Lue Podcast EP 69 – การหมกเม็ดและพูดไม่หมดของนักวิชาการบางคน เพื่อกล่าวหาในหลวงว่าแทรกแซงรัฐธรรมนูญ

หลังวิกฤตการเมืองของการปะทะกันระหว่าง กปปส. และ มวลชนเสื้อแดง ทำให้สังคมการเมืองไทยได้แตกฉานร้าวหนักลงไปมากกว่าเดิม ในที่สุดเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงและยุติเหตุการณ์ทั้งหมด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ทำการยึดอำนาจหลังความพยายามในการโน้มน้าวให้ฝ่ายต่างๆ เจรจาร่วมกัน

การยึดอำนาจในครั้งนั้นมีโจทย์สำคัญอยู่ที่การพยายามสร้างให้การเมืองไทยมีเสถียรภาพให้ได้ โดยเครื่องมือที่ถูกใช้และเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การสร้างเสถียรภาพได้นั่นก็คือกลไกทางการอย่าง “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังจากสังคมมากขึ้นในการประสานไทยไว้ด้วยกัน

และเมื่อมีการลงประชามติ ผลปรากฏว่าประชาชนส่วนมากราวร้อยละ 60 เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว หลังจากนั้นจึงได้ถวายให้รัชกาลที่ 10 ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อเสร็จแล้วจึงประกาศใช้อีกครั้ง

ในการแก้ไขจากพระราชกระแสของพระองค์ทำให้หลายฝ่ายได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่ารัชกาลที่ 10 ทรงแทรกแซงการเมืองด้วยการแก้รัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวผ่านการทำประชามติมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำวิจารณ์ของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ซึ่งระบุไว้อย่างดุเดือดว่า

“กษัตริย์อาจมีอำนาจมากกว่ายุคสมัยใดหลังสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจนี้จะไม่ได้อยู่ที่กลไกปกติของฝ่ายเจ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการที่สถาบันกษัตริย์เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมืองอีกด้วย ซึ่งมีตัวอย่างแล้วจากการที่รัชกาลที่ 10 ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งรัฐบาลก็ทำตามพระประสงค์ ดูเหมือนว่าประชาธิปไตยแบบกษัตริย์นิยมภายใต้รัฐธรรมนูญนี้จะสลดเสื้อคลุมประชาธิปไตยออกและเผยโฉมราชอาณาจักรกึ่งราชาธิปไตยให้เห็นจะๆ แจ้งๆ”

การมีพระราชกระแสรับสั่งนี้จะเป็น “ราชอาณาจักรกึ่งราชาธิปไตย” จริงหรือไม่ และแท้จริงแล้วการแก้ไขนี้ส่งผลใดต่อผลประชามติรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ พบคำตอบได้ใน Podcast ของ Lue History

TOP