรากำลังของตำรวจด้วย จึงจะถูกต้อง

ดังนั้น เมื่อคิดเป็นอัตรากำลังพลที่โอนมาจาก 4 เหล่าทัพ (รวมตำรวจด้วย) อัตรากำลังพลของ นถปภ.รอ. จะเท่ากับร้อยละ 1.63 ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงไม่อาจจะจัดว่าเป็นกองทัพส่วนพระองค์ได้เลย

นอกจากนี้การโอนอัตรากำลังพลเมื่อปี พ.ศ. 2560 ตามพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2560 ก็เป็นเพียงการโอนอัตรากำลังพลและค่าจ้างเงินเดือน ไม่ได้โอนรถยนต์ รถถัง อาวุธยุทโธปกรณ์มาด้วยแต่ประการใด

เมื่อพิจารณาจากขนาดอัตรากำลังเพียงร้อยละ 1.63 ที่โอนมา ประกอบกับไม่มีการโอนรถยนต์ รถถัง เรือรบ เครื่องบินรบ อาวุธสงครามใด ๆ มาด้วย โอนมาเพียงแค่อัตรากำลังพลและค่าจ้างเงินเดือน จึงไม่อาจจะนับว่าเป็นกองทัพส่วนพระองค์ได้แต่อย่างใด

ในส่วนของการกล่าวหาว่า นถปภ.รอ. ทำให้งบประมาณหน่วยราชการในพระองค์เพิ่มขึ้นสูงผิดปกติ ข้อนี้เมื่อพิจารณาจากกราฟด้านล่าง ที่มาจากการชี้แจงของสำนักงบประมาณ ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า เมื่อมีการโอนหน่วยงานจากกระทรวงกลาโหม กรมราชองครักษ์ กองทัพไทยในปี พ.ศ. 2560 ส่งผลให้เกิดงบประมาณที่เพิ่มขึ้น “ตามจำนวนอัตรากำลังพลเดิม” ที่โอนมาสังกัด นถปภ.รอ. ในปี 2561 จำนวน 2,195 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2562 มีการโอนกรมทหารราบที่ 1 และ 11 จากกองทัพบกเข้ามา นถปภ.รอ. ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของงบประมาณ “ที่ตัดโอนมาจากหน่วยงานเดิม” เท่ากับ 2,128 ล้านบาท

การตัดโอนงบประมาณและค่าจ้างเงินเดือนจากหน่วยงานเดิมมายัง นถปภ.รอ. นั้น ทำให้กราฟแท่งรวมเหมือนกับมีการก้าวกระโดดพุ่งขึ้นของงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ถึงสองครั้งในปี 2561 และ 2563 ซึ่งเป็นตัวเลขต่อเนื่องจากการโอนงบประมาณในปี 2560 และในปี 2562 ตามลำดับ

จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปได้ว่า นถปภ.รอ. ไม่ได้ทำให้งบประมาณของหน่วยราชการในพระองค์พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะมีคำอธิบายได้ ยิ่งในปี พ.ศ. 2564 และแผนงบประมาณในปี พ.ศ. 2565 จะเห็นได้ว่า งบประมาณของหน่วยราชการในพระองค์ กลับลดลงติดต่อกันมาสองปีแล้ว

จากข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ไม่ได้เป็นจำนวนตัวเลขที่มากมายเกินความจำเป็นเลย และงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็เป็นเพียงแค่งบประมาณและค่าจ้างเงินเดือนจากหน่วยงานเดิมที่โอนย้ายมา สามารถอธิบายเหตุผลที่มาที่ไปได้

ดังนั้น การกล่าวหาว่าการโอนอัตรากำลังพลดังกล่าว เป็นการพยายามสร้างกองทัพส่วนพระองค์ขึ้นมา และเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ฟุ่มเฟือย จึงเป็นเพียงคำกล่าวที่เลื่อนลอย ของผู้ที่ไม่สนใจหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใด ๆ เลย

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า