Lue Podcast EP74 – ทำไมมาตราที่ 3 ของรัฐธรรมนูญ จึงระบุให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน

ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เราจะพบกับข้อความในหมวดที่ 1 ในมาตราใดมาตราหนึ่งว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” (ข้อความนี้จากมาตรา 3 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) ซึ่งมาตราที่ระบุข้อความดังกล่าวนั้นเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ประกอบให้สถาบันการเมืองต่างๆ สามารถใช้อำนาจได้โดยมีกลไกที่ชัดเจน และทำให้รัฐสามารถทำงานได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

อย่างไรก็ดี การระบุข้อความว่า “ทรงใช้อำนาจนั้น” เอาไว้ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือตีความจนเกินเลยไปได้ ดังนั้น ฤา จึงเห็นสมควรในการนำเสนอถึงประเด็นนี้โดยคำอธิบายของอาจารย์ผู้สอนกฎหมายมหาชน เพื่อให้น่ารับฟังมากที่สุดเป็นเบื้องต้น

อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในทางกฎหมายมหาชนหมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ เนื่องจากเมื่อมีรัฐเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ดังนั้น เมื่อนำอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นแนวความคิดนามธรรมมาระบุไว้ในรัฐธรรมนูญก็ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดไปด้วย โดยในรัฐธรรมนูญได้มีการระบุไว้ด้วยว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของใคร และใครจะเป็นผู้ใช้ เพื่อให้การบริหารประเทศเดินหน้าต่อไปได้ และต้องมีองค์กรที่ขึ้นมาใช้อำนาจอย่างเป็นรูปธรรมในนามของรัฐ ซึ่งหากเป็นในอดีตก็คือพระมหากษัตริย์ หากเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วนั่นก็ต้องเป็นผู้มีอำนาจในรัฐบาล

แล้วประเด็นอำนาจอธิปไตยจะต้องวางที่ทางอย่างไรในระบอบการเมืองใหม่อย่างระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ประชาชน รัฐสภา และพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ร่วมกัน ติดตามฟังได้ใน Podcast Lue History

TOP