Lue Podcast EP70 – หนังสือ ขุนศึก ศักดินาฯ ด้อยค่ารัฐธรรมนูญ 2492 ด้วยอคติ ว่าเป็นฉบับรอยัลลิสต์

ในปัจจุบันได้มีงานเชิงวิชาการหลายชิ้นที่ศึกษาการเมืองไทยและรัฐธรรมนูญด้วยวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่แตกต่างกันไป ในงานชิ้นหนึ่งที่เป็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางและอาจจะเป็นงานชิ้นที่จุดประกายการถกเถียงรัฐธรรมนูญฉบับที่จะกล่าวถึงต่อไปให้เกิดขึ้น คือ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” ของอาจารย์ณัฐพล ใจจริง

ซึ่งในงานดังกล่าวแม้ชื่องานจะใช้ชื่อว่าเป็นการศึกษา “การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491 – 2500” ซึ่งในเนื้อหานั้นอัดแน่นไปด้วยการวิเคราะห์การเมืองไทยภายในประเทศ โดยฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของกลุ่มกษัตริย์นิยมหรือที่ถูกเรียกว่า “รอยัลลิสต์” กับกลุ่มการเมืองอื่นๆ ในขณะนั้น

หนึ่งในประเด็นที่ถูกใช้ให้เห็นว่ากลุ่มรอยัลลิสต์และสถาบันพระมหากษัตริย์พยายามเกี่ยวข้องทางการเมืองอย่างมากและมีบทบาทในการเตะตัดขาระบอบประชาธิปไตยนั้นคือการกล่าวถึงการใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ที่ถูกระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับรอยัลลิสต์หรือเป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อการใช้อำนาจทางการเมืองของกลุ่มกษัตริย์นิยม

ก่อนหน้าที่จะมีรัฐรรมนูญญ 2492 นั้น รัฐธรรมนูญ 2489 ได้รับการกล่าวว่ามีความเป็นประชาธิปไตยเนื่องจากห้ามข้าราชการประจำมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำให้มีการแยกข้าราชการกับการเมืองออกจากกัน และยังกล่าวอีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะต่อต้านอำนาจระบบข้าราชการและระบอบอำนาจนิยมอีกด้วยดังนั้นแล้วเมื่อเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ขึ้น รัฐธรรมนูฉบับต่างๆ ที่ตามมาหลังจากนั้นก็ดูเหมือนจะเสียสถานะความเป็นประชาธิปไตยเหล่านี้ไปเพราะถูกวิเคราะห์กันว่า มีแต่กลุ่มอำนาจนิยมและกลุ่มรอยัลลิสต์ที่ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญหลังจากนั้นทำให้เกิดการตีความไปว่า ดังนั้นแล้วประชาธิปไตยหลังจาก พ.ศ. 2489 ได้สิ้นสุดตัวลงไป หรือเป็นภารกิจอันล้มเหลวของคณะราษฎร หรือ “การล่มสลายของลัทธิรัฐธรรมนูญ” ก็ว่าได้

รัฐธรรมนูญ 2492 เป็นฉบับรอยัลลิสต์จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการตีความอย่างเกินจริง ติดตามได้ใน Podcast ของ Lue History

TOP