‘พิธีเปิดประชุมรัฐสภา’ ธรรมเนียมการให้เกียรติของไทย ที่นักมั่วประวัติศาสตร์ไม่เคยเข้าใจ

คุณเพนกวิ้นครับ 

ที่คุณเพนกวิ้นได้เขียนมาในโพสต์นี้เป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด และอาจสร้างความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้
 
1. ในประเด็นของการบุกเข้าสภาของพระเจ้าชาร์ลสที่ 1 นั้นไม่ได้เป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง แต่ยังมีเหตุผลอื่นๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น การเก็บภาษี การลุกฮือของคนสก๊อต ความพยายามในการจับกุมสมาชิกสภาที่ไม่เห็นด้วยกับพระองค์ทำให้เกิดความตึงเครียด[1] และอาจมองได้ว่าละเมิดอำนาจสภา แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าการพยายามบุกเข้าสภาของพระองค์ หรือการถือ “เคล็ด” นี้ ที่ไม้ให้พระมหากษัตริย์เข้าสภาสามัญเกิดจากเหตุการณ์นี้
 
2. ธรรมเนียมการไม่ให้พระมหากษัตริย์เข้าสภาเกิดขึ้นหลังปฏิวัติรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) เมื่อปี 1688 ซึ่งชัดเจนมากกว่าที่มีการออกบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Declaration of Rights) ซึ่งมีกฎอยู่ 13 ข้อ อันเป็นจุดจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติโดยที่พระมหากษัตริย์ไม่อาจเข้ามายุ่งเกี่ยว และในที่สุดนำไปสู่ธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์ไม่อาจแทรกแซงสภาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป[2] หรือก็คือเกิดการแบ่งแยกอำนาจซึ่งต่อมามงเตสกิเออร์จะเป็นผู้เขียนข้อสังเกตเรื่องการแบ่งแยกอำนาจของอังกฤษนี้ไว้นั่นเอง ดังนั้นพระมหากษัตริย์จะค่อยๆ กลายเป็นประมุขในเชิงสัญลักษณ์ต่อมา
 
3. ประเด็นที่สมาชิกสภาพยายามปิดประตูไม่ให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เข้าสภาหรือ “พร้อมใจกันพยายามดันประตูปิดไม่ให้กษัตริย์เข้ามา ธรรมเนียมปิดประตูนี้เป็นเคล็ดว่าผู้แทนประชาชนสามารถ “ดื้อ” กับพระราชอำนาจของกษัตริย์ได้” ตามที่คุณเพนกวิ้นกล่าวนั้น เราไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ยืนยันว่ามีความพยายามดังกล่าว และไม่พบว่ามีเหตุการณ์ใดๆ ที่ใกล้เคียงเกิดขึ้น แต่หากคุณเพนกวิ้นมีหลักฐานมายืนยัน พวกเราก็ยินดีรับฟังและแบ่งปันกับทุกคน เพราะนี่คือสังคมที่ต้องเดินด้วยความรู้
 
4. สุดท้ายนี้ “ธรรมเนียม” นั้นแปลว่า เป็นสิ่งทีมีพัฒนาการมาจนกระทั่งเกิดแบบแผนในการปฏิบัติ นั่นหมายความว่ารูปแบบของประเทศไทยและอังกฤษย่อมแตกต่างกัน การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก็คือธรรมเนียมของไทยเพราะเรามีพระมหากษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยความสามารถอย่างประจักษ์ ไทยก็คือไทย อังกฤษก็คืออังกฤษ การร้องเพลงดังกล่าวจึงมิใช่การ “ประจบเจ้า” แต่เป็นการแสดงออกถึงความเคารพเท่าที่จะทำได้ เรามีรูปแบบของเราเองเพราะเรามิใช่อาณานิคมของใคร
 
และ “ประเทศประชาธิปไตย” นั้นล้วนแล้วแต่มีความเคารพในวัฒนธรรมประเพณีทั้งสิ้น จะมีประเทศใดที่เป็นประชาธิปไตยดูถูกดูแคลนวัฒนธรรมหรือ?

อ้างอิง :

[1] รายละเอียดหาเพิ่มเติมได้ใน Lawrence Stone, The Causes of the English Revolution 1529-1642 (Oxon: Routledge, 2017).
[2] Kara Dimitruk, ““I Intend Therefore to Prorogue”: the effects of political conflict and the Glorious Revolution in parliament, 1660-1702,” European Review of Economic History 22, 3 (2018): 261-297.

TOP
y

Emet nisl suscipit adipiscing bibendum. Amet cursus sit amet dictum. Vel risus commodo viverra maecenas.

r

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า