การลงพระปรมาภิไธยของในหลวง ถูกต้องตามหลักการ The King-in-Parliament

ในปัจจุบันมักมีผู้กล่าวอ้างว่า การลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้กฎหมายในนามของพระมหากษัตริย์นั้น เป็นการกระทำโดยมิชอบ เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญของในหลวง และเป็นการใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมือง

ซึ่งก่อนหน้านี้ ทีมงานฤๅ ได้เคยอธิบายเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของการลงพระปรมาภิไธยเอาไว้ว่า ในสภาวะปกติ พระมหากษัตริย์ “ไม่มี” อำนาจตัดสินใจอะไรทางการเมืองได้ เช่น การตรากฎหมาย ที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ท่านก็ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจในประการใด ๆ พระองค์ “เลือกไม่ได้” ว่ากฎหมายนี้ควรต้องมีหรือไม่ ซึ่งหลักการนี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

ดังนั้นการกล่าวหาข้างต้น จึงเป็นแค่คำพูดเลื่อนลอยที่เต็มไปด้วยอคติ และไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ว่า การลงพระปรมาภิไธยของในหลวงนั้น อยู่ในหลักการ “พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา” หรือ The King-in-Parliament ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ของประเทศอังกฤษ ที่รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่แท้จริงของประเทศ

ประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับประเพณีการปกครองของประเทศอังกฤษ ที่ยึดหลัก “อำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา” (Parliamentary Supremacy)

หลักการดังกล่าวถูกวางบนเงื่อนไขว่า อำนาจในการตราหรือออกกฎหมาย (กระบวนการนิติบัญญัติ) อำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล รวมไปถึงอำนาจในการรับรองพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ เป็นของรัฐสภา (Parliament) ซึ่งหมายถึงสภาผู้แทนราษฎร (House of Common) เป็นสำคัญ

ในกรณีของหลักการ “พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา” หรือ The King-in-Parliament หมายความว่า เมื่อรัฐสภาได้ตราหรือออกกฎหมายใด ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการนิติบัญญัติ ก็ย่อมต้องอ้างถึงพระนามของพระมหากษัตริย์ แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงประทับอยู่ในรัฐสภาก็ตาม เพราะก่อนหน้าที่กฎหมายจะถูกประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ ก็ต้องได้รับ “คำแนะนำ” (advise) จากพระมหากษัตริย์ (ในบางกรณี)

และท้ายที่สุด เมื่อพระมหากษัตริย์ทรง “ยินยอม/เห็นชอบ” (consent) ให้ตรากฎหมายดังกล่าว กฎหมายเหล่านี้ก็จะถูกลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในนามของพระองค์ แต่ทั้งนี้ ผู้มีบทบาทที่แท้จริงในกระบวนการนิติบัญญัติคือรัฐสภา มิใช่พระมหากษัตริย์

ซึ่งประเทศอังกฤษ ถือว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้หลักการดังกล่าวนี้ มาตั้งแต่หลังช่วงการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี ค.ศ. 1688 หรือช่วงศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ถือว่าประเทศอังกฤษได้ปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยสมบูรณ์ มีรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่แท้จริงของประเทศ (Parliamentary Supremacy)

กรณีนี้หากเทียบกับประเทศไทยก็คือการปฏิวัติสยามในปี พ.ศ. 2475 ที่คณะปฏิวัติได้จำกัดอำนาจการบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มาเป็นของรัฐบาลใหม่ในนามคณะราษฎร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยจึงได้เจริญรอยตามประเพณีการปกครองโดยยึดหลัก “อำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา” (Parliamentary Supremacy) เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ซึ่งแน่นอนว่าต้องนำหลัก “พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา” (The King-in-Parliament) มาใช้ด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น การประกาศใช้กฎหมายใด ๆ ของรัฐสภา จะต้องได้รับการเห็นชอบ/ยินยอม โดยการลงพระปรมาภิไธยของในหลวง แม้ว่าจะทรงมิได้ประทับอยู่ ณ ที่ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ถูกร่างหรือพิจารณาขึ้นเลยก็ตาม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นไปตามหลัก “พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา”

แต่สุดท้ายแล้ว อำนาจสูงสุดที่แท้จริงจะอยู่ที่รัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการลงมติคัดเลือก หรือมติไม่ไว้วางใจคณะบริหาร การตรากฎหมาย หรือกระทั่งการรับรองพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

ดังนั้น ทุก ๆ กฎหมายที่เป็นไปตามหลัก “พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา” (The King-in-Parliament) และการลงพระปรมาภิไธยของในหลวง ย่อมถูกต้องตามรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

และการกล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์ทรงละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองนั้น จึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) อำนาจสูงสุดจะอยู่ที่รัฐสภา และกฎหมายทุก ๆ ฉบับก็ล้วนได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า